- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Sunday, 21 June 2015 11:49
- Hits: 2688
SWIFT เปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินสำหรับอาเซียน โดยมีวิทยากรรับเชิญในงานสภาธุรกิจประเทศไทย
ในวาระครบรอบการดำเนินงาน 30 ปีในประเทศไทย SWIFT ขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะเพิ่มการลงทุนและระบบเชื่อมโยงในเอเชียแปซิฟิกให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
SWIFT เป็นผู้ให้บริการระบบสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก โดยมีสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกกว่า 10,800 แห่ง อีกทั้งสถาบันและองค์กรหลักทรัพย์ต่างๆในอีกกว่า 200 ประเทศและเขตแดน จะจัดงานสภาธุรกิจสวิฟต์ประเทศไทย 2558 ขึ้น ซึ่งถือเป็นงานสัมมนาที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
งานสภาธุรกิจนี้จะเชิญวิทยากรเฉพาะทางและผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมบริการด้านการเงิน รวมถึง SWIFT มากล่าวบรรยายโดยเน้นย้ำหัวข้อต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวโน้มด้านนวัตกรรมการชำระเงินจะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร แผนงานที่จะช่วยลดภาระต้นทุนในการดูแลการปฏิบัติงานของสมาชิกแต่ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพไปพร้อมๆกัน ข้อควรปฏิบัติ สภาพตลาดหุ้นทั่วโลกและในภูมิภาค แผนกลยุทธ์ของ SWIFT ในการรองรับองค์กรต่างๆด้านความต่อเนื่องและระบบการเชื่อมโยง การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และแผนงานของ SWIFT ในการเพิ่มการลงทุนในภูมิภาคนี้ด้วยระบบการชำระเงินแบบบูรณาการซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ทั้งลูกค้ารายบุคคล ภาคธุรกิจ และที่สำคัญที่สุดคือเศรษฐกิจของประเทศไทย
วิทยากรคนสำคัญ เอ็ดดี้ ฮาดแดด กรรมการผู้จัดการ SWIFT แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะกล่าวเปิดงานสภาธุรกิจ โดยกล่าวถึงความสำเร็จในการร่วมมือกันสถานบันการเงินในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องเหตุการณ์สำคัญและผลสำเร็จทั้งหลายของ SWIFT ในประเทศไทยและคาดการณ์การเติบโตของ SWIFT ในอนาคตในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนั้น ยังเน้นถึงแผนกลยุทธ์ในการส่งเสริมการบูรณาการทางการเงินอย่างมั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืนเพื่อรองรับการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน ซึ่งหากประชาคมนี้รวมกันเป็นประเทศเดียว จะมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก
นอกจากนั้น จะมีการจัดงานสรุปข้อมูลให้กับสื่อมวลชนในช่วงรับประทานอาหารกลางวันด้วย
วิทยากรรับเชิญที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เชิงลึกที่สำคัญด้านอุตสาหกรรมในงานสภาธุรกิจนี้ ได้แก่
- ดร. กิริฎา เภาพิจิตร นักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์อาวุโส จากธนาคารโลก
- ไมเคิล มูน หัวหน้าฝ่ายการชำระเงิน จากสวิฟต์เอเชียแปซิฟิกจาก
- ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ คณะกรรมการระบบการชำระเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย
- วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- แอนดรูว์ เบอร์ลิสัน ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริการและดูแลการปฏิบัติงาน จากสวิฟต์เอเชียแปซิฟิก
- เอ็มมานูเอล แดเนียล ประธาน The Asian Banker
- บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานบริหาร ธนาคารทหารไทย
- อเล็กซานเดร เคช หัวหน้าฝ่ายมาตรฐานและโครงสร้างพื้นฐานตลาดหลักทรัพย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก SWIFT
- ฟิลลิป ไดรคซ์ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายการตลาดและโครงการริเริ่ม จากสวิฟต์เอเชียแปซิฟิก
- บดินทร์ อูนากูล รองประธานบริหาร หัวหน้าสายงานบริการองค์กรและดูแลสายงานปฏิบัติการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- อุทุมพร วีรานุวัตติ์ หัวหน้าฝ่ายบริการหลักทรัพย์ HSBC จากธนาคาร HSBC ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสมาคมผู้ดูแลหลักทรัพย์
- โจน ลี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร จากสวิฟต์เอเชียแปซิฟิก
- เฮอมันต์ ชานดัค นักวิเคราะห์ทางเทคนิคฝ่ายบริการงานขาย จากสวิฟต์เอเชียแปซิฟิก
“งานสภาธุรกิจครั้งนี้เป็นหนทางหนึ่งที่ SWIFT จะนำกลุ่มสถาบันทางการเงินมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยถึงสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดนี้ และส่งเสริมการเติบโตอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยตามที่วางแผนไว้ว่าจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้” คุณชารอน โตห์ หัวหน้าเขตอาเซียนของ SWIFT กล่าว “เราได้ทำงานร่วมกับกลุ่มสถาบันทางการเงินในประเทศไทยมาหลายปี และหวังที่จะให้บริการระบบการชำระเงินและชำระหนี้ที่ได้มาตรฐานต่อไป เพื่อให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายของอาเซียนที่วางไว้ได้”
สภาธุรกิจสวิฟต์ประเทศไทย 2558 เป็นการจัดเวทีเฉพาะสำหรับตัวแทนจากสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไทย ตลอดจนบริษัทข้ามชาติ ผู้ควบคุมดูแล และโครงสร้างพื้นฐานของตลาดเพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพของตนเองในงานสัมมนาครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นโอกาสที่มีค่าอย่างยิ่งที่จะได้นำมาตรฐานที่สูงขึ้นไปปฏิบัติใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเงินของประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเวทีการเงินระดับโลกที่ใหญ่ขึ้น
เกี่ยวกับ SWIFT
SWIFT เป็นผู้ให้บริการระบบสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก โดยมีสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกกว่า 10,000 แห่ง อีกทั้งสถาบันและองค์กรหลักทรัพย์ต่างๆในอีกกว่า 212 ประเทศและเขตแดน ในปัจจุบัน SWIFT ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินที่ได้มาตรฐานในระบบอัตโนมัติได้อย่างปลอดภัยและไว้วางใจได้ ดังนั้นจึงเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน และขจัดการดำเนินงานที่ไร้ประสิทธิภาพออกไป นอกจากนั้น SWIFT ยังทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มสถาบันทางการเงินต่างๆ มาดำเนินงานร่วมกันปรับโครงสร้างของตลาด กำหนดมาตรฐาน และหารือประเด็นเรื่องผลประโยชน์ร่วมกัน
SWIFT ดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากว่า 30 ปี โดยเริ่มจากฮ่องกงและสิงคโปร์ สำนักงานภูมิภาค 3 แห่ง เปิดตัวขึ้นในทวีปเอเชียเมื่อปี 2548 รวมแล้วมีสำนักงานขายและบริการ 9 แห่ง รวมถึงศูนย์บริการลูกค้าที่ฮ่องกงและศูนย์บริการประจำองค์กรแห่งใหม่ที่กรุงกัวลากัมเปอร์ซึ่งเปิดเมื่อปี 2556
เชิญรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.swift.comหรือติดตามเราได้ที่ Twitter: @swiftcommunity และ LinkedIn: SWIFT