- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Sunday, 08 November 2015 07:10
- Hits: 4831
TMB คาด กนง.คงดอกเบี้ยเพื่อ Wait & See มองแนวโน้มบาทอ่อนถึงปีหน้า
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี(TMB Analytics)มองว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% เนื่องจากที่ผ่านมา กนง.ได้ปรับลดดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้งแล้ว เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากนี้ทาง กนง.คงรองดูสถานการณ์รอบด้าน และมองว่าทางภาครัฐจะใช้นโยบายการคลังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก
“พุธนี้เรามอง กนง.คงดอกเบี้ย หลังลดมา 2 ครั้งแล้ว ตอนนี้เขาคง Wait & See เพราะเห็นภาครัฐใช้นโยบายการคลังเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ตอนนี้กนง.คงขอเป็นกองหลังไปก่อน แต่อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนก็เป็นไปได้ที่จะเห็น กนง.ขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปลายปีหน้า"นายเบญจรงค์ กล่าว
สำหรับ การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 17-18 ธ.ค.นี้มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น หลังจากที่ชะลอการปรับขึ้นในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้นอยู่ที่การประกาศการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์นี้ หากมีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 แสนตำแหน่ง ก็มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยสูง
นายเบญจรงค์ มองว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในเดือน ธ.ค.จะส่งผลให้ค่าเงินบาทสิ้นปีนี้อ่อนค่าลงแตะ 36.60-36.70 บาท/ดอลลาร์ จากประมาณการเดิม 35 บาท/ดอลลาร์ ส่วนปีหน้ามองกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 36.70-36.90 บาท/ดอลลาร์
"จากนี้ไปยังมองค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อไปจนถึงปีหน้า หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งกรอบค่าเงินบาทในปีหน้าเป็นลักษณะ SIDE WAY เพราะการขึ้นดอกเบี้ยเฟดปีหน้าจะไม่เร็ว และ เป็นการขึ้นแบบระมัดระวัง ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย แต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั่วโลก คือ เศรษฐกิจจีนว่าจะมีสัญญาณดีขึ้นหรือไม่ในอนาคต"นายเบญรงค์ กล่าว
TMB เผยดัชนีเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3/58 ต่ำสุดรอบ 3 ปี แต่คาดฟื้นใน Q4/58
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี(TMB Analytics)เปิดเผยผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ในไตรมาส 3 ตกต่ำสุดในรอบสามปี เหตุกำลังซื้อหดหาย หวังรัฐฯ กระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ฟื้นเศรษฐกิจปีหน้า ท่ามกลางปัญหาที่ยังรุมเร้าเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 59 แต่คาดไตรมาส 4/58 ความเชื่อมั่นฟื้น
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส เปิดเผย TMB Analytics เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี" (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 3/58 จากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SME 1,262 กิจการทั่วประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ที่ 34.2 ปรับลงจากระดับ 38.7 หรือลดลง 11.6% จากไตรมาสก่อนหน้า
เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่ารายได้ของธุรกิจลดลงกว่าช่วงครึ่งปีแรก โดยภาคที่ผู้ประกอบการให้ความเห็นว่ารายได้ของธุรกิจมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างสูง คือ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออก โดยช่วงที่ผ่านมาภาคเหนือต้องประสบกับภาวะภัยแล้ง สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตร ปัญหาไฟป่าและหมอกควันและอยู่นอกฤดูกาลท่องเที่ยว ทำให้กำลังซื้อในพื้นที่ลดลง ภาคตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ ได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมลดการผลิต การจ้างแรงงาน ซ่อมบำรุงและเลื่อนการลงทุนออกไป ทำให้เศรษฐกิจในภาคตะวันออกชะลอตัวลง
“ผลสำรวจปัจจัยความกังวลของผู้ประกอบการ ยังสะท้อนถึงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจในประเทศและกำลังซื้ออ่อนแอเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 63.9 สูงสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มสำรวจความเห็น ปัจจัยกังวลเป็นอันดับที่สอง คือ ปัญหาด้านการบริหารจัดการธุรกิจ-การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากยอดขายที่ชะลอตัวลง ทำให้สภาพคล่องของธุรกิจตึ่งตัว นอกจากนั้น ด้านความกังวลภัยธรรมชาติ ตามมาเป็นอันดับสามที่ 8.9% เพิ่มขึ้นจาก 4.6% ในไตรมาสก่อนหน้าเกือบเท่าตัว เนื่องจากภัยแล้งกระทบกับภาคการเกษตรที่เป็นกำลังซื้อสำคัญในภูมิภาค" นายเบญจรงค์ กล่าว
ส่วนความเชื่อมั่นของธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าพบว่า ดัชนีอยู่ที่ 53.1 สูงกว่าระดับปกติที่ 50 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นต่อภาวะธุรกิจปลายปีนี้ แม้ปรับลงจากระดับ 53.8 ในไตรมาส 2 เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในอนาคตเริ่มมีสัญญานที่อ่อนแอลงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคตะวันออก สวนทางกับภูมิภาคอื่นๆ ที่เริ่มมีแนวโน้มความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ มีมุมมองว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นในไตรมาส 3 สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันอย่างชัดเจน เนื่องจากในปีนี้ ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญปัญหากำลังซื้อในประเทศที่ลดลง จากภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การส่งออกชะลอตัวจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ยังมีปัญหา
ช่วงที่ผ่านมาภาคเหนือต้องประสบปัญหาภัยแล้ง สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตร ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ทำให้กำลังซื้อในพื้นที่ลดลง ส่วนภาคตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ ได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมลดการผลิต การจ้างแรงงาน ซ่อมบำรุงและเลื่อนการลงทุนออกไป ทำให้เศรษฐกิจภาคตะวันออกชะลอตัวลง
"ผลสำรวจปัจจัยความกังวลผู้ประกอบการยังสะท้อนความกังวลเศรษฐกิจในประเทศ และกำลังซื้ออ่อนแอเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วน 63.9% สูงสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มสำรวจความเห็น ส่วนปัจจัยกังวลเป็นอันดับที่สอง คือ ปัญหาด้านการบริหารจัดการธุรกิจ และ บริหารเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากยอดขายที่ชะลอตัวลง ทำให้สภาพคล่องตึงตัว นอกจากนั้นความกังวลเรื่องภัยธรรมชาติตามมาเป็นอันดับที่ 3 อยู่ที่ 8.9% เพิ่มขึ้นจาก 4.6% จากไตรมาสก่อนหน้า เพราะภัยแล้งกระทบกับภาคการเกษตรที่เป็นกำลังซื้อสำคัญในภูมิภาค"นายเบญจรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากที่ภาครัฐเร่งดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 จนถึงช่วงต้นไตรมาส 4 นั้น ทำให้ในหลายๆภูมิภาคเริ่มเกิดความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าเริ่มดีขึ้นในหลายภูมิภาค แต่ยังคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะเห็นผลของมาตรการทั้งหมดนี้อย่างชัดเจน และยังคงต้องเฝ้าระวังประเด็นความกังวลที่จะยังส่งผลต่อเนื่องไปยังปี 59 อีกด้วย เช่น ปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และส่งออกฟื้นตัวล่าช้า
“ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในปีหน้า จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อได้แต่ผลดีก็กระจุกในเมืองท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังนั้นความหวังที่จะพลิกพื้นกำลังซื้อภายในประเทศ จึงต้องอาศัยการใช้จ่าย ลงทุน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่วนขนาดของเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นเพียงพอจะฟื้นเศรษฐกิจในประเทศหรือไม่ เรายังคงต้องติดตามประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนนโยบายและปัจจัยเสี่ยงที่อาจรุมเร้าธุรกิจ SME ในปีหน้า"นายเบญจรงค์ สรุป
อย่างไรก็ตาม นายเบญจรงค์ คาดว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีไตรมาส 4/58 จะปรับเพิ่มเป็น 38-40 โดยมีปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐช่วยให้ความเชื่อมั่นพลิกฟื้น ประกอบกับ เป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีการจับจ่ายใช้สอยอย่างมาก ทำให้รายได้ของธุรกิจกลับมาเติบโต แต่ปัจจัยที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลในช่วงโค้งสุดท้ายของปีต่อเนื่องไปถึงปี 59 ประกอบด้วย อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และ สภาพคล่องในปัจจุบันที่ยังตึงตัว แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาส 1/59 หลังได้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟท์โลน)เข้ามาช่วย และ ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง
อินโฟเควสท์