- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Friday, 06 November 2015 17:01
- Hits: 2395
กฎ 10 ประการเพื่อการลงทุน โดย บลจ.อเบอร์ดีน กฎข้อที่ 5 ระวังบริษัทที่ทะเยอทะยานเกินไป
คาร์ฟูร์มีสาขากว่า 12,000 สาขาใน 33 ประเทศทั่วโลก ในเอเชียคาร์ฟูร์ธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสมีสาขาประมาณ 396 แห่ง
หนึ่งในหลายสิ่งแรก ๆ ที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร George Plassat ของคาร์ฟูร์ทำเมื่อเข้ามารับตำแหน่งในปี 2555 คือการเลิกธุรกิจในต่างประเทศ เช่นในโคลอมเบีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกรีซ
การทำเช่นนั้น Plassat หวังที่จะพลิกฟื้นบริษัท ที่ราคาหุ้นได้ตกต่ำลงไปมากกว่า 60% ในรอบศตวรรษนี้ ผู้บริหารของคาร์ฟูร์ได้ระบุว่าผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ของกลุ่มบางส่วนมาจากการขยายสาขาในต่างประเทศที่มากเกินไปในช่วงการบริหารงานของฝ่ายบริหารชุดก่อน
ยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกที่ได้แก่ คาร์ฟูร์ของฝรั่งเศส เทสโก้ของสหราชอาณาจักร และเมโทรของเยอรมนี ได้เรียนรู้ว่าสูตรความสำเร็จในประเทศบ้านเกิดของตนไม่จำเป็นว่าจะช่วยให้สามารถครองตลาดในต่างประเทศได้
ความทะเยอทะยานที่สูงเกินไปของธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ การขยายสาขาไปยังต่างภูมิภาคก็เป็นความทะเยอทะยานอีกรูปแบบหนึ่ง แต่มักจะดึงดูดบริษัทให้ขยายธุรกิจไปในเรื่องที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญหลัก ๆ ของตน โดยหวังที่จะสร้างการเติบโตได้มากและได้ผลเร็ว บางครั้งบริษัทเติบโตขึ้นมากจนทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปไม่ได้
ธนาคารในสหรัฐอเมริกาขยายธุรกิจใหญ่โตมากเกินไปจนทำให้บริหารจัดการได้ยาก หลังจากที่ในปี 2542 อดีตประธานาธิบดี Bill Clinton ของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกกฎหมายที่กำหนดให้แยกธุรกิจธนาคารพาณิชย์ออกจากธุรกิจวาณิชธนกิจที่ตราขึ้นตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษ 1930
คู่แข่งในประเทศอื่นๆก็ได้ทำเช่นเดียวกับในสหรัฐฯ และในไม่ช้าก็ได้กลายเป็นกระแสทางเลือกที่มีการทำกันมากในบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่มีเงินสดมากและมีความทะเยอทะยานสูง โดยการตั้งแผนกวาณิชธนกิจขึ้นมาตั้งแต่การปล่อยกู้ง่าย ๆ ให้แก่ผู้บริโภค ไปจนถึงการซื้อขายแบบเก็งกำไรที่ไม่มีใครเข้าใจ ได้วางรากฐานให้เกิดเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูเป็นเวลาหลายปี แต่ในที่สุดก็ได้นำพาไปสู่วิกฤตการเงินโลกที่เกิดขึ้นในปี 2551โลกได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ใหญ่จนควบคุมไม่ได้ย่อมหมายถึงอะไรที่ใหญ่จนปล่อยให้ล้มลงไม่ได้ ส่งผลให้หลายประเทศเกือบจะต้องล้มละลายไปเองจากความพยายามที่จะกอบกู้สถาบันการเงินที่ล้มละลายบทเรียนที่สำคัญคือบรรดาผู้บริหารของธนาคารต่างต้องเผชิญความเสี่ยงที่แวดล้อมธนาคารอย่างชัดเจน นั่นคือธุรกิจธนาคารของพวกเขาพัฒนาไปจนมีความซับซ้อนมากเกินไป
อีกรูปแบบหนึ่งของความทะเยอทะยานที่มากเกินไป คือ การกระจายการทำธุรกิจออกไปมากเกินไป ลักษณะของวิกฤตการเงินในเอเชียที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 – 2541 ดังกล่าว คือการที่บริษัทจำนวนหนึ่งที่กลายเป็นกลุ่มบริษัทขนาดย่อม มักจะทำการซื้อทรัพย์สินที่ไม่สร้างผลกำไรด้วยเงินกู้ เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือสนามกอล์ฟเราขอเรียกกระบวนการนี้ว่าการสลายการทำธุรกิจ
ในหลายกรณีที่คล้ายกันนี้ มีบริษัทที่ได้กลายเป็นเพียงเครื่องมือของประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่มากด้วยความทะเยอทะยานเพื่อทำตามความปรารถนาชื่อเสียงส่วนตัวในช่วงวันท้าย ๆ ขณะที่ฮ่องกงยังเป็นหนึ่งในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร การเปิดธุรกิจวาณิชธนกิจในฮ่องกงที่เป็นที่กล่าวถึงกันมากที่สุดไม่ใช่ Goldman Sachs หรือ Morgan Stanley แต่กลับเป็น Peregrine Investments Holdings
นับตั้งแต่ปี 2531 ถึงปี 2540 Peregrine เป็นธุรกิจจัดจำหน่ายและประกันการออกหุ้นใหม่ให้แก่บริษัทต่างๆที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง และเป็นผู้บุกเบิกตลาดซื้อขายตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำของเอเชีย ผู้ก่อตั้ง Peregrine คือ Philip Tose ซึ่งเป็นอดีตนักแข่งรถความเร็วสูงที่เต็มไปด้วยสีสัน ซึ่งได้ผลักดันวัฒนธรรมการทำธุรกิจแบบหวือหวาและเสี่ยงสูง ที่เขาได้บัญญัติศัพท์ขึ้นเองว่า buccaneering culture ที่นิยมการทำธุรกิจแบบกล้าเสี่ยง โดยมักจะอาศัยความบกพร่องในการตรวจสอบของฝ่ายบริหารที่ควรจะรอบคอบ
บริษัทถูกบังคับให้ต้องล้มละลายลงในเดือนมกราคม 2541 หลังจากที่ได้ปล่อยเงินกู้ก้อนเดียวให้แก่นักธุรกิจรายหนึ่งของอินโดนีเซียและกลายเป็นหนี้เสีย บริษัทได้ปล่อยกู้หนึ่งในสามของเงินทุนของบริษัทให้แก่ลูกค้ารายนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการจำหน่ายและประกันการออกหุ้นกู้ของลูกค้า แต่ความผันผวนของค่าเงินท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับวิกฤตการเงินในเอเชียได้ทำลายโอกาสที่จะได้รับชำระคืนเงินกู้รายนี้
ที่น่าประทับใจ แม้ว่าธรรมาภิบาลของธุรกิจจะดีขึ้นแล้วอย่างมีนัยสำคัญทั่วภูมิภาค แต่บริษัทที่มีความเชื่อมั่นสูงเกินไปอย่างชัดเจนจะทำการดึงดูดเงินทองจากภายนอกให้เข้ามาได้ตลอดเวลาบริษัทของจีนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีกิจการอสังหาริมทรัพย์และได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง กลับคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปบริหารกิจการสโมสรฟุตบอลอาชีพ รวมถึงทำธุรกิจผลิตนมผงสำหรับเด็กทารกไปด้วย ในชั่วเวลาน้อยกว่าสี่เดือนเท่านั้น หุ้นของบริษัทนี้ที่อยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกงก็ได้ตกต่ำลงมามากกว่า 45%* จากระดับที่เคยสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม กรณีนี้จึงน่าจะเป็นเครื่องเตือนใจที่เจ็บปวดได้ว่ากิจกรรมการเก็งกำไรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภายในห้องประชุมคณะกรรมการของบริษัทเท่านั้น
ความทะเยอทะยานของบริษัทไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริง นักลงทุนน่าจะมองหาบริษัทที่มีแผนการเพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจที่ชาญฉลาดมากกว่าแต่ปัญหาคือบรรดาประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทสามารถถูกปิดบังสายตา ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองที่มีมากเกินไปและการถูกยุยงจากคณะกรรมการของบริษัทที่อ่อนแอ พวกเขามักจะประเมินต้นทุนของการควบรวมธุรกิจหรือการเข้าซื้อกิจการที่ต่ำเกินไป ซึ่งนับว่ามีความสัมพันธ์กันกับราคาหุ้นที่ขึ้นสูงหรือเมื่อการก่อหนี้มีราคาถูก
ฝ่ายบริหารของบริษัทที่มองไม่เห็นความจริงว่าความสำเร็จชั่วข้ามคืนควรจะได้รับการพิจารณาด้วยความสงสัยไว้ให้มาก การเติบโตของธุรกิจที่ก้าวกระโดดอาจจะเป็นสิ่งล่อใจสำหรับนักลงทุน แต่มักจะมาพร้อมกับราคาที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังในความเห็นของอเบอร์ดีนบริษัทที่ดี คือ บริษัทที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10% มาเป็น 15% ในหนึ่งปี และการเติบโตระดับนี้จะถูกสะท้อนให้เห็นได้อย่างถูกต้องจากราคาหุ้นของบริษัท
* ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2558
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.aberdeen-asset.co.th/10goldenrulesthai
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน