- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Sunday, 15 February 2015 16:48
- Hits: 2779
ไทยเสี่ยงติด'กับดักรายได้' คนมีงาน-เงินแต่ใช้น้อยสมหมายกอดเก้าอี้แน่น
ไทยโพสต์ : คลองเตย *'ทนง'เตือนไทยเสี่ยงเจอ'กับดักรายได้'คนมีงานทำ มีเงิน แต่ใช้จ่ายน้อย ดึงเศรษฐกิจโตต่ำ แนะ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25-0.50% ชี้อย่าฝืนกระแสโลก มองจีดีพีโตแค่ 3-3.5% ด้าน "สมหมาย" ลั่นนั่งเก้าอี้ขุนคลังต่อ รับมีคนจ้องเลื่อยขา หลังเดินหน้าแฉทุจริต
นายทนง พิทยะ อดีต รมว.การคลัง เปิดเผยว่า รัฐ บาลควรแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจในชนบทที่พึ่งพิงรายได้จากภาคการเกษตรที่อ้างอิงการเติบโตจากราคาสินค้าเกษตร ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวมีปัญหามานานหลายปี เพราะหลายรัฐ บาลอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร เมื่อรัฐบาลชุดนี้หยุดการอุด หนุน แม้ชาวบ้านยังอยู่ได้ แต่ไม่ มีเงินสะพัด ทำให้ฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม สวนทางกับเศรษฐกิจในเมืองที่โตได้จากการพึ่งพาอุตสาหกรรมและการอัดฉีดเงินของรัฐ
"ต้องวางพื้นฐานแก้ไขปัญหาระยะยาว ไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะเจอปัญหากับดักรายได้ของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง คือ เป็นประเทศที่ทุกคนมีงานทำ การว่างงานน้อย แต่เศรษฐกิจเติบโตน้อย เพราะคนใช้จ่ายน้อย โดยมองว่าควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในชนบท ไม่ใช่เศรษฐกิจในเมืองที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเป็นหลัก" นายทนงกล่าว
นายทนงกล่าวว่า ในการ ประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ครั้งหน้าในเดือน มี.ค. กนง.ควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% และ หากอัตราเงินเฟ้อไม่ดีขึ้น ควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 1.5% ถือ ว่าอยู่ในระดับที่ไทยพร้อมแข่ง ขันกับประเทศอื่น เนื่องจากปัจ จุบันรัฐบาลและธนาคารกลางหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สห ภาพยุโรป พยายามลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบเพื่อกระ ตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มการลงทุน และช่วยเหลือภาคการส่งออก หลีกหนีภาวะเงินฝืดของโลก ดังนั้น ไทยจึงควรดำเนินนโยบายดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับกระแสโลก แก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่ากระทบส่งออก รวมทั้งป้องกันปัญหาเงินร้อนไหลเข้าไทยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยผันผวนด้วย
สำหรับ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไทย ปี 2558 จะอยู่ที่ 3-3.5% ถือว่าเติบโตสูงในภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเงิน ฝืด แต่ต่ำกว่าที่รัฐบาลประเมินไว้ว่าจะโต 4-4.5%
ด้าน นายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง กล่าวว่า ไม่ถอดใจจนต้องลาออกจากตำแหน่ง รมว.การคลัง ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีคนคิดไม่ดีกับตน เนื่องจากที่ผ่านมาได้ทำงานร่วมกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ทำให้มีคนที่ไม่พอใจการทำงาน และต้องการทำให้ออกจากตำแหน่ง
"ที่ผ่านมาผมบอกกับท่านนายกรัฐมนตรีตรงไปตรงมาว่า ตรงไหนมีการทุจริตอย่างรุนแรง และต้องให้มีการเปลี่ยนตัวคนที่ทำไม่ดีออกไป ซึ่งรู้ว่าทำให้หลายคนไม่พอใจ แต่ผมไม่คิดจะลาออก และยังมีเรื่องทุจริตที่ยังต้องแก้ไขร่วมกับรัฐบาลอีกมาก" นายสมหมายกล่าว
สำหรับ การทำงานของรัฐบาลที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา คสช. ไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะทุกฝ่ายทำงานเพื่อประเทศ.
ทนง แนะกดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% ไม่ฝืนทิศทางทั่วโลก
นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง แนะนำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกับดอกเบี้ยในประเทศอื่นๆทั่วโลกที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ
"แนะนำว่า กนง.ควรจะมีการลดดอกเบี้ย อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ใน trend เดียวกันกับประเทศอื่นๆ ไม่ควรฝืน trend ของโลก หากเราฝืนจะส่งผลกระทบทั้งในด้านของความผันผวนของค่าเงิน การไหลเข้าออกของเงิน รวมไปถึงการส่งออก"นายทนง กล่าว
ทั้งนี้ นายทนง มองว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ราว 3-3.5% ได้รับแรงผลักดันหลักจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ แต่เชื่อว่าการเบิกจ่ายงบประมาณในปีนี้คงจะทำได้ราว 80% เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบ และมีขั้นตอนต่างๆ ค่อนข้างมาก ดังนั้น เศรษฐกิจปีนี้คงไม่เติบโตถึง 4% ตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ขณะที่การส่งออกน่าจะยังไม่ดีนัก เพราะทั่วโลกยังอยู่ในภาวะของเงินฝืด ส่วนของราคาพืชผลทางการเกษตรยังตกต่ำ ไม่ได้เป็นผลมาจากการลดลงตามฤดูกาล แต่มาจากการที่ภาครัฐหยุดอุดหนุน
"ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ มาจากการลงทุนของภาครัฐ ถ้าหากทำตามแผนได้หมดทุกโครงการ 100% น่าจะทำให้เศรษฐกิจโตได้มากกว่า 4% แต่ผมมองว่าโครงการภาครัฐจะมีความล่าช้า 10-20% และในมุมของจีดีพีปีนี้จะโตได้เพียง 3-3.5%"นายทนง กล่าว
นายทนง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยมาจากการเติบโต 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นกลุ่มในเมืองเป็นหลักที่พบว่ามีการเติบโตที่ดี สวนทางกับอีกกลุ่ม คือ กลุ่มกลุ่มรากหญ้าหรือชนบท โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมเกษตรยังชะลอตามราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจในชนบทที่พึ่งพิงรายได้จากภาคการเกษตรที่อ้างอิงการเติบโตจากราคาสินค้าเกษตร เพราะโครงสร้างดังกล่าวมีปัญหามานานหลายปี จากการที่หลายรัฐบาลอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร เมื่อรัฐบาลนี้ไม่อุดหนุน แม้ว่าชาวบ้านจะพออยู่ได้แต่ก็ไม่มีเงินสะพัด จึงฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมลง สวนทางกับเศรษฐกิจในเมืองที่เติบโตได้จากการพึ่งพาอุตสาหกรรมและการอัดฉีดของถภาครัฐ
“ต้องวางพื้นฐานแก้ไขปัญหาระยะยาว ไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะเจอปัญหากับดักรายได้ของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง คือเป็นประเทศที่ทุกคนมีงานทำ การว่างงานน้อย แต่เศรษฐกิจเติบโตน้อย คือในประเทศปกติทุกคนมีงานทำเศรษฐกิจจะโตได้ถึง 8% แต่บ้านเราทุกคนมีงานทำแล้วโตได้เพียง 1-3% ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในชนบท ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจในเมืองที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเป็นหลัก"นายทนง กล่าว