- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Wednesday, 17 May 2023 15:41
- Hits: 2077
fintips by ttb ชวนพ่อแม่ยุคใหม่ออมเงินด้วย 6 วิธีเพื่ออนาคตของลูก
สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ การสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ดี เปรียบเสมือนการมีกุญแจสำคัญเพื่อไขไปสู่อนาคตที่สดใสของลูก การมีทุนทรัพย์ที่เพียงพอสามารถช่วยเพิ่มโอกาสต่างๆ ให้แก่ลูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเก็บออมเงินของพ่อแม่ยุคใหม่แต่ละคน อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งการออมเงินเพื่อเป็นต้นทุนในการศึกษา การออมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือการออมเงินเพื่อเป็นทุนสำหรับสร้างตัวในวันที่ลูกเติบโต
วันนี้ fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนพ่อแม่ยุคใหม่มารู้จักกับ 6 วิธีออมเงิน เพื่อช่วยสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ดีเพื่ออนาคตของลูกตั้งแต่วันนี้กัน
1. ตั้งเป้าหมาย และออมก่อนใช้ จัดการเงินออมอย่างชาญฉลาด
การออมที่ดีควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทำได้จริง โดยการตั้งเป้าหมายควรมีกรอบกำหนดทั้งในแง่ของระยะเวลาและจำนวนเงินมากำกับ ว่าต้องการออมเงินจำนวนเท่าไรและภายในระยะเวลาเท่าไร ซึ่งสามารถตั้งเป้าหมายได้ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี นอกจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง โดยคำนวณจากรายรับและรายจ่าย หากหักเงินออมก่อนใช้ ต้องมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพการเงินภายในบ้าน ซึ่งจะทำให้สามารถออมได้อย่างสม่ำเสมอ และไม่ล้มเลิกกลางคัน
2. ออมผ่านบัญชีเงินฝากกับธนาคาร
การออมเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากประจำเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะบัญชีเงินฝากมีหลายประเภทให้เลือกได้ตามเป้าหมายการออมเงิน เช่น บัญชีเงินฝากแบบสะสมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ และบัญชีเงินฝากแบบขั้นบันได เป็นต้น ดังนั้น ควรวางแผนและกำหนดเป้าหมายการออมให้เหมาะสมก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีเงินฝาก เช่น บัญชีเงินฝากประจำ เหมาะสำหรับการออมเงินไว้เป็นค่าเทอมลูก เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีสะสมทรัพย์และยังสร้างวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน โดยระยะเวลาครบกำหนดที่สามารถถอนคือ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี การฝึกวางแผนการออมเงินแบบนี้ จะช่วยให้คุณรับมือค่าใช้จ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือหากต้องการเก็บสะสมยาวขึ้นอีกหน่อย บัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุก 6 เดือนก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ
3. ออมเงินผ่านประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
การออมเงินด้วยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นตัวเลือกที่เหมาะกับการออมระยะยาว โดยพ่อแม่อาจเริ่มออมตั้งแต่ลูกอยู่ในช่วงชั้นอนุบาล เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเตรียมพร้อมสำหรับช่วงชีวิตในวัยที่โตขึ้น ข้อดีของการออมด้วยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ รับประกันผลตอบแทนที่แน่นอน และไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงใดๆ เมื่อครบกำหนดจะได้รับเงินก้อนคืนทันทีและช่วยสร้างวินัยในการออม รวมทั้งยังมั่นใจได้ว่าลูกจะมีเงินก้อนสำหรับรับมือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในอนาคต หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
4. ออมด้วยหุ้นกู้
หุ้นกู้เป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากบริษัทที่เป็นผู้ออกหุ้นกู้ ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อที่เป็นผู้ถือหุ้น มีลักษณะคล้ายเงินปันผลตามกำหนด ซึ่งหุ้นกู้ส่วนใหญ่มีอายุ 3-10 ปี ทำให้เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวโดยรับประกันผลตอบแทนทุกเดือน ทำให้หุ้นกู้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการออมที่น่าสนใจ เพราะความเสี่ยงต่ำและยังได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอเพื่อสะสมไว้เป็นเงินออมให้ลูก
5. ออมด้วยกองทุนรวม
กองทุนรวมเหมาะสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการลงทุน แต่อาจไม่มีเวลามากพอที่จะลงทุนเอง ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวม โดยจะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลเงินของผู้ลงทุนให้ เมื่อพ่อแม่เลือกออมด้วยกองทุนรวม สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกกองทุนคือ ระดับความเสี่ยง เพราะกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำสามารถช่วยลดโอกาสในการสูญเสียเงิน โดยที่ยังได้รับผลตอบแทน ในทางกลับกัน กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงกว่า ดังนั้น ควรเลือกกองทุนรวมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการออม และระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
6. เปิดบัญชีคู่เพื่อลูก
การเปิดบัญชีร่วมกับลูก ทำให้พ่อแม่มีเงินออมสะสมจากการฝากเงินเข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจได้ว่าเมื่อโตขึ้นจะมีสิทธิ์ได้รับเงินที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้
เหล่านี้เป็นการออมเงินเพื่ออนาคตของลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะชีวิตมีเรื่องไม่แน่นอนเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดีๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-hm55
หรืออ่านบทความเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-parentssave
A5698