- Details
- Category: บทความทั่วไป
- Published: Monday, 01 September 2014 19:58
- Hits: 4078
ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้ม...ให้มากกว่าความสะดวกเดินทาง
บ้านเมือง : ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) นาเสนอรายงานผลการวิเคราะห์ ของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต นอกจากจะอานวยความสะดวกในการเดินทางต่อผู้อยู่อาศัยในย่านที่รถไฟฟ้าพาดผ่านแล้ว ยังเพิ่มโอกาสให้ 2 ธุรกิจที่สาคัญ ได้แก่ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย ทั้งนี้ อีไอซีประเมินว่าธุรกิจทั้งสองยังไม่อยู่ในภาวะ oversupply และยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีรถไฟฟ้าให้บริการจำนวน 4 สาย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 สายในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่บริการมากขึ้นประมาณ 2 เท่าตัว ทั้งนี้ รถไฟฟ้าที่ดำเนินการให้บริการในปัจจุบันทั้ง 4 สาย ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มเส้นทางหมอชิต-แบริ่ง 2.สายสีเขียวอ่อน เส้นทางสนามกีฬา-บางหว้า 3.โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เส้นทางหัวลำโพง-พระราม 4-บางซื่อ และ 4.รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) เส้นทางพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ
โดยในปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้ง 4 สายนี้ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้เพียง 537 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในอนาคตหากรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายแล้วเสร็จ ทางอีไอซีประเมินว่าระบบรถไฟฟ้าจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 1,640 ตารางกิโลเมตร
สำหรับเส้นทางที่กำลังจะก่อสร้างในระยะต่อไปคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายจากหมอชิตไปยังสะพานใหม่และคูคต จะสร้างความเจริญให้กับย่านพหลโยธินตอนบนซึ่งมีแหล่งชุมชนและส่วนราชการหลายแห่ง โดยขณะนี้โครงการได้รับอนุมัติการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระหว่างรอการประมูลงานก่อสร้าง โดยเส้นทางนี้เป็นส่วนต่อจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มในปัจจุบันที่สิ้นสุดที่สถานีหมอชิต ซึ่งจะต่อขยายเส้นทางเพิ่มเติมจากสถานีหมอชิตไปทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ ตามแนวถนนพหลโยธิน (เขตบางเขน-เขตสายไหม) ไปสิ้นสุดที่ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ผ่านสถานที่สำคัญต่างๆ มากมาย อาทิ ห้างสรรพสินค้า, ที่อยู่อาศัย, มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และส่วนราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมทหารบกและทหารอากาศ รวมระยะทางทั้งสิ้นราว 18 กิโลเมตร
แน่นอนว่า เมื่อรถไฟฟ้าเส้นทางนี้แล้วเสร็จจะเพิ่มความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ของผู้อยู่อาศัยย่านสะพานใหม่-คูคต อ.ลำลูกกา และบริเวณใกล้เคียง โดยปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยบริเวณย่านดังกล่าวประมาณ 12 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นนักเรียนถึงราว 2.5 ล้านคน ซึ่งอีไอซีคาดว่าหากผู้อยู่อาศัยย่านดังกล่าวมีความต้องการเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในโดยรถยนต์ส่วนบุคคลจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าหากเปลี่ยนมาใช้ระบบรถไฟฟ้าเดินทางจากสถานีคูคตถึงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจะใช้เวลาเพียง 35 นาที และเสียค่าเดินทางราว 50 บาทเท่านั้นเสียค่าเดินทางราว 50 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ แล้วรถไฟฟ้าเส้นนี้ยังสามารถพัฒนาให้เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารในการเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ อีกด้วย จำนวนผู้โดยสารที่ใช้สนามบินดอนเมืองมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 16 ล้านคน หรือประมาณ 4.5 เท่าตัวในปี 2013 จากเดิมที่มีจำนวนผู้โดยสารโดยเฉลี่ยระหว่างปี 2007 ถึง 2012 (รูปที่ 3) เนื่องจากท่าอากาศยานดอนเมืองถือว่าเป็น hub ของสายการ2012 (รูปที่ 3) เนื่องจากท่าอากาศยานดอนเมืองถือว่าเป็น hub ของสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงหากมีการย้ายฐานปฏิบัติการสายการบินไทยสไมล์ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือนสิงหาคม 2014 ก็ยิ่งทำให้การจราจรในการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออกสนามบินดอนเมืองมีความคับคั่งมากยิ่งขึ้น
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) เห็นว่าหากการท่าอากาศยานมีการจัดสรรรถบัสเพื่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองมายังสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่หรือสถานีสะพานใหม่ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้า จะช่วยย่นระยะเวลาเดินทางเข้าและออกจากสนามบินดอนเมืองสู่กรุงเทพฯ ชั้นในได้ และยังลดการจราจรที่ติดขัดบริเวณย่านสนามบินดอนเมืองอีกด้วย โดยประเมินว่ารถไฟฟ้าเส้นนี้จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 60,000-80,000 คนต่อวัน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของทั้งผู้อยู่อาศัยในย่านดังกล่าวและผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง ทั้งนี้ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้มจะสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนที่ส่วนต่อขยาย Airport Rail Link (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) แล้วเสร็จถึง 4 ปี
นอกจากความสะดวกในการเดินทางแล้ว ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับปัจจัยบวกจากรถไฟฟ้าเส้นทางนี้โดยตรง ทั้งนี้ ยังมีความต้องการทั้งโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียมที่แตกต่างกันในย่านต่างๆ เช่น ในย่านลำลูกกาและสายไหมจะเน้นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีครอบครัวและต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก โดยระหว่างปี 2011-2013 มีการเปิดตัวบ้านเดียวในช่วงราคา 3-5 ล้านบาทประมาณ 1,200 ยูนิต ขณะที่การเปิดตัวบ้านโครงการที่อยู่อาศัยในย่านสะพานใหม่และรัชโยธิน เน้นคอนโดมิเนียมเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มนักศึกษาและวัยเริ่มทำงาน เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึง 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และมหาวิทยาลัยเกริก รวมถึงสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย
โดยระหว่างปี 2011-2013 ย่านสะพานใหม่มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมในช่วงราคา 0.5-2 ล้านบาท ถึงราว 800 ยูนิต ทั้งนี้ อีไอซีประเมินว่าการเติบโตด้านอสังหาริมทรัพย์ยังคงไม่เข้าสู่ภาวะ oversupply ซึ่งเห็นได้จากคอนโดมิเนียมช่วงรัชโยธิน ซอยเสนา 2 ถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว มีคนเข้าพักถึง 78% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่ยังมีอยู่และไม่มีปัญหาการซื้อ-ขายและการโอน
แต่คาดว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้แล้วเสร็จ อีไอซี ประเมินว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมที่ขึ้นใหม่จะมีราคาสูงขึ้นประมาณ 25-45% นับจากเมื่อโครงการรถไฟฟ้าเริ่มประมูลจนก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยช่วงการประมูลโครงการรถไฟฟ้า คอนโดมิเนียมที่ขึ้นใหม่คาดว่าจะมีราคา 55,000 บาทต่อตารางเมตร จากนั้นจะปรับขึ้นเป็น 60,000-65,000 บาทต่อตารางเมตร ในช่วงก่อสร้างรถไฟฟ้าและ 70,000-80,000 บาทต่อตารางเมตร เมื่อโครงการโครงการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับราคาที่ปรับขึ้นของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีเขียวช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ ทั้งนี้ รวมถึงที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าหลังจากที่รถไฟฟ้าก่อสร่างแล้วเสร็จราคาจะปรับตัวสูงขึ้นราว 10-15%
อีไอซี มองว่าธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ grocery store ขนาดเล็กจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ตามมาจากการที่มีรถไฟฟ้า เนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าก่อให้เกิดความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคตามมา รวมถึงโครงสร้างแนวรถไฟฟ้าก่อให้เกิดความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคตามมา รวมถึงโครงสร้างประชากรและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรในกรุงเทพฯ ซึ่งมีการเพิ่มจำนวนของครอบครัวขนาดเล็กและส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการจับจ่ายสินค้า โดยจะซื้อสินค้าจำนวนไม่มากนักในแต่ละครั้ง แต่จะซื้อสินค้าถี่ขึ้นและนิยมซื้อสินค้าใกล้บ้าน ทำให้ธุรกิจ grocery store ขนาดเล็กสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคย่านที่รถไฟฟ้าพาดผ่านได้อย่างลงตัว
ถึงแม้ว่า grocery store ขนาดเล็กจะมีการเปิดสาขาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนสาขาในย่านบางเขน-สายไหมก็ยังอยู่ในระดับต่ำ และยังสามารถเพิ่มจำนวนได้อีก ทั้งนี้ จำนวนร้านค้าปลีกขนาดเล็กในย่านดังกล่าวยังอยู่ที่ 11 สาขาต่อประชากร 1 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ที่ 20 สาขาต่อประชากร 1 ล้านคน ประกอบกับความหนาแน่นของผู้อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจากคอนโดมิเนียม ซึ่งส่วนใหญ่มีสมาชิกครอบครัวประมาณ 1-3 คน ทำให้ธุรกิจค้าปลีกถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ ความคืบหน้าทั้งหมดของโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายนั้น ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ได้เชิญการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย มาติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีแผนจะขยายจากสถานีรังสิตไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งขณะนี้ผ่านการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว คาดว่าปลายปี 2557 จะสามารถประมูลโครงการได้ ทั้งนี้ ในวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้เปิดซองสัญญา 3 งานระบบไฟฟ้า และเครื่องกลรวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้งานโยธามีความคืบหน้าร้อยละ 94 คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2559 และประมาณต้นปี 2560 จะสามารถเปิดทดสอบระบบรถได้ โดยจะใช้ระยะเวลาทดสอบระบบประมาณ 6 เดือน จึงจะสามารถเปิดเชิงพาณิชย์ได้
ด้านความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพ-บางแค ขณะนี้ประสบปัญหาการล่าช้างานโยธากว่า 2 ปี เนื่องจากจะต้องสร้างควบคู่กับโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแผนเดิมตั้งเป้าจะแล้วเสร็จปี 2560 แต่ขณะนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2562 นอกจากนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประกวดราคา ซึ่งล่าช้าประมาณ 2 เดือน จากเดิมที่กำหนดในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงนั้น ขณะนี้แผนรายละเอียดดังกล่าวเตรียมพร้อมที่จะนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป
"โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ว่า กระทรวงคมนาคม ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีแผนจะขยายจากสถานีรังสิตไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งขณะนี้ผ่านการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เรียบร้อยแล้ว คาดว่าปลายปี 2557 ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้งานโยธามีความคืบหน้า 94% คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2559 และประมาณต้นปี 2560 จะสามารถเปิดทดสอบระบบรถได้ โดยจะใช้ระยะเวลาทดสอบระบบประมาณ 6 เดือน จึงจะสามารถเปิดเชิงพาณิชย์ได้ ส่วนของความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพ-บางแค หน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพ-บางแค ขณะนี้ประสบปัญหาการล่าช้างานโยธากว่า 2 ปี เนื่องจากจะต้องสร้างควบคู่กับโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแผนเดิมตั้งเป้าจะแล้วเสร็จปี 2560 แต่ขณะนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2562"
ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ระบุว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.เดินหน้าการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่คูคต วงเงิน 25,856 ล้านบาท ตามร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) เดิม โดยไม่ต้องมีการปรับเงื่อนไขการกำหนดรายได้เฉลี่ยจากงานก่อสร้างของผู้เสนอราคาย้อนหลัง 3 ปี (เทิร์นโอเว่อร์) ตามมติบอร์ดชุดเก่า เนื่องจากเห็นว่า ทีโออาร์ เดิมที่ รฟม.จัดทำไว้มีความรอบคอบ รัดกุม อีกทั้งตั้งเกณฑ์คุณสมบัติผู้เข้าประกวดราคาไว้เหมาะสม เพราะโครงการมีมูลค่านับหมื่นล้านบาท หากกำหนดเทิร์นโอเว่อร์ต่ำเกินไป ก็อาจได้ผู้รับงานที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ และจะส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างได้
"บอร์ดมีมติให้เดินหน้าการประมูลสีเขียวเหนือต่อเลย โดยไม่ต้องแก้ ทีโออาร์ ซึ่ง รฟม.กำหนดให้ผู้ที่ซื้อเอกสารไปทั้ง 31 รายมายื่นเอกสารประมาณวันที่ 19 ก.ย.นี้ เพราะบอร์ดเห็นว่าเกณฑ์ที่ รฟม.กำหนดไว้มีความเหมาะสมแล้ว คือถ้าโครงการมีมูลค่าสูงเป็นหมื่นล้าน แต่เราให้ผู้ที่เคยผ่านงานแค่ 500 หรือ 1,000 ล้านบาทมารับงาน ก็อาจกลายเป็นความเสี่ยงว่าเขาจะทำงานไม่ได้ หรือ 1,000 ล้านบาทมารับงาน ก็อาจกลายเป็นความเสี่ยงว่าเขาจะทำงานไม่ได้ เราต้องตั้งเกณฑ์ให้สูงไว้ก่อน เพื่อให้ได้บริษัทที่มีมาตรฐาน และยืนยันว่าเราไม่ได้ล็อกสเปกให้รายใหญ่ เพราะรายเล็กกว่าจะมาก็ได้ โดยรวมตัวกันเป็นจอยท์เวนเจอร์ เพื่อให้มีเงินทุนมั่นคงขึ้น เราไม่ได้ตัดโอกาสอะไรและบอร์ดยังมีมติให้ รฟม.รับผิดชอบงานวางระบบ จัดหาขบวนรถและเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงินประมาณ 9,000 ล้านบาท เพราะเห็นว่า รฟม.ควรเตรียมพร้อมทำงานด้วยตัวเอง จากเดิมที่ใช้วิธีร่วมทุนกับเอกชนตามพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) มาตลอด เนื่องจากในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าอีกหลายสายทางเกิดขึ้น ขณะสายทางเก่าเมื่อครบอายุสัมปทาน เอกชนก็ต้องมอบคืนให้ รฟม.เดินรถเองด้วย"
สำหรับ ขั้นตอนจากนี้ รฟม.ต้องเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเห็นชอบจากนั้นจึงเริ่มดำเนินการจัดหารถ โดยสายสีเขียวใต้จะใช้รถจำนวน 39 ตู้ ส่วนการเดินรถนั้นอาจใช้วิธีจ้างเอกชนก็ได้ แต่เบื้องต้นต้องตั้งเป้าไว้ก่อนว่า รฟม.จะเดินรถเอง ขณะสายสีเขียวเหนือนั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะใช้รูปแบบเดียวกับสายสีเขียวใต้เช่นกัน โดยมีมูลค่าการจัดหารถ วางระบบ และเดินรถที่ 20,000 ล้านบาท