- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Monday, 30 June 2014 10:25
- Hits: 4912
รายงานล่าสุดชี้ว่า คู่สมรสไทย ควรคาดการณ์ระยะเวลาหลังเกษียณให้ยาวนานขึ้นราว 7 ถึง 11 ปี ในการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ
รายงานแนะคู่สมรสควรบริหารทรัพย์สินครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หลักในการบรรลุความต้องการทางการเงินตลอดช่วงหลังเกษียณอายุที่มีแนวโน้มยาวขึ้นกว่าการคาดการณ์
กรุงเทพฯ – Manulife Asset Management ออกรายงานผลศึกษาที่พบว่า คู่สมรสจำนวนมากในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ประเมินช่วงเวลาวัยเกษียณไว้สั้นกว่าที่ควรจะเป็นมาก ทำให้มีโอกาสสูงที่จะเก็บเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณไม่เพียงพอ
รายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า “Live long and prosper? Retirement and longevity risk" (อายุยืนยาวแล้วทำให้มั่งคั่งจริงหรือ? การเกษียณกับความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาว) เป็นรายงานฉบับที่ห้าในชุด Aging Asia ของ Manulife Asset Management โดยคาดการณ์ช่วงอายุวัยเกษียณและประเมินความเสี่ยงที่อายุจะยืนยาวหรือความเสี่ยงที่ผู้เกษียณจะยังมีชีวิตหลังไม่มีแหล่งรายได้แล้ว สำหรับคู่สมรสในสิบประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย ซึ่งได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เวียดนามและไทย
Mr.Michael Dommermuth, President, International Asset Management, Manulife Asset Managemnet อธิบายว่า “เรารู้สึกว่า สถานะสมรสมักจะไม่นำมาพิจารณาในการวางแผนเกษียณกัน คนไทยส่วนใหญ่ยังคงเข้าสู่วัยเกษียณโดยมีคู่สมรสจึงจำเป็นต้องพิจารณาความเป็นไปได้ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ซึ่งปกติจะเป็นฝ่ายภรรยาเนื่องจากผู้หญิงมีอายุขัยเฉลี่ยยาวนานกว่าผู้ชาย) จะมีอายุยืนกว่าอีกฝ่าย การไม่นำปัจจัยความเป็นไปได้ที่ฝ่ายหนึ่งจะมีอายุขัยยาวนานกว่าอีกฝ่ายมากมาพิจารณาอาจเพิ่มระดับความเสี่ยงของการยังมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเงินออมที่เก็บไว้ใช้หลังเกษียณ”
นายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า “รายงานฉบับนี้ระบุผลศึกษาที่ว่า คู่สมรสในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ชีวิตวัยเกษียณร่วมกันถึง 30.2ปี ซึ่งชี้ให้เห็นความเสี่ยงของอายุยืนยาวในระดับสูงกว่าตลาดอื่นๆ ในเอเชีย โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่คนไทยเกษียณค่อนข้างเร็ว เนื่องจากลูกจ้างทั้งภาคเอกชนและภาครัฐจำนวนมากอยู่ภายใต้ข้อบังคับของการเกษียณเมื่ออายุครบ 60ปี
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงอายุยืนยาวอยู่ในระดับค่อนข้างสูงในหลายตลาดเนื่องจากพบว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per capita) ของประเทศ กับอายุขัยเฉลี่ยของคนในประเทศนั้นมีค่าสูงถึงร้อยละ 66[1] ดังนั้น อายุขัยและความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาวในประเทศไทยอาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตได้ เนื่องจากคาดการณ์ว่าเป็นประเทศที่จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นอีกหลายปีข้างหน้านี้ 2”
Mr. Dommermuth กล่าวเสริมว่า “เป็นเรื่องสำคัญที่ควรตระหนักว่า แต่ละคนจะมีโอกาสถึงร้อยละ 50ที่จะมีอายุยืนยาวกว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่คาดไว้ ผลวิจัยของเราชี้ว่า สำหรับในไทยนั้น ความเสี่ยงที่เงินออมจะหมดลงก่อนสิ้นอายุขัยจะลดลงอย่างมาก หากคู่สมรสมีการเกษียณอายุช้าลง หรือ เพิ่มตัวแปรด้านระยะเวลาในการวางแผนทางการเงินให้ยาวนานขึ้นอีก 7ถึง 11ปี”
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำหนดนโยบายในภูมิภาคนี้ได้ดำเนินการเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการมีอายุยืนยาวของประชาชนบ้างแล้ว โดยมีรัฐบาลหลายแห่งพิจารณาเพิ่มอายุเกษียณราชการ ซึ่งแนวทางนี้อาจนำมาใช้ในไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ งานวิจัยชุด “Aging Asia” ได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในเรื่องความมั่นคงของรายได้ช่วงวัยเกษียณจะตกอยู่กับประชาชนมากขึ้น และหากมีการบริหารทรัพย์สินในครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพโดยการแสวงหาโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงสำหรับการมีเงินออมไม่เพียงพอไว้ใช้ยามเกษียณหากมีอายุยืนยาวได้
นายต่อ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) ได้เป็นส่วนหนึ่งที่คอยช่วยเหลือลูกค้าในการบริหารความมั่งคั่งและสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นผ่านทางเลือกการลงทุนที่สำคัญ คือ กองทุนรวม ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนต่างประเทศ กองทุนหุ้นไทย และกองทุนตลาดเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถกระจายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม
ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน รวมทั้งความผันผวนของตลาดไทยในปัจจุบัน เราจึงอยากแนะนำให้ผู้ลงทุนพิจารณากระจายการลงทุนจากในประเทศไปยังตลาดต่างประเทศด้วย โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และตรงตามวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุนแต่ละราย ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสในการสร้างมูลค่าเงินลงทุนให้สูงขึ้นสำหรับเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ หรือ ช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ของครัวเรือนจากโอกาสในการได้รับเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ”
รายงานชุด Aging Asia ของ Manulife Asset Management และเอกสารที่เกี่ยวข้องอ่านรายละเอียดได้ที่ www.manulife.com/agingasia
หมายเหตุ
ตัวเลขระยะเวลาในวัยเกษียณที่ระบุไว้ในข่าวนี้และในรายงาน "Live long and prosper? Retirement and longevity risk" คำนวณจากแบบจำลอง Asia Retirement Duration Model (ARDM) ของ Manulife Asset Management ซึ่งแสดงภาพวงจรชีวิตในส่วนระยะเวลาอยู่ในวัยเกษียณอย่างครบวงจร ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นที่ยังใช้ชีวิตอยู่กับคู่สมรสจนเปลี่ยนผ่านมาใช้ชีวิตโดยลำพัง แบบจำลองนี้มีให้กรอกข้อมูลหลัก ๆ สามประเภท ซึ่งได้แก่
§ อายุเกษียณ - อายุเกษียณภาคราชการยังคงค่อนข้างต่ำในตลาดเอเชียส่วนใหญ่ แม้อายุขัยเฉลี่ยจะยังคงขยับตัวขึ้น ซึ่งทำให้ระยะเวลาที่ต้องใช้ในวัยเกษียณยาวนานขึ้น
§ อายุขัยเฉลี่ย - ประชากรเอเชียบางกลุ่มมีอายุขัยยาวนานที่สุดในโลก อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอายุขัยเฉลี่ยในภูมิภาคในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา อายุขัยที่ยาวขึ้นส่งผลโดยตรงให้ระยะเวลาที่ต้องใช้ในวัยเกษียณยาวขึ้นด้วย และทำให้ความเสี่ยงอายุยืนยาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
§ สถานะสมรส - คู่สมรสส่วนใหญ่ในเอเชียเข้าสู่วัยเกษียณขณะคู่สมรสยังมีชีวิต ซึ่งหมายความว่า การวางแผนเกษียณของคนกลุ่มนี้ควรคิดจากอายุขัยร่วมกันแทนอายุขัยฝ่ายเดียว เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ฝ่ายหนึ่ง (ปกติจะเป็นฝ่ายหญิง) จะมีอายุขัยยืนยาวกว่าอีกฝ่าย และอาจยืนยาวกว่ามากเสียด้วย
เกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด (บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย)) เป็นบริษัทย่อยของ Manulife Financial กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการการเงินชั้นนำซึ่งมีฐานประกอบการอยู่ในแคนาดา ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานลงทุนระดับโลกซึ่งมีนักวิเคราะห์กองทุนและผู้เชี่ยวชาญการลงทุนอยู่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศและดินแดนในภูมิภาคเอเชียกว่า 10 ประเทศ บริษัทได้รับการสนับสนุนและสร้างเครือข่ายที่เหนียวแน่นกับทีมงานระดับโลกของ Manulife Asset Management บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญการจัดการกองทุนนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสำคัญของบริษัท
เกี่ยวกับ Manulife Asset Management
Manulife Asset Management เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลกในเครือของ Manulife Financial โดย Manulife Asset Management ให้บริการด้านการบริหารจัดการเงินลงทุนทุกรูปแบบแก่นักลงทุนสถาบันและกองทุนรวมในตลาดสำคัญทั่วโลก ความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนครอบคลุมถึงสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนบริการจัดสรรสินทรัพย์ ณ วันที่ 31มีนาคม 2557มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการที่ 269,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝ่ายลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของ Manulife Asset Management มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท รวมทั้งตราสารทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และตราสารหนี้ รวมทั้งกลยุทธ์จัดสรรสินทรัพย์ Manulife Asset Management มีสำนักงานที่มีความพร้อมด้านการลงทุนอย่างเต็มรูปแบบทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมทุนธุรกิจจัดการลงทุนในประเทศจีนภายใต้ชื่อ Manulife TEDA นอกจากนี้ ฝ่ายตลาดหลักทรัพย์ของ Manulife Asset Management ยังให้บริการด้านจัดการลงทุนแก่ลูกค้ารายย่อยของบริษัทในเครือผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ Manulife และ John Hancock โดย John Hancock Asset Management และ Declaration Management and Research เป็นหน่วยงานในสังกัด Manulife Asset Management
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Manulife Asset Management ตรวจสอบได้ที่ ManulifeAM.com
เกี่ยวกับ Manulife
Manulife เป็นกลุ่มบริษัทการเงินชั้นนำที่มีฐานอยู่ในแคนาดา โดยมีฐานประกอบการหลักในเอเชีย แคนาดา และสหรัฐ ลูกค้าได้รับ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี เชื่อถือไว้วางใจได้ และมีวิสัยทัศน์จากแมนูไลฟ์เพื่อใช้ตัดสินใจทางการเงินในเรื่องสำคัญ ๆ เครือข่ายพนักงาน ตัวแทน และหุ้นส่วนจัดจำหน่ายระหว่างประเทศของเรานำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการรักษาความมั่นคงทางการเงินและบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าหลายล้านราย นอกจากนี้ เรายังให้บริการบริหารจัดการสินทรัพย์แก่ลูกค้าสถาบันด้วย โดย Manulife และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ที่รับบริหารจัดการทั้งสิ้นอยู่ที่ 5.74แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 31มีนาคม 2557 ในตลาดแคนาดาและเอเชีย บริษัทประกอบกิจการโดยใช้ชื่อว่า Manulife ส่วนในสหรัฐใช้ชื่อว่า จอห์น แฮนคอก เป็นหลัก Manulife Financial Corporation ใช้เครื่องหมาย “MFC” ในตลาดหลักทรัพย์แคนาดา ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ และเครื่องหมาย “945” ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง สามารถตรวจสอบข้อมูล Manulife ทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ manulife.com
บุคคลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน:
ประเทศไทย
ชัชฎดา เอกะหิตานนท์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย)
02 246 7650 (ต่อ 8615)
662 354 1006 (สายตรง)
พันธุ์วดี พินทุโยธิน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย)
02 246 7650 (ต่อ 8608)
[1] เมื่อพิจารณาจากผลผลิตมวลรวมในประเทศต่อหัวตามอำนาจซื้อ (PPP) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก, 2554
2 ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจโลกของ IMF, เมษายน 2557
Watcharee Kanyavorranan (Ao)
Senior PR Co-Ordinator
65/36 Chamnan Penjati Building 2 nd Floor
Rama 9 Rd., Huaykwang Bangkok 10310
Tel : 02-612-2081 # 119
Fax: 02-248-7968
Mobile : 081-543-1485
New report suggests married Thai couples add 7 to 11 years to retirement planning
Report recommends couples efficiently mobilise household wealth as a key strategy for meeting financial needs over a likely longer-than-expected retirement.
Bangkok – Manulife Asset Management today issued a report that finds many married couples in Asia, including in Thailand, are significantly underestimating the length of time they will spend in retirement and, as a result, are likely not accumulating sufficient retirement savings.
The report, entitled Live long and prosper? Retirement and longevity risk, is the fifth in Manulife Asset Management’s Aging Asia series. It provides retirement duration forecasts and assessments of longevity risk, the risk that a retiree will outlive his or her sources of income, for married couples in 10 Asian economies: China, Hong Kong, Indonesia, Japan, Malaysia, the Philippines, Singapore, South Korea, Thailand and Vietnam.
Michael Dommermuth, President, International Asset Management, Manulife Asset Management, explained: “We feel that marital status in particular is too often ignored in retirement planning. The vast majority of Thais continue to enter retirement as part of a married couple and thus should factor in the likelihood of one partner, usually the wife due to longer life expectancy for women, outliving the other. Not factoring in the potentially significantly longer life expectancy of a partner can increase the potential that they will outlive their retirement savings.”
Tor Indhavivadhana, CEO of Manulife Asset Management (Thailand), explained: “The report finds that married couples in Thailand face average joint retirement of 30.2 years, which represents a generally ‘higher’ degree of longevity risk relative to their peers across Asia. This is in part because Thais retire relatively early, as a large portion of private and public sector employees are subject to mandatory retirement at age 60.
“However, the level of longevity risk is in flux in many of the markets studied as we find a relatively high 66% correlation between a country or territory’s per-capita GDP and its average life expectancy[1]. Therefore, life expectancy and longevity risk could actually increase in Thailand going forward as the country is forecast to see strong economic growth and rising per capita incomes for many years to come[2].”
Dommermuth added:“It is important to realise that any given individual has a 50% chance of living longer than the average forecast period. Our research indicates that in Thailand the chances of outliving retirement savings can be substantially reduced if married couples either delay retirement or factor an additional 7 to 11 years into their financial planning.”
Policymakers in the region are already taking steps to reduce longevity risk for their citizens. Many governments have raised their official retirement ages and this avenue is open to Thailand as well. That being said, the Aging Asia research series has shown that responsibility for retirement income security is increasingly shifting to individuals and that effective deployment of household wealth would reduce the chances of outliving retirement savings by delivering the potential for returns in excess of bank deposit rates.
Indhavivadhana expanded on this: “As a financial service provider, Manulife Asset Management (Thailand) is doing its part to help mobilise household wealth and maximise returns potential.For example, we offer a variety of equity and fixed income pooled investment funds that give investors access to diversified portfolios of domestic or overseas securities.
“Given current volatility in Thai markets, we feel that investors should consider supplementing their domestic investments with exposure to foreign markets. Investors can choose funds which meet their individual risk tolerance levels and their investment goals, which may be achieving capital gains to maximize retirement savings or supplementing other sources of household income via the potential for regular dividend payouts.”
Manulife Asset Management’s Aging Asia series of reports and related resources can be accessed at: www.manulifeam.com/agingasia.
Notes to editors
The retirement duration figures quoted in this release and in the report, Live long and prosper? Retirement and longevity risk, are based on Manulife Asset Management’s Asia Retirement Duration Model (ARDM). ARDM produces a full lifecycle view of retirement duration from the initial stage as a married couple through the transition to a sole survivor. ARDM has three key inputs:
- Retirement age – official retirement ages remain relatively low across most of Asia even as life expectancy is increasing, extending the period of time individuals spend in retirement.
- Life expectancy – Asia is home to some of the longest lived populations in the world following rapid increases in life expectancy in the region over the past few decades. Longer life spans translate directly into extended retirement duration and hence contribute significantly to longevity risk.
- Marital status – Most couples in Asia enter retirement as part of a married couple, meaning that their retirement planning should be based on joint rather than single life expectancy as one partner – usually the wife – is likely to outlive the other, potentially by a significant margin.
About Manulife Asset Management (Thailand)
Manulife Asset Management (Thailand) Co., Ltd. (Manulife AM (Thailand)) is a subsidiary of Manulife Financial, a leading Canada-based financial services group. As a part of a global investment organization with fund analysts and investment professionals around the world and in 10 countries and territories throughout Asia, the company is fully supported by and interconnected with Manulife Asset Management’s global team. Manulife AM (Thailand) is one of only a few asset management companies in Thailand that has expertise in offshore fund management, which is a core strength.
About Manulife Asset Management
Manulife Asset Management is the global asset management arm of Manulife Financial, providing comprehensive asset management solutions for institutional investors and investment funds in key markets around the world. This investment expertise extends across a broad range of public and private asset classes, as well as asset allocation solutions. As at 31 March 2014, assets under management for Manulife Asset Management were US$269 billion. Manulife Asset Management’s public markets units have investment expertise across a broad range of asset classes including public equity and fixed income, and asset allocation strategies. Offices with full investment capabilities are located in the United States, Canada, the United Kingdom, Japan, Hong Kong, Singapore, Taiwan, Indonesia, Thailand, Vietnam, Malaysia, and the Philippines. In addition, Manulife Asset Management has a joint venture asset management business in China, Manulife TEDA. The public markets units of Manulife Asset Management also provide investment management services to affiliates' retail clients through product offerings of Manulife and John Hancock. John Hancock Asset Management and Declaration Management and Research are units of Manulife Asset Management. Additional information about Manulife Asset Management may be found at ManulifeAM.com.
About Manulife
Manulife is a leading Canada-based financial services group with principal operations in Asia, Canada and the United States. Clients look to Manulife for strong, reliable, trustworthy and forward-thinking solutions for their most significant financial decisions. Our international network of employees, agents and distribution partners offers financial protection and wealth management products and services to millions of clients. We also provide asset management services to institutional customers. Funds under management by Manulife and its subsidiaries were approximately US$574 billion as at 31 March 2014. Our group of companies operates as Manulife in Canada and Asia and primarily as John Hancock in the United States. Manulife Financial Corporation trades as ‘MFC’ on the TSX, NYSE and PSE, and under ‘945’ on the SEHK. Manulife can be found on the Internet at manulife.com.
Media contact:
Thailand |
|
Chutchada Ekahitanonda Manulife Asset Management (Thailand) 02 246 7650 (ext 8615) 662 354 1006 (direct) Panwadee Pintuyothin Manulife Asset Management (Thailand) 02 246 7650 (ext 8608) |
[1] Based on per-capita GDP at purchasing power parity (PPP); International Monetary Fund, World Health Organisation, 2011.
[2]IMF World Economic Database, April 2014.