- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Saturday, 10 January 2015 12:52
- Hits: 3980
ยูบีเอส เผยรายงาน คาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2015
ธนาคารยูบีเอส ได้เผยแพร่ข้อมูลจากรายงานในหัวข้อ Thailand by the Numbers โดย มร.โดย เอ็ดเวิร์ด ทีเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารยูบีเอส อินเวสท์เมนท์ แบงก์ ซึ่งครอบคลุมเศรษฐกิจภายในประเทศของไทยและการคาดการณ์ต่างๆ ในส่วนของแนวโน้มความต้องการภายในประเทศในช่วงสองไตรมาสสุดท้าย ปี 2015
ข้อมูลรายงานโดยสรุป:
· ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงพลิกฟื้น เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศแม้ว่าข้อมูลความถี่สูงและพาดหัวการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงจะไม่น่าพึงพอใจมากนัก
· ข้อจำกัดของการพลิกฟื้น บัญชีเดินสะพัดขาดดุล สอดคล้องกับการที่กับอุปสงค์ซึ่งถูกกดทับไว้ได้รับการตอบรับ ในขณะเดียวกันกับที่อุปทานมีมากเกินไป
· อะไรจะช่วยให้การพลิกฟื้นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง? แนวโน้มการฟื้นตัวของอัตราการเติบโตในประเทศของไทยอาจขยายออกไปได้อีกหากวงจรสินเชื่อในประเทศกระเตื้องขึ้น หรือหากรัฐบาลกู้เงินและใช้จ่ายในนามของภาคเอกชน หรือหากรัฐบาลอุดหนุนสินเชื่อภาคเอกชนแล้วเห็นผล
· แนวโน้มการพลิกฟื้นจะชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงที่ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สหรัฐกับบาทไทยจะเพิ่มขึ้น แนวโน้มการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศที่บันทึกไว้ในสองไตรมาสสุดท้ายบางส่วนจะถูกชดเชยด้วยปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นพอประมาณ อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2015 ก่อนที่การใช้จ่ายภาครัฐจะเริ่มส่งผลในปี 2016
· เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตอย่างชัดเจนอีกครั้ง มีการขยายตัวถึง 1.1% ต่อไตรมาส ขึ้นอยู่กับการปรับตัวตามฤดูกาลทั้งในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ในกรณีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง ตัวชี้วัดของรอบการส่งออกชี้ให้เห็นโอกาสทางการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น
รูปที่ 4: GDP ที่แท้จริง – ระยะยาว
อัตราการเติบโตของ GDP ที่แท้จริง (% ต่อปี)
แหล่งข้อมูล: ซีอีไอซี และยูบีเอส
· การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในภาคเอกชนต่ำกว่าเทรนด์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของข้อจำกัดด้านรายได้มากกว่าความเชื่อมั่น
· การลงทุนถูกกดดันจากแนวโน้มการส่งออกที่ชะลอตัวและสถานการณ์ทางการเมืองที่ยากลำบาก ความเชื่อมั่นหลังการทำรัฐประหารกระเตื้องขึ้นและอุปสรรคขัดขวางการอนุมัติการลงทุนถูกขจัดออกไปอย่างรวดเร็ว
· เราคาดว่า อัตราการเติบโตของการส่งออกในปี 2015 จะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง สืบเนื่องมากจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น รวมถึงสกุลเงินที่อ่อนลง
· จุดอ่อนในดัชนีการผลิตรายเดือนมีมากเกินไป หลังจากภาวะถดถอยเมื่อเร็วๆ นี้ มีความเป็นไปได้สูงขึ้นว่ายอดขายรถยนต์จะคงที่ นอกจากนี้ยังมั่นใจได้ว่าสินค้าคงคลังในภาคอุตสาหกรรมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
· เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่รายได้จากการส่งออกจะเพิ่มมากขึ้นและอุปสงค์ที่ถูกกดทับไว้จะผลักดันให้เกิดรายได้ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างในช่วงปลายปี 2014 หรือต้นในปี 2015 หลังจากที่ถูกสั่งเพิกถอนโดยศาล แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งของประเทศไทยถูกนำกลับมาในฐานะข้อเสนอที่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมภายใต้รัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากทหาร
· กิจกรรมภาคบริการจะได้ประโยชน์จากรอบการเติบโตของภาคการส่งออกที่กระเตื้องขึ้นผ่านโลจิสติกส์ การจัดหาเงินทุน และอื่นๆ การเติบโตของการท่องเที่ยวจีนบางส่วนมีการชะลอตัวเพื่อตอบสนองต่อการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้นในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดน่าจะถูกกลบด้วยน้ำหนักของอุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงโครงสร้างในประเทศจีน
· ตลาดแรงงานของไทยมีการแข่งขันเข้มข้นแม้การเติบโตในบางส่วนจะต่ำสืบเนื่องมาจากความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ แม้ว่ากำลังการผลิตจะหดหายไปเนื่องจากอุทกภัย นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เห็นได้ชัดว่าอำนาจในการกำหนดราคาไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในปีที่ผ่านมา
· นโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายของธนาคารแห่งประเทศไทยจะช่วยให้การเติบโตของสินเชื่อที่กำลังชะลอตัวกลับไปดีขึ้นโดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์จากการขยายตัวของสินเชื่อจะลดลง