WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MPA นิด้า คาดแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยนโยบาย หลังแนวโน้มเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด

     ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คาดแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 2 หลังแนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวรับสัญญาณส่งออกขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว

       รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (MPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 เมษายน นี้ คาดว่าที่ประชุมจะตัดสินใจคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 เพื่อรักษาเครื่องมือทางการเงินในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจในครั้งต่อไป หลังจากเครื่องมือทางการเงินเป็นเครื่องมือเดียวในการประคองภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

     ขณะเดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ประเทศคู่ค้ามีการสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกของไทยที่มีสัดส่วนต่อ GDP มากถึงร้อยละ 72 และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดี ประกอบกับอัตราค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่าลงมาโดยเฉลี่ยมาอยู่ที่ 32.80 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และค่อนข้างมีเสถียรภาพ จึงเป็นอีกปัจจัยหนุนที่ช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยในปีนี้ให้เติบโตได้ถึง 9%

     นอกจากนี้ มองว่า การจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ยังเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยสนับสนุนภาคเอกชนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนได้ดีขึ้น จึงถือเป็นมุมมองที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้

    “เราเชื่อว่า แบงก์ชาติจะตัดสินใจในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 2.0 เนื่องจากเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางการคลังยังมีจำกัดเพราะรัฐบาลปัจจุบันเป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ และแบงก์ชาติเองก็ต้องคำนึงถึงความต่างของระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศและภายนอกประเทศ ที่มีผลต่อการไหลออกของเงินทุน เมื่อมาปัจจัยข้างต้นมามารวมกับข้อมูลด้านตัวเลขการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีในปีนี้นั้น ทำให้แบงก์ชาติจะเลือกคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เพื่อพยุงเศรษฐกิจไทยให้มีเสถียรภาพมากที่สุด” ดร.มนตรี กล่าว

เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวหลักสูตร MPA สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดย บริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิภพ ฆ้องวง (ท๊อป) โทร. 08-1929-8864, 02-612-2081 ต่อ 127 Email : [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!