- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Friday, 24 October 2014 21:54
- Hits: 4009
กสิกรไทยแนะปรับแผนบุกจีนศก.โตไม่สวยจับตาธุรกิจขายผ่านอีคอมเมิร์สมาแรง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะ ธุรกิจไทยต้องปรับกลยุทธ์การทำการตลาดในจีน สินค้าการเกษตรมีการแข่งขันสูง ส่งผลส่งคารมตัดราคาสินค้า ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง ขายได้น้อย ผลจากการชะลอตัวของภาคการผลิตและการลงทุน ผู้ประกอบการไทยต้องเน้นขายกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลางและใหญ่ ชี้ธุรกิจอีคอมเมิร์สในจีนกำลังมาแรง
รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแรงลงท่ามกลางสภาวะอุปทานคงค้างที่มีรายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2557 เติบโตร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.4 ในครึ่งปีแรก และเป็นการเติบโตรายไตรมาสที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ปี โดยเศรษฐกิจมีแรงส่งจากการเติบโตของภาคการบริการและการส่งออก ในขณะที่การบริโภคชะลอลงเล็กน้อยและการลงทุนอ่อนแอลงค่อนข้างมาก
ทิศทางดังกล่าวส่งผลให้ตลอดช่วง 3 ไตรมาสของปี 2557 เศรษฐกิจจีนเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.4 (YoY) ซึ่งสะท้อนนัยว่า หากจะผลักดันให้การเติบโตเป็นไปตามเป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ร้อยละ 7.5 นั้น เศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายจะต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.6 อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ ผู้นำของจีนได้มีการส่งสัญญาณที่จะเดินหน้าแนวทางการปฏิรูป และยอมรับได้หากการเติบโตทางเศรษฐกิจจะคลาดเคลื่อนไปจากเป้าหมายบ้าง
สำหรับ ประเด็นที่น่าสนใจท่ามกลางการปฏิรูปเศรษฐกิจนอกเหนือจากตัวเลขการเติบโตของ GDP ในภาพรวม หากมองให้ลึกลงมาถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สิ่งที่ปรากฏชัดเจนคือ ภาคบริการเริ่มมีน้ำหนักความสำคัญในโครงสร้างของ GDP เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 46.7 ของ GDP ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 7.9 (YoY) ในไตรมาส 3/2557 เข้าใกล้เป้าหมายร้อยละ 47 ของจีดีพีในปี 2558 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 (จากร้อยละ 43.4 ในปี 2552) นอกจากนี้ ปัญหาอุปสงค์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแรงลงท่ามกลางสภาวะอุปทานคงค้างที่มีจำนวนมาก
นับว่า เป็นแรงฉุดรั้งที่สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้ โดยมีผลทำให้ภาคการลงทุนมีแรงบวกต่อการเติบโตของจีดีพี น้อยลงมาเหลือเพียงร้อยละ 3.0 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลบวกต่อการเติบโตของจีดีพีถึงร้อยละ 4.3 ทั้งนี้ หากไม่รวมผลของภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างจะพบว่า สาขาเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉลี่ยยังขยายตัวเฉลี่ยใกล้เคียงกับปี 2555-2556 นั่นหมายความว่า กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในสาขาอื่นยังมีแนวโน้มเติบโตได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้เศรษฐกิจจีนน่าจะได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดเล็ก และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างเฉพาะเจาะจงตามสถานการณ์และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างเฉพาะเจาะจงตามสถานการณ์และความจำเป็น เพื่อประคองภาคธุรกิจ ตลอดจนแรงส่งจากการผ่อนคลายกฎระเบียบในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่จะช่วยผลักดันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกไปยังตลาดหลักของจีนทำให้คาดว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 อาจเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.4 และหนุนให้ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปี 2557 รักษาระดับอัตราการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 7.4
จากทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง บนก้าวย่างของการไปสู่เป้าหมายตามแผนปฏิรูป ธุรกิจไทยที่มีการค้าขายกับจีนอาจต้องหันมาพิจารณาปรับกลยุทธ์การทำการตลาดในจีน โดยสินค้าในกลุ่มโภคภัณฑ์เกษตร แม้จีนยังคงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ แต่ด้วยภาวะอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศเพื่อนบ้านเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงที่ผ่านมา แรงกดดันด้านราคาจึงน่าที่จะยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังปีข้างหน้า ในขณะที่สินค้าปัจจัยการผลิตขั้นกลางอาจเผชิญข้อจำกัดในการเติบโต ตามทิศทางการชะลอตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุนของจีน
การปรับตัวของธุรกิจไทยอาจต้องเบนความสนใจมาที่ตลาดการบริโภคของจีนมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นทิศทางที่สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจจีน ที่ตลาดผู้บริโภคระดับรายได้ปานกลางขึ้นไปจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และสอดคล้องกับหนึ่งในเป้าหมายของแนวทางการปฏิรูปที่จะเพิ่มบทบาทของภาคการบริโภคในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ กระแสธุรกิจ E-Commerce เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตไม่หยุดยั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ล่าสุดตลอด 3 ไตรมาสของปี 2557 การค้าปลีกผ่านช่องทางออนไลน์มีมูลค่า 1.8 ล้านล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.6 ของมูลค่ายอดค้าปลีกของจีน โดยขยายตัวถึงร้อยละ 49.9 (YoY) ซึ่งช่องทางดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการบริโภคได้ในทุกพื้นที่ของจีนที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และกลุ่มคนดังกล่าวก็ล้วนเป็นชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่ธุรกิจไทยในการเร่งผลักดันสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าสู่ประเทศจีน ในภาวะที่เศรษฐกิจในภาพรวมชะลอตัว และสินค้าหลักของไทยล้วนอยู่ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของจีน