- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Thursday, 24 March 2016 22:21
- Hits: 4857
คอมมิวนิตี้เอฟเอ็กซ์ในประเทศไทยร่วมฉลองความสำเร็จในงานทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์ อวอร์ด ประจำปี 2559
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเกียรติขึ้นมอบรางวัล
ทอมสัน รอยเตอร์ส ผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลการเงินและตลาดทุนได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์ อวอร์ด ประจำปีที่กรุงเทพเมื่อวานนี้ โดยงานนี้มุ่งส่งเสริมความโปร่งใสและสภาพคล่องในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศสำหรับตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา) ของไทย รวมถึงการตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษซึ่งเน้นย้ำถึงความร่วมมือในการผลักดันการปฏิรูปเพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นมืออาชีพสำหรับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมไปถึงแผนการเพื่อเพิ่มให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในกฎข้อบังคับของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจเพื่อให้พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายที่มาจากหลายๆ ด้าน มาตรการผ่อนคลายรวมถึงอนุญาตให้ธนาคารแบบออนชอร์สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเอฟเอ็กซ์และขยายขอบเขตสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ในการดำเนินการทำธุรกรรมเอฟเอ็กซ์ เพื่อให้บริการลูกค้าในตลาดทุนได้
“องค์กรที่ควบคุมดูแลกฎระเบียบและผู้ซื้อขายในตลาดได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ความร่วมมือในการพัฒนาของทั้งตลาดทุนและตลาดการเงิน ซึ่งการมีตลาดการเงินที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ” นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว
สำหรับ หน่วยงานที่ได้รับรางวัลเอฟเอ็กซ์ เทรดดิ้งอวอร์ดได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาจากปริมาณและมูลค่าการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายเอฟเอ็กซ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของทอมสัน รอยเตอร์ส
นอกเหนือจากงานประกาศรางวัลฯ แล้ว ภายในงานยังจัดให้มีการสนทนาเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเข้าร่วมพูดคุย ได้แก่ มร. กาย ดิคคินสัน ผู้บริหารสายตลาดและบริหารการเงิน ธนาคารเอชเอสบีซี นายธีรพล รัตตกุล ผู้บริหารสายตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และประธานสมาคมเอซีไอ ประเทศไทย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งผู้ร่วมอภิปรายได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองถึงการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบในการควบคุมตลาดตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ความเสี่ยง ความท้าทาย และโอกาส รวมถึงผลกระทบจากการที่ธุรกิจ FinTech เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา
มร. ไมเคิล โก ผู้บริหารส่วนการพัฒนาตลาดเอฟเอ็กซ์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทอมสัน รอยเตอร์ส กล่าวว่า “ความผันผวนของตลาดและการตรวจสอบกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดเอฟเอ็กซ์ทั่วโลก ดังนั้น ทอมสัน รอยเตอร์ส จึงมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการคอมมิวนิตี้เอฟเอ็กซ์ในประเทศไทยและทั่วโลกด้วยโซลูชั่นที่มีความหลากหลายและครบวงจรของเรา นี่คือเหตุผลที่เราต้องการทำให้แพลตฟอร์มของเราใช้งานง่ายสำหรับลูกค้าในการสรรหาสภาพคล่องที่ต้องการและมอบความยืดหยุ่นในการเข้าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านทางเลือกในด้านสถานที่ตั้งและประเภทการสั่งซื้อที่ต้องการ อีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าทอมสัน รอยเตอร์สมีการยึดถือโปรโตคอลตลาดอย่างเข้มงวด สำหรับผู้ใช้ทั้งหมดบนแพลตฟอร์มของเรา”
ทอมสัน รอยเตอร์ส รวบรวมแหล่งการทำธุรกรรมเอฟเอ็กซ์ทั้งหมดเข้าสู่แพลตฟอร์มเดียว ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงสภาพคล่องเอฟเอ็กซ์ในปี 2558 ที่ใหญ่ที่สุดทั้งหมดของอุตสาหกรรมได้โดยผ่านเพียงจุดๆ เดียว นอกจากนี้ บริการสตรีม (FXall QuickTrade) ราคาสตรีมมิ่งอย่างต่อเนื่อง (Bank Stream) คำสั่งการจองการซื้อขายศูนย์กลาง (Matching, Order Book) และแพลตฟอร์มการจัดการการสนทนา (Dealing) ทั้งหมดนี้ได้รับการควบรวมแบบครบวงจรเข้ากับระบบการซื้อขายเอฟเอ็กซ์ในโซลูชั่นเดสก์ทอปรุ่นต่อไปของทอมสัน รอยเตอร์สเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หน่วยงานที่ชนะรางวัลทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์ อวอร์ด ประจำปี 2559
1. ผู้ให้บริการยอดเยี่ยมด้านตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศสำหรับเงินบาทไทย
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน), ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ.
2. ผู้ให้บริการยอดเยี่อมด้านอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินบาทไทย ปี 2558
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ., ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
3. ผู้ให้บริการยอดเยี่ยมด้านสภาพคล่องในการซื้อขายดอลลาร์สหรัฐ/บาทไทย
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย จำกัด, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
4. ผู้ให้บริการยอดเยี่ยมด้านสภาพคล่องของสกุลเงินต่างประเทศ ปี 2558
รางวัลชนะเลิศ: ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
รางวัลรองชนะเลิศได้แก่ ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน)
หน่วยงานที่ได้รับรางวัลทอมสัน รอยเตอร์ส เอฟเอ็กซ์ อวอร์ด ประจำปี 2559 พร้อม มร. ซานจีฟ ฉัตรรัชท์ กรรมการผู้จัดการ ส่วนการเงินและความเสี่ยง ทอมสัน รอยเตอร์ส ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
การสนทนาเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เกี่ยวกับทอมสัน รอยเตอร์ส ในประเทศไทย
ทอมสัน รอยเตอร์ส ดำเนินงานในประเทศไทยมากว่า 100 ปี ธุรกิจส่วนใหญ่ของบริษัทที่ดำเนินงานในประเทศไทยประกอบด้วยผู้ชำนาญการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน กฎหมาย ภาษีและการบัญชี ตลอดจนข่าวรอยเตอร์สและบริการด้านสื่ออื่นๆ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทอมสัน รอยเตอร์ส เป็นผู้นำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยและเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพซีเอ็มเอ็มไอ ระดับ 5 (มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน) สำนักงานทอมสัน รอยเตอร์ส กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควบคุมคุณภาพ และให้บริการผ่านการขายสำหรับลูกค้าทั่วโลก ทอมสัน รอยเตอร์ส มีกิจกรรมเพื่อสังคมที่เข้มแข็งในประเทศไทย และพนักงานจำนวนมากได้สละเวลาเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของชุมชนตามโรงเรียนทั่วทั้งประเทศ เมื่อปี 2547 มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์สได้บริจาคเงินจำนวนมากเพื่อมอบความช่วยเหลือให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายและครอบครัวที่ประสบเหตุภัยพิบัติสึนามิ
เกี่ยวกับทอมสัน รอยเตอร์ส
ทอมสัน รอยเตอร์ส เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารชั้นนำของโลก สำหรับธุรกิจและบุคลากรในวิชาชีพต่างๆ เราผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเข้ากับนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อส่งต่อข้อมูลให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ความเสี่ยง กฎหมาย ภาษี บัญชี วิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนตลาดสื่อ โดยมีองค์กรข่าวที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในโลกอย่างรอยเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน หุ้นของทอมสัน รอยเตอร์สจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่โตรอนโตและนิวยอร์ก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://thomsonreuters.com
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์
บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
+662260-5820 ต่อ115
ซิลค์ มาร์ช
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ส่วนการเงินและความเสี่ยง ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
+852 2843 1623
เจเน็ต จิน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการสื่อสารธุรกิจ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
+852 6201 0526
สหรัฐฯ ปรับอัตราขั้นต่ำในการเรียกเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้า สร้างโอกาสให้ผู้ค้าปลีกส่งออกชาวไทย
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559 กรุงเทพฯ วันนี้อีเบย์ เผยถึงโอกาสครั้งใหม่ของผู้ค้าปลีกส่งออกจากประเทศไทย หลังจากที่ประเทศสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราขั้นต่ำในการเรียกเก็บเงินศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าจาก 200 ดอลลาร์ เป็น 800 ดอลลาร์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เปิดโอกาสครั้งยิ่งใหญ่แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มยอดขายจากการค้าขายกับผู้บริโภคสหรัฐฯ ผ่านทางอีเบย์ และในขณะเดียวกันยังได้รับผลประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่มีความแข็งตัว
ประเทศสหรัฐฯ มีกฏเกณฑ์ข้อกำหนดในการเก็บภาษีของสินค้านำเข้า โดยในอดีตสินค้านำเข้าที่มีราคามากกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐฯจะถูกเรียกเก็บภาษี แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยสินค้าที่ราคามากกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯขึ้นไปจึงจะมีการเรียกเก็บภาษี จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าปลีกส่งออกจากประเทศไทย สามารถขายสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่ต้องจ่ายภาษีถ้าสินค้าราคาไม่เกิน 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ และลดความซับซ้อนของเอกสารนำเข้า และลดระยะเวลาการส่งมอบจากพิธีการศุลกากรสหรัฐฯไปยังผู้ซื้อ
“สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดการค้าอันดับหนึ่งของผู้ค้าปลีกส่งออกจากประเทศไทย เงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น คือแรงผลักดันสำคัญของการเติบโตนี้ โดยการปรับภาษีอัตราศุลกากรในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกส่งออกชาวไทยสามารถขยายกลุ่มสินค้าให้หลากหลายและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยมีอุปสรรคลดลง” บุญพันธุ์ บุญประยูร หัวหน้าฝ่ายการค้าระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กล่าว ”อีเบย์มุ่งมั่นให้การสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและนักลงทุนชาวไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดโลกได้โดยตรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ โดยการปรับอัตราศุลกากรในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและนักลงทุนชาวไทยมีความได้เปรียบในการค้าผ่านทางอีเบย์และทำให้รายได้ได้สูงขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาถูกมองว่ากำลังเติบโตในปีนี้” บุญพันธ์สรุป
ผู้ประกอบเอสเอ็มอีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้เติบโตขึ้น โดยประเทศไทยในขณะนี้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถึง 2,800,000 ราย ซึ่งอีเบย์ยังคงสานต่อเป้าหมายในการช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการให้บริการแพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยในการส่งมอบสินค้าและบริการที่ไม่มีใครสามารถเทียบได้ในระดับโลก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงโอกาสในธุรกิจการค้าปลีกส่งออกแบบออนไลน์ได้มากขึ้น และอีเบย์ทำให้โอกาสนั้นเกิดขึ้นได้จริงด้วยการให้บริการเปิดหน้าร้านค้าออนไลน์ในระดับโลก เพื่อต้อนรับผู้ซื้อกว่า 163 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำปลายทางด้านการส่งออก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ค้าปลีกส่งออกบนอีเบย์มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมียอดขายประจำปีสูงสุดในระดับภูมิภาคที่มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการปรับอัตราศุลกากรในครั้งนี้ จะช่วยผลักดันให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ อีเบย์มุ่งมั่นที่จะช่วยยกระดับการพาณิชย์ในประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง ควบคู่ไปกับการสนับสนุนธุรกิจระดับท้องถิ่น โดยเน้นการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจผ่านการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต
เกี่ยวกับอีเบย์
อีเบย์ (ชื่อในตลาดแนสแด็ก: EBAY) เป็นผู้นำด้านโกลบอล คอมเมิร์ซ รวมถึงเว็บไซต์อีเบย์ สตับฮับ และอีเบย์ คลาสสิฟายด์ ทั้งหมดนี้สามารถเชื่อมต่อผู้ขายและผู้ซื้อหลายล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสผ่าน ‘คอนเนคเต็ด คอมเมิร์ซ’ ทั้งนี้ อีเบย์ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 ที่เมืองซานโฮเซ่ ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ และกลายเป็นหนึ่งในตลาดออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดและตื่นตัวที่สุดในโลก สำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่ไม่เหมือนใครและคุ้มค่าเงิน ล่าสุด เมื่อปี 2557 อีเบย์มียอดการซื้อขายสินค้ารวมที่ 83,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทและผลงานที่ผ่านมา สามารถเข้าไปติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ebayinc.com