- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Thursday, 26 January 2017 14:17
- Hits: 6985
PwC เผยความเชื่อมั่น CEO อาเซียน มองการเติบโตของศก.รายได้ปีนี้ชะลอตัว ตามความไม่แน่นอนของศก.โลก
PwC เผยผลสำรวจ Global CEO Survey พบความเชื่อมั่นซีอีโออาเซียนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน สวนทางมุมมองซีอีโอโลก หลังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ-กระแสลัทธิคุ้มครองทางการค้าที่เพิ่มขึ้น โดยผู้นำอาเซียนส่วนใหญ่เริ่มตื่นตัวในการนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพราะเชื่อว่าจะมีผลกระทบกับองค์กรในอีก 5 ปีข้างหน้า พร้อมมองแนวโน้มการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน แต่ต้องพัฒนาทักษะของบุคลากรหลังหลายอุตสาหกรรมจ่อเข้าสู่ยุคของหุ่นยนต์และระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ใน 10-20 ปีข้างหน้า
นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจ PwC’s 20th Annual Global CEO Survey ครั้งที่ 20 ที่ใช้ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ณ กรุง ดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประจำปี 2560 ซึ่งสำรวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกจำนวน 1,379 คนใน 79 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นซีอีโอจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 7 ประเทศ ว่า ความเชื่อมั่นของซีอีโออาเซียนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของรายได้บริษัทในปีนี้ลดลงจากปีก่อน สวนทางกับซีอีโอโลกที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น โดยพบว่า มีซีอีโออาเซียนเพียง 28% เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจโลก (Global economy) ปีนี้จะดีกว่าปีก่อน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ 39% โดยถือเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 นับจากปี 2557 ขณะที่ซีอีโอโลก 29% เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้จะดีกว่าปีก่อน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 27%
ทั้งนี้ พบว่า 3 ปัจจัยหลักที่ซีอีโออาเซียนมองว่า เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจและนโยบาย (Economic and policy threats) ได้แก่ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ (83%) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (82%) และกฎระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดมากเกินไป (78%)
“ความเชื่อมั่นของซีอีโอในภูมิภาคอาเซียนปีนี้ ถูกกดดันจากปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชะลอตัวและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจีนที่เน้นไปที่การบริโภคและบริการมากขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำทั่วโลก รวมทั้งแนวโน้มการส่งออกและอัตราผลผลิตที่ยังคงชะลอตัว นอกจากนี้ ความกังวลจากกระแสลัทธิคุ้มครองทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลต่อการตัดสินใจทำธุรกิจของผู้บริหารในแถบนี้ด้วยเช่นกัน” นาย ศิระ กล่าว
นอกจากนี้ ผลสำรวจระบุว่า ความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของรายได้ (Revenue growth) ของซีอีโออาเซียนในปีนี้ยังลดลงอีกด้วย โดยมีผู้นำธุรกิจอาเซียน 32% เท่านั้นที่เชื่อว่า รายได้ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า เปรียบเทียบกับปีก่อนที่ 38% โดยมองว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (Availability of skills) นั้นเป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ต่อการเติบโตของธุรกิจ (Business threats) ที่ 88% ตามด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป (82%) และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (80%)
“การเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคเอกชนในจีนและความเสี่ยงจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทในภูมิภาคนี้ในระยะข้างหน้า แต่จากประสบการณ์ของบรรดาธุรกิจอาเซียนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เราเชื่อว่า ภาคธุรกิจจะสามารถบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้ได้” นาย ศิระ กล่าว
อย่างไรก็ดี ผู้นำธุรกิจอาเซียนมองว่า 3 อันดับตลาดน่าลงทุนที่จะช่วยผลักดันให้บริษัทของพวกเขาเติบโตได้ในปีนี้ ได้แก่ จีน (43%) รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (28%) และอันดับที่สาม คือ อินโดนีเซีย (22%) ในขณะที่ 3 กลยุทธ์หลักที่จะช่วยผลักดันให้อัตราการทำกำไรของบริษัทเติบโตนั้น ได้แก่ แผนการเติบโตด้วยทรัพยากรหรือสินทรัพย์ที่มีอยู่ของบริษัท (Organic growth) ที่82% ตามมาด้วย แผนการลดต้นทุน (67%) และแผนการหาพันธมิตรหรือกิจการร่วมค้า (62%)
บริษัท PwC ประเทศไทย หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลกเผยผลสำรวจ 20th CEO Survey: 20 years inside the mind of the CEO... What’s next?
ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ณ กรุง ดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประจำปี 2560 ซึ่งสำรวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกจำนวน 1,379 คนใน 79 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นซีอีโอจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 7 ประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย
เนื้อหาที่น่าสนใจ ได้แก่
ความเชื่อมั่นของซีอีโออาเซียนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของรายได้บริษัทในปีนี้ลดลงจากปีก่อน สวนทางกับซีอีโอโลกที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น โดยพบว่า มีซีอีโออาเซียนเพียง 28% เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจโลก (Global economy) ปีนี้จะดีกว่าปีก่อน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ 39% โดยถือเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 นับจากปี 2557 ขณะที่ซีอีโอโลก 29% เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้จะดีกว่าปีก่อน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 27%
3 ปัจจัยหลักที่ซีอีโออาเซียนมองว่า เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจและนโยบาย (Economic and policy threats) ได้แก่ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ (83%) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (82%) และกฎระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดมากเกินไป (78%)
ผู้นำธุรกิจอาเซียน 32% เชื่อว่า รายได้ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ลดลงจากปีก่อนที่ 38% โดยมองว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (Availability of skills) นั้นเป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ต่อการเติบโตของธุรกิจ (Business threats) ที่ 88% ตามด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป (82%) และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (80%)
ผู้นำธุรกิจอาเซียนมองว่า 3 อันดับตลาดน่าลงทุนที่จะช่วยผลักดันให้บริษัทของพวกเขาเติบโตได้ในปีนี้ ได้แก่ จีน (43%) รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (28%) และอันดับที่สาม คือ อินโดนีเซีย (22%)
3 กลยุทธ์หลักที่จะช่วยผลักดันให้อัตราการทำกำไรของบริษัทเติบโต ได้แก่ แผนการเติบโตด้วยทรัพยากรหรือสินทรัพย์ที่มีอยู่ของบริษัท (Organic growth) ที่ 82% ตามมาด้วย แผนการลดต้นทุน (67%) และแผนการหาพันธมิตรหรือกิจการร่วมค้า (62%)
แม้ซีอีโอในภูมิภาคอาเซียนจะมองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีนี้ไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่พวกเขากลับมีแผนจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยผู้นำธุรกิจอาเซียน 63% มีแผนที่จะเพิ่มการจ้างงานในปีนี้สูงกว่าปีก่อนที่ 59% และส่วนใหญ่ยังคงต้องการแรงงานที่มีทักษะ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคต
ในระยะต่อไป ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) จะเข้ามามีอิทธิพลกับการดำเนินธุรกิจทั่วโลก โดยซีอีโอมากกว่าครึ่งเริ่มทำการศึกษาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรกลแล้ว ในขณะที่ซีอีโออีก 39% กำลังพิจารณาผลกระทบจากการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ต่อทักษะของแรงงานที่ต้องการในอนาคต โดยจะต้องเป็นทักษะที่เครื่องจักรกลไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เช่น ทักษะในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาอ่านตามเอกสารที่ได้แนบมา
http://www.pwc.com/gx/en/ceo-survey/2017/pwc-ceo-20th-survey-report-2017.pdf
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณ พลอย เทน เคท
มือถือ: +6689 891 6158
อีเมลล์: [email protected]
คุณ ปฐมาวดี ศรีวงษา
มือถือ: +6689 894 1668
อีเมลล์: [email protected]
คุณ ปิยะณัฐ สวนอภัย
มือถือ: +6681 551 1004
อีเมลล์: [email protected]
คุณ วรารัตน์ วีระคงสุวรรณ
มือถือ: +6695 916 6245
อีเมลล์: [email protected]
คุณ กุลธิดา เด่นวิทยานันท์
มือถือ: +6681 838 4410
อีเมลล์: [email protected]