หัวข้อ
|
การประชุมครั้งก่อน
(17 ก.ย. 2014)
|
การประชุมครั้งนี้
(5 พ.ย. 2014)
|
เศรษฐกิจโลก
|
ภาพรวม: “ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดเล็กน้อย”
สหรัฐฯ: “ฟื้นตัวได้ตามคาด”
ยูโรโซนและญี่ปุ่น: “การฟื้นตัวยังอ่อนแอ แต่น่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง”
เอเชีย: “ยังขยายตัวได้ใกล้เคียงเดิม”
|
ภาพรวม: “ขยายตัวต่ำกว่าคาดเล็กน้อยและมีความแตกต่างระหว่างภูมิภาคมากขึ้น”
สหรัฐฯ: “ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง”
ยูโรโซนและญี่ปุ่น: “การฟื้นตัวยังคงอ่อนแอและมีความเสี่ยงที่อัตราการขยายตัวจะชะลอลงอีก”
จีนและเอเชีย: “มีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อย”
|
เศรษฐกิจไทย
|
ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายในประเทศของครัวเรือน ธุรกิจ และภาครัฐ เริ่มฟื้นตัวและคาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะต่อไป แต่ข้อจำกัดด้านการผลิตและปัญหาราคาสินค้าเกษตรมีผลต่อการส่งออกสินค้า ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ก่อนปรับเข้าสู่ภาวะปกติ
|
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวน้อยกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ดีคาดว่าการส่งออกจะกระเตื้องขึ้นในปีหน้าตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มสูงกว่าปีนี้ รวมทั้งเศรษฐกิจควรได้รับแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนทยอยตามมา
|
สถานการณ์เงินเฟ้อ
|
“อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่มีเสถียรภาพ”
|
“อัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและราคาสินค้าเกษตร และแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ”
|
ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม
|
-
|
สภาวะเศรษฐกิจโลก และความรวดเร็วของการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐ
|
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
|
มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00%
(กรรมการ 2 ท่าน ลาประชุม)
|
มติ 6:1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00%
(1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%)
|