- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Thursday, 05 January 2017 21:44
- Hits: 12444
เศรษฐกิจไทย -'หายใจคล่องขึ้น’
โดย นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย
เราปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 59 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 2.8 และปรับเพิ่มการคาดการณ์สำหรับทั้งปี 60 และ 61 มาที่ร้อยละ 3.2 จากเดิมร้อยละ 2.8 และ 3.0 ตามลำดับ โดยเศรษฐกิจได้ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ในสามไตรมาสแรกของปี 59 สูงกว่าการคาดการณ์ของเรา แม้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งจะมาจากการนำเข้าพลังงานและสินค้าทุนที่ลดลงก็ตาม อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกภาคบริการ (ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยว) ขยายตัวได้ดีกว่าคาด และแรงขับเคลื่อนเหล่านี้ยังช่วยชดเชยภาวะซบเซาของการส่งออกสินค้า การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการปรับลดสินค้าคงคลัง (destocking) ได้บางส่วน
ในปี 60 เราคาดว่า การลงทุนภาครัฐจะยังคงเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แม้ว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากที่เร่งตัวขึ้นมากในปี 59 ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลายโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้พัฒนาไปสู่ลำดับการประกวดราคาหรือการก่อสร้างแล้ว โดยได้รับผลดีมาจากการที่รัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการประจำปี (action plan) ออกมาเพื่อให้ความชัดเจนมากขึ้นในส่วนของโครงการสำคัญและเร่งด่วน นอกจากนี้ เราคาดว่ากระบวนการ destocking ที่ส่งผลให้การเติบโตของจีดีพีลดลงมากถึงประมาณ 3.0pp ในสามไตรมาสแรกของปี 59 จะพลิกกลับมาเป็นผลบวกต่อจีดีพีในปี 60
อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนจากภายนอก (เช่นนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชีย) มีแนวโน้มที่จะทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวต่ำ แม้ว่าผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมจะลดน้อยลงจากปี 59 ก็ตาม อย่างน้อย ไทยยังสามารถรักษาสัดส่วนตลาดของสินค้าส่งออกได้ในตลาดส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ผลกระทบชั่วคราวจากมาตรการปราบปรามผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวบางส่วนที่ทำผิดกฎ
มุมมองที่ออกมาในเชิงบวกมากขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งได้คำนึงถึงพื้นที่การดำเนินนโยบายการคลังที่ยังคงมีเพียงพอ โดยงบขาดดุลงบประมาณปี 60 ที่ 3.9 แสนล้าน (ร้อยละ 2.7 ของจีดีพี) ของรัฐบาลยังสามารถที่จะเพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 50 ตามกฎหมาย หากมีความจำเป็น ซึ่งครม. ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มอีก 1.9 แสนล้าน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะน่าจะผ่านความชอบของสนช.ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และทำให้การขาดดุลเพิ่มเป็นร้อยละ 3.3 แต่ถึงกระนั้น เราคาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในอีกสองปีข้างหน้า (สิ้นปีงบประมาณ 61) นอกจากนี้ เราคาดว่าสภาพคล่องในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของเงินฝากและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจคงยังจะไม่สามารถกลับไปขยายตัวในระดับสูงดังเช่นช่วงก่อนวิกฤตการเงินโลกปี ค.ศ. 2008 ได้ โดยหนี้ภาคครัวเรือนที่สูง และคุณภาพสินเชื่อที่ลดลงในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ยังคงเป็นปัจจัยต่อการเติบโต นอกจากนี้ การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในช่วงที่ผ่านมายังต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงเงินอุดหนุนในภาคการเกษตร ทั้งนี้ ปัญหาเชิงโครงสร้างของไทยยังคงมีอยู่ เช่น การออมของครัวเรือนที่อยู่ในระดับต่ำ โครงสร้างประชากรที่มีความชราภาพมากขึ้น และความสามารถด้านการแข่งขันภาคส่งออกที่ลดลง เป็นต้น
ประเด็นด้านนโยบาย
เราคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในปีนี้ โดยธปท.มีทีท่าที่จะรักษาพื้นที่นโยบายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินจะยังคงอยู่ในแนวโน้มที่ผ่อนคลายต่อไป โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 จนถึงสิ้นปี 61 ทั้งนี้ เนื่องจากว่า ธปท.ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง รวมถึงความไม่แน่นอนด้านนโยบายของเศรษฐกิจใหญ่หลายประเทศ ซึ่งธปท. เองเกรงว่าจะก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยได้ นอกจากนี้ แรงกดดันด้านราคาน่าจะอยู่ในวงจำกัดต่อไป แม้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจอาจจะสูงกว่าที่คาด โดยการคาดการณ์เงินเฟ้อยังทรงตัวและทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 59 ล้วนแล้วแต่ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า อันเนื่องมาจากการที่ภาคธุรกิจไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ล่าสุด เราได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อของทั้งปี 60 และ 61 ลงมาที่ร้อยละ 1.7 และ 2.0 จากเดิมร้อยละ 2.0 และ 2.1 ตามลำดับ
สำหรับ นโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยน เราคาดว่า ธปท. จะคงแนวนโยบายลดความผันผวนในระยะสั้นต่อไป แต่คงไม่พยายามที่จะต้านแนวโน้มของตลาดโลก หรือแรงกดดันที่มาจากการเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทถ่วงน้ำหนัก (Nominal Effective Exchange Rate) ยังค่อนข้างมีเสถียรภาพ ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับเงินทุนสำรองต่างประเทศที่เพียงพอ และเสถียรภาพภายนอกที่ดีของเศรษฐกิจไทย
ด้านความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของเรา คือ (1) ความล่าช้าในการลงทุนของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นช่วงใกล้การเลือกตั้ง (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจต่ำกว่าคาด (3) ความผันผวนในตลาดการเงินโลกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมและการตัดสินใจของภาคธุรกิจ และ (4) จำนวนนักท่องเที่ยวที่อาจจะน้อยกว่าคาดจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศไทยหรือจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
เนื่องจากมีการวางแผนจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 60 หรือในช่วงต้นปี 61 ความต่อเนื่องของนโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ด้วยส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนของแผนการปฏิรูปที่สำคัญอาจจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 60 เช่น พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ และ พ.ร.บ. การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้จะช่วยผลักดันขีดความสามารถของการเติบโตเศรษฐกิจให้สูงขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ดี เราคาดว่าแผนการลงทุนและนโยบายของรัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลงน้อยในอดีต จึงน่าจะมีความต่อเนื่องในช่วงต่อไป
เอชเอสบีซี ปรับเพิ่มประมาณการจีดีพีไทยปี 59 มาอยู่ที่ 3.0% จาก 2.8% พร้อมคาด ธปท.ยังคงดบ.ที่ 1.5% ไปจนถึงปี 61
นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่ม ประมาณการจีดีพีไทย ปี 59 มาอยู่ที่ 3.0% จาก 2.8% มองปี 60 การลงทุนภาครัฐฯ ยังเป็นกำลังสำคัญช่วยผลักดันศก.ไทย พร้อมประเมิน ธปท.ยังคงดบ.ที่ 1.5% ไปจนถึงปี 61 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 59 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 2.8 และปรับเพิ่มการคาดการณ์สำหรับทั้งปี 60 และ 61 มาที่ร้อยละ 3.2 จากเดิมร้อยละ 2.8 และ 3.0 ตามลำดับ
เศรษฐกิจได้ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ในสามไตรมาสแรกของปี 59 สูงกว่าการคาดการณ์ แม้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งจะมาจากการนำเข้าพลังงานและสินค้าทุนที่ลดลงก็ตาม แต่การลงทุนภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกภาคบริการ (ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยว) ขยายตัวได้ดีกว่าคาด และแรงขับเคลื่อนเหล่านี้ยังช่วยชดเชยภาวะซบเซาของการส่งออกสินค้า การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการปรับลดสินค้าคงคลัง (destocking) ได้บางส่วน
ในปี 60 เราคาดว่าการลงทุนภาครัฐจะยังคงเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากว่าหลายโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้พัฒนาไปสู่ลำดับการประกวดราคาหรือการก่อสร้างแล้ว นอกจากนี้ คาดว่ากระบวนการ destocking ที่ส่งผลให้การเติบโตของจีดีพีลดลงมากถึงประมาณ 3.0pp ในสามไตรมาสแรกของปี 59 จะพลิกกลับมาเป็นผลบวกต่อจีดีพีในปี 60
ไทยยังสามารถรักษาสัดส่วนตลาดของสินค้าส่งออกได้ในตลาดส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ผลกระทบชั่วคราวจากมาตรการปราบปรามผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวบางส่วนที่ทำผิดกฎ
งบขาดดุลงบประมาณปี 60 ที่ 3.9 แสนล้าน (ร้อยละ 2.7 ของจีดีพี) ของรัฐบาลยังสามารถที่จะเพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 50 ตามกฎหมาย หากมีความจำเป็น ซึ่งครม. ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มอีก 1.9 แสนล้าน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะน่าจะผ่านความชอบของสนช.ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และทำให้การขาดดุลเพิ่มเป็นร้อยละ 3.3 แต่ถึงกระนั้น คาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในอีกสองปีข้างหน้า (สิ้นปีงบประมาณ 61) นอกจากนี้ คาดว่าสภาพคล่องในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของเงินฝากและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่อง
คาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในปีนี้ โดยธปท.มีทีท่าที่จะรักษาพื้นที่นโยบายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินจะยังคงอยู่ในแนวโน้มที่ผ่อนคลายต่อไป โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 จนถึงสิ้นปี 61
การคาดการณ์เงินเฟ้อยังทรงตัวและทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 59 ล้วนแล้วแต่ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า อันเนื่องมาจากการที่ภาคธุรกิจไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ล่าสุด เราได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อของทั้งปี 60 และ 61 ลงมาที่ร้อยละ 1.7 และ 2.0 จากเดิมร้อยละ 2.0 และ 2.1 ตามลำดับ
นโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยน เราคาดว่า ธปท. จะคงแนวนโยบายลดความผันผวนในระยะสั้นต่อไป แต่คงไม่พยายามที่จะต้านแนวโน้มของตลาดโลก หรือแรงกดดันที่มาจากการเปลี่ยนแปลงด้านปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทถ่วงน้ำหนัก (Nominal Effective Exchange Rate) ยังค่อนข้างมีเสถียรภาพ ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับเงินทุนสำรองต่างประเทศที่เพียงพอ และเสถียรภาพภายนอกที่ดีของเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของเรา คือ (1) ความล่าช้าในการลงทุนของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นช่วงใกล้การเลือกตั้ง (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจต่ำกว่าคาด (3) ความผันผวนในตลาดการเงินโลกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมและการตัดสินใจของภาคธุรกิจ และ (4) จำนวนนักท่องเที่ยวที่อาจจะน้อยกว่าคาดจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศไทยหรือจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
เนื่องจากมีการวางแผนจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 60 หรือในช่วงต้นปี 61 ความต่อเนื่องของนโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ด้วยส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนของแผนการปฏิรูปที่สำคัญอาจจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 60 เช่น พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ และ พ.ร.บ. การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้จะช่วยผลักดันขีดความสามารถของการเติบโตเศรษฐกิจให้สูงขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ดี เราคาดว่าแผนการลงทุนและนโยบายของรัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลงน้อยในอดีต จึงน่าจะมีความต่อเนื่องในช่วงต่อไป
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย