- Details
- Category: บทความการเงิน
- Created: Wednesday, 15 October 2014 23:25
- Hits: 3962
TMB Analytics ประเมินการผลิตบางส่วนมีหวังเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้าย
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ภาคการผลิตทยอยระบายสต๊อกที่คงค้างในระดับสูง ประเมินการผลิตบางส่วนมีหวังเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้าย คาดกลางปีหน้าจะกลับเข้าสู่ระดับปกติ
ภาคการผลิตเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวนับตั้งแต่ปี 2556 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทำให้ยอดขายลดลง และระดับ สต๊อกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ระดับสต๊อกที่มากขึ้นในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจชะลอตัว ถือเป็นข้อกังวลของผู้ผลิต เพราะหมายถึง ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะตามมา
ศูนย์วิเคราะห์ฯ ทำการศึกษาระดับสต๊อกต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม พบว่า ภาพรวมสัดส่วนสต๊อกของสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา สาเหตุหลักมาจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ผลิตมีสต๊อกมากขึ้น และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสินค้า พบว่ากลุ่มสินค้าที่มีอัตราเร่งสัดส่วนสต๊อกมากที่สุด คือ กลุ่มสินค้าคงทน (เช่น รถยนต์นั่ง, รถมอเตอร์ไซค์, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน) ซึ่งมีระดับการสะสมสต๊อกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เร่งผลิตเพื่อตอบสนองดีมานด์จากโครงการรถคันแรก ซึ่งภายหลังประสบปัญหาลูกค้าทิ้งใบจองจำนวนกว่าหนึ่งแสนใบ ทำให้ระดับสต๊อกถีบตัวสูงขึ้น ในขณะที่สินค้าไม่คงทน (เช่น อาหาร, เครื่องดื่ม, เครื่องแต่งกาย) สินค้าทุนและเทคโนโลยี (เช่น รถยนต์เชิงพาณิชย์, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) พบว่าระดับสัดส่วนสต๊อกต่อการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเช่นเดียวกันกับกลุ่มสินค้าคงทน เนื่องจากผู้ผลิตได้ใช้ความพยายามในการบริหารและสมดุลสต็อกกับการผลิตอยู่ตลอด ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าวัตถุดิบ (เช่น ปิโตรเลียม, เคมีภัณฑ์, สิ่งทอ, เหล็ก) เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาสต็อกสะสมน้อยมาก เนื่องจากผู้ผลิตมีการบริหารจัดการระดับสต๊อกให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อของผู้ผลิตที่นำไปผลิตอีกทอดหนึ่งอยู่แล้ว
ผลการศึกษายังพบอีกว่า ปัจจุบันผู้ผลิตได้ใช้ความพยายามลดสต๊อกลง ซึ่งจะเห็นได้จากระดับการสะสมสต๊อกที่ไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 จากนั้นค่อยๆ ปรับตัวลดลงตามลำดับ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการลดกำลังผลิต และเร่งระบายสต๊อกเก่าออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 60.5 ต่ำกว่าระดับเฉลี่ยร้อยละ 64.4 ในปีก่อน
ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่า กลุ่มสินค้าไม่คงทนกำลังจะฟื้นตัว จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้น และเข้าสู่ฤดูกาลการท่องเที่ยว กอปรกับมาตรการช่วยเหลือชาวนารายได้น้อยผ่านวงเงินอนุมัติกว่า 4 หมื่นล้านบาทจะช่วยให้การบริโภคในสินค้ากลุ่มนี้ฟื้นตัวได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนกลุ่มสินค้าทุนและเทคโนโลยี คาดว่าสต๊อกจะลดลงสู่ระดับปกติ โดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ผนวกกับมาตรการเร่งรัดกระตุ้นการเบิกจ่ายงบลงทุนของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่ออกไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้กลุ่มสินค้าทุนและเทคโนโลยี เช่น รถยนต์เชิงพาณิชย์ เริ่มฟื้นตัวได้นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหน้าเป็นต้นไป ในขณะที่ กลุ่มที่คาดว่าจะฟื้นตัวช้าที่สุด คือ กลุ่มสินค้าคงทน เนื่องจากมีสัดส่วนสต๊อกต่อการผลิตอยู่ในระดับสูง แม้จะมีระบายสต๊อกอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่คาดว่าการลดระดับสต๊อกอาจต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้า จึงจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกครั้งตามการฟื้นตัวของตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ดังนั้น หากประเมินจากทิศทางการฟื้นตัวของสินค้าแต่ละกลุ่มนี้ประกอบเข้าด้วยกัน ทำให้คาดหวังได้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตโดยรวมน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ภาคการผลิตทยอยระบายสต๊อกที่คงค้างในระดับสูง ประเมินการผลิตบางส่วนมีหวังเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้าย คาดกลางปีหน้าจะกลับเข้าสู่ระดับปกติ
ภาคการผลิตเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวนับตั้งแต่ปี 2556 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทำให้ยอดขายลดลง และระดับ สต๊อกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ระดับสต๊อกที่มากขึ้นในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจชะลอตัว ถือเป็นข้อกังวลของผู้ผลิต เพราะหมายถึง ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะตามมา
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และคำนวณโดย TMB Analytics
ดัชนีสัดส่วนสินค้าคงคลังต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
ศูนย์วิเคราะห์ฯ ทำการศึกษาระดับสต๊อกต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม พบว่า ภาพรวมสัดส่วนสต๊อกของสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา สาเหตุหลักมาจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ผลิตมีสต๊อกมากขึ้น และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสินค้า พบว่ากลุ่มสินค้าที่มีอัตราเร่งสัดส่วนสต๊อกมากที่สุด คือ กลุ่มสินค้าคงทน (เช่น รถยนต์นั่ง, รถมอเตอร์ไซค์, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน) ซึ่งมีระดับการสะสมสต๊อกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เร่งผลิตเพื่อตอบสนองดีมานด์จากโครงการรถคันแรก ซึ่งภายหลังประสบปัญหาลูกค้าทิ้งใบจองจำนวนกว่าหนึ่งแสนใบ ทำให้ระดับสต๊อกถีบตัวสูงขึ้น ในขณะที่สินค้าไม่คงทน (เช่น อาหาร, เครื่องดื่ม, เครื่องแต่งกาย) สินค้าทุนและเทคโนโลยี (เช่น รถยนต์เชิงพาณิชย์, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) พบว่าระดับสัดส่วนสต๊อกต่อการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเช่นเดียวกันกับกลุ่มสินค้าคงทน เนื่องจากผู้ผลิตได้ใช้ความพยายามในการบริหารและสมดุลสต็อกกับการผลิตอยู่ตลอด ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าวัตถุดิบ (เช่น ปิโตรเลียม, เคมีภัณฑ์, สิ่งทอ, เหล็ก) เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาสต็อกสะสมน้อยมาก เนื่องจากผู้ผลิตมีการบริหารจัดการระดับสต๊อกให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อของผู้ผลิตที่นำไปผลิตอีกทอดหนึ่งอยู่แล้ว
ผลการศึกษายังพบอีกว่า ปัจจุบันผู้ผลิตได้ใช้ความพยายามลดสต๊อกลง ซึ่งจะเห็นได้จากระดับการสะสมสต๊อกที่ไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 จากนั้นค่อยๆ ปรับตัวลดลงตามลำดับ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการลดกำลังผลิต และเร่งระบายสต๊อกเก่าออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 60.5 ต่ำกว่าระดับเฉลี่ยร้อยละ 64.4 ในปีก่อน
ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่า กลุ่มสินค้าไม่คงทนกำลังจะฟื้นตัว จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้น และเข้าสู่ฤดูกาลการท่องเที่ยว กอปรกับมาตรการช่วยเหลือชาวนารายได้น้อยผ่านวงเงินอนุมัติกว่า 4 หมื่นล้านบาทจะช่วยให้การบริโภคในสินค้ากลุ่มนี้ฟื้นตัวได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนกลุ่มสินค้าทุนและเทคโนโลยี คาดว่าสต๊อกจะลดลงสู่ระดับปกติ โดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ผนวกกับมาตรการเร่งรัดกระตุ้นการเบิกจ่ายงบลงทุนของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่ออกไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้กลุ่มสินค้าทุนและเทคโนโลยี เช่น รถยนต์เชิงพาณิชย์ เริ่มฟื้นตัวได้นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหน้าเป็นต้นไป ในขณะที่ กลุ่มที่คาดว่าจะฟื้นตัวช้าที่สุด คือ กลุ่มสินค้าคงทน เนื่องจากมีสัดส่วนสต๊อกต่อการผลิตอยู่ในระดับสูง แม้จะมีระบายสต๊อกอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่คาดว่าการลดระดับสต๊อกอาจต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้า จึงจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกครั้งตามการฟื้นตัวของตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ดังนั้น หากประเมินจากทิศทางการฟื้นตัวของสินค้าแต่ละกลุ่มนี้ประกอบเข้าด้วยกัน ทำให้คาดหวังได้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตโดยรวมน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558