- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Tuesday, 19 September 2017 22:29
- Hits: 4170
ทีซีซีเทค ผนึกกำลังสมาคมฟินเทคฯ และไอดีซี ติดปีกฟินเทคไทยให้แข่งขันได้ในระดับภูมิภาคเอเชีย
จากแผน Digital Thailand ของภาครัฐที่มุ่งเน้นการวางรากฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรของประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ สู่โอกาสทองของสตาร์ทอัพไทย โดยเฉพาะ ‘ฟินเทค สตาร์ทอัพ’ ซึ่งใครหลายๆ คน ต่างยกให้เป็นธุรกิจที่จะเข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา
มีหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพของฟินเทคไทย อาทิ Fintech Dynamics in Asia งานใหญ่ที่รวมความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ นำโดยบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด หรือ ทีซีซีเทค (TCCtech) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานสัญชาติไทย ภายใต้อาณาจักรเครือของทีซีซี หนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผนึกกำลังกับสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย (TFTA) และบริษัทวิจัยระดับโลก International Data Corporation (IDC)
โดยนางวลีพร สายะสิต ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารองค์กร บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด ได้เผยถึงเป้าหมายหลักในการเปิดเวทีสัมมนาครั้งนี้ เพื่อต้องการเปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งจากนักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมฟินเทค สถาบันการเงินต่างๆ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจฟินเทค พร้อมอัพเดทความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีฟินเทคในแถบภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนวางแผนที่จะนำเสนอ Cloud Platform เพื่อให้เกิดการทดสอบเทคโนโลยีด้านการเงิน และร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) โซลูชันที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประกอบการฟินเทคอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ นายอัครเดช ดิษยเดช กรรมการผู้จัดการสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกำลังหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดเวที Fintech Dynamics in Asia เสริมว่า 'เวทีนี้จัดขึ้นให้กับสมาชิกของสมาคมฟินเทคฯ และผมหวังว่ามันจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีฟินเทคแก่ทุกท่าน'ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ เปิดกว้างสำหรับประชาชนหรือผู้ที่สนใจเทคโนโลยีด้านฟินเทคสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ ThaiFintech.org
การเติบโตของฟินเทคเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร
จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีฟินเทค เป็นกระแสที่มาแรงและมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก นายไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ (IDC Financial Insights) ได้อธิบายให้เห็นภาพว่า แม้แต่ผู้คุมกฎระเบียบ (Regulator) ยังมีแนวโน้มในการกำหนดเป้าหมายให้ตนเองเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology) มีการลงทุนในโครงการที่ให้ความรู้ บ่มเพาะ ฟินเทค สตาร์ทอัพในรูปแบบของ Accelerators และ Incubators รวมถึงการลงทุนในซอฟต์แวร์ที่มีการปฎิสัมพันธ์กับผู้บริโภคในฐานะผู้ร่วมผลิต (Co-creator) พร้อมกันนี้ได้ระบุว่าปัจจุบันมีนวัตกรรมด้านการเงินการธนาคาร รวมกว่า 20 ประเภท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปี 2561
ท่ามกลางโอกาสยังมีแรงกดดันเกิดขึ้นในฝั่งของธนาคารซึ่งถือเป็นผู้เล่นหลักของอุตสาหกรรม ที่ไม่เพียงจะต้องทำงานกับเหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพ ฟินเทคเท่านั้น แต่จะต้องทำงานกับผู้อื่นที่อยู่นอกกลุ่มบริการทางการเงินด้วย (Cross Industry Collaboration) โดยรองประธานบริหาร ไอดีซี ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจสตาร์ทอัพฟินเทคเพิ่มว่า “นี่เป็นยุคที่เราต้องร่วมมือกัน ดังนั้น จงอย่ากลัวธนาคารใหญ่ๆ ที่แม้ว่าพวกเขาจะเคยมองบริษัทฟินเทค เป็นศัตรู แต่ปัจจุบันได้เปิดกว้างสำหรับความร่วมมือที่นำไปสู่ความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมเรา”
ตามสถิติของ IDC Financial Insight จาก 33 ความร่วมมือทางเทคโนโลยีฟินเทคที่ประสบความสำเร็จ นายอะราเน็ตตา กล่าวว่าระยะเวลาเฉลี่ยสำหรับความร่วมมือระหว่างฟินเทคและธนาคาร เริ่มจากเป็นแนวคิดจนออกสู่ตลาดนั้น ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนานสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ อันเป็นผลมาจากกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ “ธุรกิจสตาร์ทอัพ ฟินเทค ส่วนใหญ่ ซึ่งคิดเป็น 61% จาก 33 ความร่วมมือทางเทคโนโลยีฟินเทคใช้เวลาดำเนินการจากแนวคิดไปสู่การทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of Concept: POC) ภายใน 6 เดือน และ 75% ใช้เวลาจาก POC ไปสู่การจ้างงานอีกประมาณ 6 เดือน” ดังนั้นจะเห็นแนวโน้มที่ผู้คุมกฎแข่งขันกันเอง เพื่อเปิดกว้างและสร้างสรรค์ขึ้น โดยคาดว่าปี 2560 จะเป็นปีที่ผู้คุมกฎหลายๆ แห่ง ผ่อนปรนแนวปฏิบัติลง
เทคโนโลยี Cloud ตัวแปรสำคัญดันฟินเทคโต
นอกจากความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกับผู้คุมกฎระเบียบ (Requlator) และจ้างผู้ที่มีความสามารถที่จำเป็นต่อองค์กร อีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งนายอะราเน็ตตาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจฟินเทคให้ประสบความสำเร็จ นั้นคือ 'เทคโนโลยี' เขาได้ย้ำเมื่อกล่าวถึงผลกระทบจาก Disruptive technologies ว่า “เพื่อที่จะประสบความสำเร็จ คุณควรเลือกทำงานกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมืออาชีพ ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลอย่างแท้จริง อย่างเช่น ที.ซี.ซี. เทคโนโลยีและต้องมองหาแพลตฟอร์ม สำหรับ data acquisition, transportation, transformation และ storage รวมถึงศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล การแสดงผลอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการตีความหรือนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ตลอดจนการควบคุมความปลอดภัยและการเข้าถึง”
รวมเสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานตัวจริง
(ซ้ายไปขวา: นายนเรศ เหล่าพรรณราย COO Stockquadrant และ นายวรพล พรวาณิชย์ CEO และผู้ก่อตั้ง Peerpower)
นายนเรศ เหล่าพรรณราย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการจาก StockQuadrant ซึ่งเป็นฟินเทค สายวิเคราะห์การลงทุน เป็นอีกหนึ่งผู้บริหารที่เห็นด้วยกับความสำคัญของเทคโนโลยี โดยเผยว่า “สิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการลดต้นทุนด้านการจัดการเงินทุน ต้องยกให้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เทคโนโลยีที่นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์กลยุทธ์การขายได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคล” ในทางกลับกัน นายวรพล พรวาณิชย์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารเพียร์พาวเวอร์ (www.peerpower.co.th) ได้เสริมในความสำคัญเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบ Cloud ตั้งแต่ช่วงแรกของการพัฒนาบริษัทว่า “ตอนนั้นเราเป็นบริษัทใหม่ การสร้างบริษัทโดยใช้ Cloud มันง่ายกว่ามาก ด้วยรูปแบบ 'Pay As You Go' เมื่อคุณรู้ขอบเขตและเข้าใจความต้องการของตนเอง คุณจะกำหนดวงเงินสำหรับมันได้”
อีกหนึ่ง เสียงสะท้อนที่สำคัญ ดร. ต่อตระกูล คงทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ ลอจิสติกส์ จำกัด ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ Cloud ในมุมที่สอดรับกับงานที่ต้องการการคำนวณมากๆ (compute-intensive) งานที่มีหน่วยประมวลผลแสดงภาพทางกราฟฟิค (Graphics Processing unit : GPU) ซึ่งสามารถช่วยในการคำนวณข้อมูลขนาดใหญ่ (number crunching) การแชร์ข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์หนึ่งแบบ 200 หน่วยประมวลผล จะใช้เวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่ GPU สามารถทำเสร็จเพียงใน 1 วัน โดยคุณวรพล ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกับทางเพียร์พาวเวอร์ ว่า “ตอนที่เครื่องมือจัดการเครดิตของผมทำการจำลองและทดสอบระบบ ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 5 ชั่วโมงสำหรับ CPU แบบดั้งเดิม แต่มันใช้เวลาน้อยกว่าครึ่งชั่วโมงด้วย GPU”
ท้ายที่สุด ความถี่ของงานนั้นๆ น่าจะเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ GPU แทนที่ CPU เนื่องด้วยการคำนวณส่วนใหญ่ต้องทำมากกว่าหนึ่งครั้ง ดร.ต่อตระกูลเสริมว่า “ถ้าคุณกำลังวิเคราะห์พฤติกรรมหรือกำลังเรียนรู้เครื่องจักร คุณจะสามารถรอสักสองสัปดาห์ได้หรือไม่ และถ้ามันไม่เวิร์ค คุณสามารถรออีกสองสัปดาห์ได้ไหม? ผมคิดว่าทีซีซีเทคเข้าใจในข้อจำกัดดังกล่าวและพวกเขากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเสนอ GPU as a service เพื่อลดงานด้านการแสดงผลของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ต่อไปในอนาคต ”
ปัจจุบันบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ผสานบริการคลาวด์ Cloud-Enabled Data Center ซึ่งเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความปลอดภัย ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมือง กรุงเทพฯ ดาต้าเซ็นเตอร์ย่าน ตะวันออกของกรุงเทพฯ ดาต้าเซ็นเตอร์ในย่าน นิคมอุตสาหกรรม และดาต้าเซ็นเตอร์ระหว่างประเทศ ผ่านทางพันธมิตรกลุ่ม Asia Data Center Alliance (ADCA) ทั้ง 5 ประเทศ ที่สำคัญ ทีซีซีเทค ยังเป็นผู้ให้บริการ Data Center ระดับพรีเมี่ยม ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายแบบครบวงจร
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าแพลตฟอร์มของ ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี สามารถช่วยสนันสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในการเริ่มต้นด้วย Cloud และช่วยธุรกิจต่างๆ ไปสู่การปฏิวัติดิจิตอลได้อย่างไร ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ www.tcc-technology.com
ในส่วนข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ อาทิ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จสู่อุตสาหกรรมฟินเทค ข้อจำกัดและความท้าทายต่างๆ รวมถึง Top technology predictions ฯลฯ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/Aewmn1