WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PwCศระPwC ชี้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์-ความมั่งคั่งเชื่อมั่นรายได้เพิ่มขึ้น แต่เทคโนโลยีล้าหลังเป็นภัยคุกคามการเติบโต

•              65%  ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในอีก 5 ปีข้างหน้า

•              แต่มีเพียง 10% เท่านั้นที่จัดให้เรื่องของการปรับปรุงทักษะและความสามารถทางดิจิทัลเป็นภารกิจหลัก

      PwC เผยความเชื่อมั่นต่อการเติบโตรายได้ของธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งทั่วโลกทั้งในช่วง 12 เดือนข้างหน้าและ 3 ปีขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมชี้เกือบ 2 ใน 3 หรือ 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามเล็งจ้างงานเพิ่ม แต่การปรับตัวต่อการใช้เทคโนโลยีที่ยังล่าช้าจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมทั้งระบบ

      ผลสำรวจมุมมองผู้บริหารต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมของ PwC ที่ผ่านมา พบว่า 92% ของผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่ง (Asset & Wealth Management: AWM) มีความเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมากต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะ 12 เดือนข้างหน้า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial Services) ทั้งหมดที่ 86%

      PwC ชี้ว่า จากการสำรวจความคิดเห็นจากซีอีโอทั่วโลกในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งจำนวน 185 รายใน 45 ประเทศพบว่า เห็นสัญญาณที่ล่าช้าของการพัฒนานวัตกรรมและสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยมีซีอีโอในกลุ่มเพียง 10% เท่านั้น ที่มีแผนจะพัฒนาขีดความสามารถทางด้านดิจิทัลภายในองค์กรของตน เปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมผู้ให้บริการทางการเงินที่ 23% และแม้ว่าจะมีซีอีโอถึง 2 ใน 3 แสดงความกังวลต่อผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

      PwC ระบุว่า ผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งถึง 64% มีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มในปีหน้า ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงกว่ากลุ่มอื่นในอุตสาหกรรมผู้ให้บริการทางการเงินโดยรวม นอกจากนี้ ยังมีซีอีโอถึง 68% ที่ได้เริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการจ้างงาน รักษา และพัฒนาทักษะของบุคลากรที่องค์กรต้องการในอนาคต

      ทั้งนี้ กุญแจสำคัญที่ใช้กำหนดกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการเติบโตขององค์กร ได้แก่

•    พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic alliances) กิจการร่วมค้า (Joint ventures) และการควบรวมกิจการ (Mergers and acquisitions) ถือเป็นกลยุทธ์ที่ซีอีโอในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งมีแผนจะใช้เพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กรในระยะข้างหน้า

•    การได้รับความไว้วางใจในการดำเนินธุรกิจ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ โดย 62% ของซีอีโอในธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งบอกว่า กำลังประสบปัญหาความไว้วางใจในการดำเนินธุรกิจที่ถดถอย

•     มีผู้บริหารเพียง 27% เท่านั้น ที่กำลังมองหาความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการรายอื่น หรือบริษัทสตาร์ทอัพ สะท้อนให้เห็นถึงความลังเลต่อการประยุกต์ใช้นวัตกรรมของอุตสาหกรรมนี้ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ 31% ของซีอีโอในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และ 37% ของซีอีโอในธุรกิจประกันภัย ที่มีแผนจะใช้ความร่วมมือดังกล่าว ในการวางแผนกลยุทธ์การทำงานร่วมกับบริษัทผู้ให้บริการฟินเทค (FinTech companies) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยสร้างจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจของพวกเขา

•    ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ถือว่ามีบทบาทสำคัญมากที่สุดต่อการเติบโตของกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งในปี 2560 ซึ่งผลการสำรวจในปีนี้ชี้ว่า สหรัฐอเมริกากลับมาเป็นตลาดหลักของอุตสาหกรรม โดยผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง หรือ 54% มองว่า สหรัฐฯ จะเป็นตลาดที่น่าจับตามากที่สุดนอกเหนือไปจากตลาดในประเทศของตน เปรียบเทียบกับปีที่แล้วที่ 39%

•    เมื่อพูดถึงศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ผู้บริหารยกให้นิวยอร์กเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดต่อการเติบโตของธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่ง ตามด้วย กรุงปักกิ่ง และลอนดอนซึ่งอยู่ในลำดับที่สองเท่ากัน สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนเศรษฐีและผู้มีความมั่งคั่งในจีนที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์

       นาย แบร์รี่ เบนจามิน หัวหน้าสายงานธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่ง PwC โกลบอล กล่าวว่า

       แม้ความเชื่อมั่นของผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งจะมีสูง แต่อุตสาหกรรมทั้งระบบกำลังเผชิญกับความล่าช้าในการพัฒนาและปรับตัวทั้งในเรื่องของนวัตกรรมและบุคลากร แนวโน้มของอุตสาหกรรมในระยะถัดไป จะเห็นสัญญาณของการควบรวมกิจการมากขึ้น โดยไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มขนาดขององค์กรและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่จะยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ ผ่านการซื้อตัวทาเลนต์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

       ซีอีโอมองว่า 5 ปัจจัยที่เป็นความกังวลต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่ง ได้แก่ ความพร้อมของทักษะที่สำคัญ (Availability of key skills) ที่ 71% ตามด้วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี (Speed of technological change) ที่ 66% พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป (Changing customer behaviour) ที่ 64% การขาดความไว้วางใจ(Lack of trust) ในการทำธุรกิจที่ 61% และภัยคุกคามไซเบอร์ (Cyber threats) ที่ 59%

      เป็นที่น่าสนใจว่า แม้ว่าซีอีโอในกลุ่มอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งส่วนใหญ่จะแสดงความกังวลจากการเข้ามาของเทคโนโลยีดังกล่าว พวกเขากลับเชื่อว่า เทคโนโลยีได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขาน้อยกว่ากลุ่มธุรกิจบริการทางการเงินอื่นๆ ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 53% ที่บอกว่า เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจไปโดยสิ้นเชิง หรือส่งผลกระทบต่อการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ เปรียบเทียบกับผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจธนาคารและตลาดทุน (Banking and capital market) ที่ 74% ในทางตรงกันข้าม ผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงินมากถึง 77% มองว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเข้ามาส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า มากกว่าซีอีโอในกลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่เพียง 65%

      เราจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมนี้ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การขยายกิจการทั่วโลก รวมทั้งการจ้างบุคลากรคุณภาพ แต่คำถามก็คือ พวกเขาเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้รวดเร็วเพียงพอแล้วหรือยังนาย เบนจามิน กล่าวเสริม

       ด้าน นาย ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน โดยภาพรวมนั้นต้องยอมรับว่า ธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และ ธุรกิจหลักทรัพย์ จะมีความตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาให้บริการลูกค้ามากกว่าธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกลุ่มลูกค้ากองทุนส่วนใหญ่ยังยึดติดกับบริการในรูปแบบเดิม เช่น การทำธุรกรรมชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ แม้จะมีผู้จัดการกองทุนบางรายที่หันมาให้บริการให้คำแนะนำและช่วยบริหารพอร์ตลงทุนผ่านระบบดิจิทัลแต่ก็ยังถือว่า ระดับของการพัฒนาและการประยุกต์ใช้ (Adoption) ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น

ข้อความถึงบรรณาธิการ

       ทั้งนี้ ผลสำรวจฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม 2559 และเป็นส่วนหนึ่งของผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกของ PwC หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง คลิก www.pwc.com/ceosurvey

เกี่ยวกับ PwC

        PwC (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก มีเครือข่ายไปใน 157 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 223,000 คน สำหรับประเทศไทย บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 58 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีบุคลากรกว่า 1,600 คนในประเทศไทย

©2017 PwC. All rights reserved.

ติดต่อข้อมูลเพิ่ม                    ปฐมาวดี ศรีวงษา

เบอร์โทรศัพท์: +66 (0) 2344 1000 ต่อ 4714

อีเมลล์: [email protected]

วรารัตน์ วีระคงสุวรรณ

เบอร์โทรศัพท์: +66 (0) 2344 1000 ต่อ 4724

อีเมลล์: [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!