WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลสำรวจแมนูไลฟ์เผย นักลงทุนเอเชียระบุ'เงินบำนาญฉันจะไม่พอใช้'

  • นักลงทุนเกือบ 9 ใน 10 ในฮ่องกงและญี่ปุ่นไม่เชื่อมั่นบำนาญภาคบังคับ
    • เมื่อขาดความเชื่อมั่น จึงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบบ
    • นักลงทุนเอเชียเพียง 1 ใน 5 ซื้อแผนเกษียณภาคสมัครใจ
    • เอเชียเป็นแหล่งนักลงทุนประเภท “บริหารด้วยตัวเอง” นักลงทุนส่วนใหญ่ขาดคำปรึกษาจากมืออาชีพ

     ผลสำรวจใหม่จากแมนูไลฟ์ชี้ว่า นักลงทุนเอเชียไม่เชื่อว่า เงินบำนาญภาคบังคับจะพอใช้หลังเกษียณ และต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบบำนาญ[1]

      แม้ว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสิ่งที่คาดว่าจะเป็นแหล่งรายได้หนึ่งในสามลำดับแรกภายหลังเกษียณ แต่เมื่อสอบถามนักลงทุนถึงความเชื่อมั่นว่าเงินบำนาญภาคบังคับจะพอใช้ภายหลังเกษียณหรือไม่ จะมีนักลงทุนเพียงร้อยละ 38 ที่ตอบชัดเจนว่า “เชื่อมั่น” ทั้งนี้ เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่น นั่นคือความกังวลว่าเงินออมตามแผนจะไม่เพียงพอแก่การใช้จ่ายภายหลังเกษียณ (คิดเป็นร้อยละ 43) อีกทั้งนักลงทุนยังคงกังวลว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนอาจต่ำเกินไป และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะได้รับเงินจากแผนเท่าใดเมื่อเกษียณแล้ว

        สิ่งที่น่าสนใจคือ ตลาดที่ต้องพึ่งพาแผนเกษียณภาคบังคับมากที่สุดกลับมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำสุด  โดยในฮ่องกงและไต้หวัน นักลงทุนคาดว่า เงินบำนาญภาครัฐหรือที่นายจ้างจัดให้จะคิดเป็นร้อยละ 18 ของรายได้ภายหลังเกษียณ ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่นตัวเลขจะสูงขึ้นไปอีก อยู่ที่ร้อยละ 30 และ 31 ตามลำดับ แต่สิ่งที่มาพร้อมกับการพึ่งพานั่นคือความไม่มั่นคง นักลงทุนในฮ่องกงและญี่ปุ่นเกือบ 9 ใน 10 ระบุว่าไม่เชื่อมั่นในระบบบำนาญภาคบังคับ ขณะที่ในไต้หวันมีตัวเลขอยู่ที่ 7 ใน 10 หรือแม้แต่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมีประวัติการให้สวัสดิการภาครัฐแก่บุคคลวัยเกษียณอย่างกว้างขวางยาวนานก็ยังพบว่ามีนักลงทุนเกือบ 3 ใน 5 ที่ยังขาดความเชื่อมั่นเช่นกัน

นักลงทุนเรียกร้องเปลี่ยนแปลงระบบบำนาญ

       อย่างไรก็ตาม นักลงทุนทุกตลาดในเอเชียเรียกร้องให้ปรับปรุงระบบบำนาญภาคบังคับ  โดยหัวข้อที่ถูกเรียกร้องมากที่สุด คือ การให้การศึกษามากขึ้นในเรื่องการวางแผนเกษียณ (คิดเป็นร้อยละ 65)  นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ขอให้เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความยืดหยุ่นมากขึ้นในการถอนเงินก่อนการเกษียณ และเพิ่มทางเลือกที่มากขึ้นในการลงทุน อีกทั้งนักลงทุนยังแสดงให้เห็นว่าต้องการให้เพิ่มเงินภาคสมทบ โดยที่ส่วนใหญ่ระบุว่าภาระการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบำนาญที่เพิ่มขึ้นนั้นควรตกแก่ภาครัฐหรือนายจ้าง (คิดเป็นร้อยละ 60) และมีเพียงส่วนน้อยที่ระบุว่า ตนเองควรรับภาระดังกล่าว (คิดเป็นร้อยละ 30)

“บำนาญภาคบังคับมักจะเป็นประสบการณ์แรกของนักลงทุนในเรื่องการบังคับออมเงินเพื่ออนาคต จึงมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจลักษณะและสิทธิประโยชน์ตามแผนภาคบังคับ” นายโรเบิร์ต เอ. คุก ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Manulife Asia กล่าว “การที่นักลงทุนตระหนักว่าจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการวางแผนเกษียณเป็นสิ่งที่ดี เราสนับสนุนให้นักลงทุนทุกคนรับผิดชอบตัวเองมากขึ้นในด้านการวางแผนเกษียณและวางแผนหาแหล่งรายได้อื่นๆ มาจุนเจือยามเกษียณ และเงินบำนาญภาครัฐเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่อย่างที่นักลงทุนทราบดีว่าแค่เพียงเท่านั้นยังไม่พอ”

นักลงทุนเอเชียเพียงเล็กน้อยซื้อแผนบำนาญภาคสมัครใจ

       การขาดความกระตือรือร้นของนักลงทุนยิ่งเห็นได้ชัดในส่วนบำนาญภาคเอกชน โดยนักลงทุนเอเชียเพียง 1 ใน 5 ระบุว่าซื้อแผนบำนาญหรือเกษียณภาคสมัครใจไว้แล้ว

      นักลงทุนเอเชียกลับคาดหวังที่จะใช้รายได้จากแหล่งอื่นระหว่างเกษียณ รวมทั้งเงินออม (คิดเป็นร้อยละ 26) และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลงทุนประเภทอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ (คิดเป็นร้อยละ 16) นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า นักลงทุนเอเชียยังขาดการบริหารพอร์ตการลงทุนของตนไปในทิศทางที่จะสร้างผลตอบแทนที่ต้องการ โดยมีเพียง 1 ใน 3 ที่ระบุว่าทบทวนพอร์ตการลงทุน
ไตรมาสละครั้ง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ก็ยังเกิดขึ้นน้อยมาก

“การที่มีแผนบำนาญภาคสมัครใจค่อนข้างน้อยและความรู้สึกว่าแผนที่ภาครัฐจัดให้จะไม่เพียงพอ ส่งผลให้นักลงทุนมองหาแหล่งรายได้อื่น ๆ หลังเกษียณ"นางดอนนา คอตเตอร์ หัวหน้าฝ่ายบริหารความมั่งคั่ง Manulife Financial ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าว “แต่นักลงทุนต้องมั่นใจด้วยว่า รายได้แหล่งอื่น ๆ ที่ตนพึ่งพาอยู่นั้น จริง ๆ แล้วจะสร้างผลตอบแทนตามที่ตนคาดหวังหรือไม่ โดยที่ระดับความเสี่ยงไม่สูงเกินไป และต้องมั่นใจด้วยว่าตนกำลังบริหารพอร์ตการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงและจะตอบสนองความต้องการของตนด้วย”

การวางแผนการเงินแบบ “บริหารด้วยตัวเอง” ได้รับความนิยม ผู้ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญมีสัดส่วนเพียงครึ่งหนึ่งของสหรัฐ

      นักลงทุนเอเชียแสดงความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในเรื่องการวางแผนเกษียณ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55) ยอมรับว่าไม่เข้าใจแผนบำนาญภาครัฐ อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 25 ที่ขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพ ซึ่งเป็นตัวเลขเพียงครึ่งหนึ่งของตัวเลขในสหรัฐ[2]  ทั้งนี้ นักลงทุนเอเชียโดยส่วนใหญ่ (คิดเป็นร้อยละ 60) พอใจในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยตนเองและยังขาดข้อมูลจากมืออาชีพในวงการ เช่น ที่ปรึกษาการเงิน ตัวแทนประกันชีวิต หรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร

ผลสำรวจยังชี้ว่า ญี่ปุ่นมีสัดส่วนของนักลงทุนประเภทบริหารด้วยตัวเองสูงสุด (คิดเป็นร้อยละ 76) และในอินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมถึงไต้หวันต่างก็มีตัวเลขสูงกว่าร้อยละ 50 เช่นกัน แต่ในทางกลับกัน นักลงทุนเกือบ 3 ใน 4 ของภูมิภาคนั้นอาศัยคำปรึกษาในการวางแผนการเงินจากครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่นักลงทุนที่ใช้ข้อมูลจากสื่อมวลชนมีไม่ถึงครึ่ง

      “เช่นเดียวกับการวางแผนแบบบริหารด้วยตัวเองนั้นจะเหมาะสมต่อเมื่อคุณมีความรู้ เครื่องมือ และเวลาที่จะใช้วางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากไม่มี คุณอาจต้องพบผลลัพธ์ที่น่าผิดหวังหรือต่ำกว่าเกณฑ์” นางดอนนา คอตเตอร์ หัวหน้าฝ่ายบริหารความมั่งคั่ง Manulife Financialประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าว“นักลงทุนมีความรู้ทางการเงินหลากหลายระดับและมักจะรู้ทางเลือกในการลงทุนเพียงไม่กี่ทางเลือก ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงยิ่งขึ้นที่จะคำนวณผิดพลาดหรือมองข้ามผลิตภัณฑ์ลงทุนที่อาจเหมาะสมที่สุดกับตน และการใช้เวลาตรวจสอบรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนกับมืออาชีพนั้นไม่ถือเป็นเรื่องเสียเวลาเลย”

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ในเอเชีย กรุณาเยี่ยมชมwww.manulife-asia.com

*เกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนของแมนูไลฟ์ในเอเชีย

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนของแมนูไลฟ์ (Manulife ISI) ในเอเชียเป็นข้อมูลสำรวจรายไตรมาสของ Manulife ซึ่งประเมินติดตามทัศนะนักลงทุน ทั้งแปดตลาดในภูมิภาคที่มีต่อสินทรัพย์ประเภทหลัก ๆ และประเด็นที่เกี่ยวข้อง

      การวิจัยดำเนินการในฮ่องกง จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในแต่ละตลาดสัมภาษณ์ 500 รายผ่านระบบออนไลน์ ยกเว้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ซึ่งวิจัยในลักษณะพบหน้า  ผู้ตอบคำถามเป็นนักลงทุนชนชั้นกลางขึ้นไปถึงระดับร่ำรวย มีอายุ 25 ปีขึ้นไป เป็นผู้ตัดสินใจหลักในเรื่องการเงินในครอบครัว และปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ลงทุนอยู

       Manulife ISI เป็นชุดวิจัยที่มีประวัติยาวนานในภูมิภาคอเมริกาเหนือ โดยใช้วัดความเชื่อมั่นนักลงทุนในแคนาดาตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมาและ เริ่มใช้ที่กิจการจอห์น แฮนคอก ในสหรัฐเมื่อปี 2554  ประเภทสินทรัพย์ที่ใช้คำนวณของ Manulife ISI ในเอเชีย ได้แก่ หุ้น/ตราสารทุน อสังหาริมทรัพย์ (บ้านที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ลงทุนประเภทอื่น ๆ) หน่วยลงทุนในกองทุนรวม ตราสารหนี้ และเงินสด

เกี่ยวกับ Manulife

       Manulife เป็นกลุ่มบริษัทการเงินชั้นนำที่มีฐานอยู่ในแคนาดา โดยมีฐานประกอบการหลักในเอเชีย แคนาดา และสหรัฐ  ลูกค้าได้รับ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี เชื่อถือไว้วางใจได้ และมีวิสัยทัศน์จากแมนูไลฟ์เพื่อใช้ตัดสินใจทางการเงินในเรื่องสำคัญๆ เครือข่ายพนักงาน ตัวแทน และหุ้นส่วนจัดจำหน่ายระหว่างประเทศของเรานำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการรักษาความมั่นคงทางการเงินและบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าหลายล้านราย นอกจากนี้ เรายังให้บริการบริหารจัดการสินทรัพย์แก่ลูกค้าสถาบันด้วย โดย Manulife และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ที่รับบริหารจัดการทั้งสิ้นอยู่ที่ 597,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557 ในตลาดแคนาดาและเอเชีย บริษัทประกอบกิจการโดยใช้ชื่อว่า Manulife  ส่วนในสหรัฐใช้ชื่อว่า จอห์น แฮนคอก เป็นหลัก 

      Manulife Financial Corporation ใช้เครื่องหมาย “MFC” ในตลาดหลักทรัพย์แคนาดา ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ และเครื่องหมาย “945” ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง  สามารถตรวจสอบข้อมูล Manulife ทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ manulife.com 

 

My pension won’t cover the bills” Say Asia Investors – Manulife Survey

•              Almost 9-in-10 investors in Hong Kong and Japan lack confidence in mandatory pensions

•              Lack of confidence leads to calls for change in the system

•              Only one-in-five Asian investors buy optional retirement plans

•              Asia home to the 'DIY Investor', with majority missing out on professional advice

                 Asian investors don’t believe their mandatory pensions will be sufficient to cover their post-retirement expenses, and would like to see a raft of changes made to the pension system, according to new research from Manulife .

                Although pensions are expected to be a top-three source of retirement income, when investors were asked if they were confident that their mandatory pension would be sufficient to satisfy their retirement needs, only 38 percent could answer with a definite “yes”.  The top reason for their lack of confidence was concern the savings from the plan would not be enough to cover their retirement expenses (43 percent). Investors are also worried that investment returns will be too low and that they are unable to predict what they will get from their plans on retirement.

                Notable is the fact that where reliance on a mandatory retirement scheme is highest, confidence is lowest. In Hong Kong and Taiwan, investors expect state or employer pensions to account for 18 percent of retirement income, while in mainland China and Japan it’s even higher at 30 percent and 31 percent respectively. But with dependence comes insecurity. Almost nine-in-ten investors in Hong Kong and Japan say they lack confidence in their mandatory pensions. In Taiwan the figure is 7-in-10, and even in mainland China, where there’s a strong heritage of state support for those in retirement, almost three-in-five lack confidence.

Investors Call for Changes to the Pension System

                Calls for enhancements to the mandatory pension system are however shared Asia-wide. The top request from survey respondents was for more education on retirement planning (65 percent). Other changes requested were for greater flexibility on withdrawing funds before retirement and a wider range of investment choices. Investors also showed a strong preference for the contribution level to be raised, but said they felt the onus should be on the government or employer to contribute more to their pension plan (60 percent) as opposed to themselves (30 percent)

                “Mandatory pensions are often investors’ first experience of forced saving for the future, so there’s a learning process in order to understand the features and benefits of their mandatory plan,” said Robert A. Cook, President and CEO, Manulife Asia. “The fact that investors recognize they need more education on retirement planning is a good thing. We encourage all investors to take greater personal responsibility for their own retirement and plan for other sources of income that will support them. Government pensions are a good start, but as investors know, they won’t be enough.”

Few Asia Investors Buy Optional Pension Plans 

                Investors’ lack of enthusiasm is even more apparent in the case of private pensions, with only a fifth of Asia investors saying they’ve bought an optional pension or retirement plan.

                Instead Asia investors expect to turn to other sources of income during their retirement, including savings (26 percent) and returns from other investments such as property (16 percent). However, the survey also shows that Asian investors aren't managing their portfolios in a way that will generate the returns they need. Just over a third say they review their investment portfolio once a quarter, and changes to portfolio allocation are rare.

                “The relatively low ownership of optional pension plans and the sense that government plans won’t be enough sends investors in search of other sources of retirement income” said Donna Cotter, Head of Wealth Management for Manulife Financial in Asia. “But investors need to be sure that the alternative sources they are relying on will in fact generate the returns they expect, that the level of risk involved is not too high, and that they’re managing a diversified portfolio that will meet their needs.”

DIY Financial Planning Popular; Percentage Seeking Industry Advice Half that of US 

                Asia investors express concern about their aptitude when it comes to retirement planning, with more than half (55 percent) admitting that they don’t understand their government pension plan, however, only 25 percent seek advice from a professional financial advisor – just half the level seen in the United States.   The majority (60 percent) simply prefer to manage their own investments and miss out on input from industry professionals, such as financial advisers, insurance agents or bank staff. 

                The findings show that Japan has the biggest percentage of do-it-yourself investors (76 percent), with Indonesia, Malaysia and Taiwan all above 50 percent. Conversely almost three-in-five investors in the region rely on family, friends and colleagues for their financial planning advice, while just under half use mass media.

                “As with a lot of DIY, DIY financial planning makes good sense  when you have the right knowledge, tools and time to dedicate to it, but if not, you can end up with a result that isn’t what you hoped for or that underperforms,” said Donna Cotter, Head of Wealth Management for Manulife Financial in Asia. “Investors have variable levels of financial knowledge and often limited exposure to the various investment options available to them. This creates a greater risk of getting calculations wrong or of overlooking an investment product that could be the perfect fit. Taking the time to check thoroughly with professionals is time well spent.” 

บุคคลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน:

David Norris                                                                                           Queenie Yuen

(852) 2202 1749                                                                                     (852) 2510 5097

[email protected]                                                        queenie_[email protected]



[1]ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2557

[2]ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!