WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กินเจปี’57: คาดคนกรุงฯ ใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มเจ กว่า 3,700 ล้านบาท

.. ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์รับโอกาสทางธุรกิจ(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)

   ร้านอาหารยังคงได้รับความนิยมจากคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 โดยคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลนิยมเลือกกินเจที่ร้านอาหารในสัดส่วนที่สูงกว่าเลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากร้านอาหาร ถึงแม้ว่าภาวะราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการกินเจ แต่คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาหารเจ ได้แก่ รสชาติ ความหลากหลาย และความสะอาด ในขณะที่ให้ความสำคัญกับราคารองลงมา โดยต่างก็มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรมการกินเจในรูปแบบต่างๆ ทดแทน

   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 24 กันยายน-2 ตุลาคม 2557 นี้ จะมีเม็ดเงินสะพัดสู่ร้านอาหารเจในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมูลค่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเทศกาลกินเจปี 2556 ร้อยละ 14.3 จากปัจจัยด้านจำนวนผู้กินเจเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับงบประมาณในการ กินเจ และจำนวนวันกินเจโดยเฉลี่ยต่อคนของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2557 ที่สูงขึ้นกว่าปี 2556

    การแข่งขันจากผู้ขายอาหารริมทางและร้านสะดวกซื้อ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารต้องชูจุดแข็งในด้านการปรุงอาหารเจแบบสดใหม่และการให้บริการ รวมถึงยังต้องปรับกลยุทธ์การแข่งขันรับการปรับพฤติกรรมการกินเจท่ามกลางภาวะราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังต้องให้บริการตอบโจทย์เป้าหมายการกินเจที่หลากหลายขึ้น เช่น การกินเจเพื่อสุขภาพที่ดี เป็นต้น

    ตามปฏิทินจันทรคติของจีน กำหนดการเทศกาลกินเจในแต่ละปีจะเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่คนไทยทั่วประเทศจะมีโอกาสกินเจตามประเพณี อย่างไรก็ดี สำหรับปี 2557 นี้ พบว่ามีเดือน 9 ถึงสองครั้ง จึงแบ่งการกินเจออกเป็นสองช่วง ได้แก่ วันที่ 24 กันยายน-2 ตุลาคม 2557 และวันที่ 24 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2557

   ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเพณีการกินเจครบทั้งสองช่วงนั้น น่าจะได้รับความนิยมเฉพาะในจังหวัดที่มีการจัดงานเทศกาลกินเจอย่างยิ่งใหญ่ (เช่น ภูเก็ต) โดยสำหรับการกินเจในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น น่าจะได้รับความนิยมเฉพาะในช่วงแรก คือ วันที่ 24 กันยายน-2 ตุลาคม 2557 ส่งผลให้ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารต่างหันมาให้บริการอาหารเจกันอย่างคึกคัก

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจพฤติกรรมคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม-9 กันยายน 2557 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือเป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาศึกษา/ทำงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 380 คน ครอบคลุมทุกช่วงอายุและระดับราย380 คน ครอบคลุมทุกช่วงอายุและระดับรายได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 ทั้งในด้านรูปแบบการใช้บริการร้านอาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหาร รวมไปถึงการกำหนดงบประมาณ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในช่วงเทศกาล กินเจปี 2557 โดยผลการสำรวจประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้

   ในช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 นี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สัดส่วนร้อยละ 66 กินเจ ในจำนวนนี้ กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 51 ใช้บริการร้านอาหาร ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 16 ไม่ได้ใช้บริการร้านอาหาร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ใช้บริการร้านอาหารนั้น เลือกที่จะกินเจในรูปแบบอื่นๆ เช่น ประกอบอาหารเจเอง ซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อ ซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากผู้ขายอาหารริมทาง เป็นต้น

   จากข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคงเลือกใช้บริการร้านอาหารในช่วงเทศกาลกินเจ ได้สะท้อนให้เห็นว่า ร้านอาหารยังคงได้รับความนิยมจากคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยร้านอาหารสามารถตอบโจทย์รองรับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวจากครอบครัวขยายไปสู่ครอบครัวขนาดเล็ก การอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น รวมถึงการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เร่งรีบและมีข้อจำกัดในด้านเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลนิยมเลือกใช้ให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลนิยมเลือกใช้บริการร้านอาหาร

    ในช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 นี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการร้านอาหาร เลือกกินเจที่ร้านอาหารสัดส่วนร้อยละ 59 ในขณะที่เลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากร้านอาหารสัดส่วนร้อยละ 50 ข้อมูลดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลกินเจอยู่ โดยการกินเจที่ร้านอาหารจะมีพนักงานให้บริการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญที่ดึงดูด ให้ผู้กินเจเลือกกินเจที่ร้านอาหาร มากกว่าเลือกซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากร้านอาหาร

   ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าภาวะราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการกินเจของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ก็พบว่า คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาหารเจ ได้แก่ รสชาติ ความหลากหลาย และความสะอาด เป็นลำดับต้นๆ ในขณะที่ราคาเป็นปัจจัยที่คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้ความสำคัญรองลงมา โดยคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลต่างก็มุ่งเน้นการปรับพฤติกรรมการ กินเจท่ามกลางภาวะราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทดแทน

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 24 กันยายน-2 ตุลาคม 2557 นี้ จะมีเม็ดเงินสะพัดสู่ร้านอาหารเจในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมูลค่า 2,000 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งการกินเจที่ร้านอาหาร และซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากร้านอาหาร เพิ่มขึ้นจากในช่วงเทศกาลกินเจปี 2556 ที่คาดว่ามีเม็ดเงินสะพัดสู่ร้านอาหารเจในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมูลค่า 1,750 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากปัจจัยด้านจำนวนผู้กินเจเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับงบประมาณในการกินเจ และจำนวนวันกินเจโดยเฉลี่ยต่อคนของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2557 ที่สูงขึ้นกว่าปี 2556

    ในช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 นี้ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่ต่างก็ได้ปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจเพื่อรองรับผู้กินเจ ตั้งแต่ร้านอาหารทั่วไป เช่นร้านอาหาร ไปจนถึงร้านอาหารในโรงแรม

    โดยทั่วไปแล้วผู้กินเจมีหลากหลายกลุ่ม ซึ่งมีรูปแบบการกินเจที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้กินเจอย่างเคร่งครัด (เช่น การแยกใช้ภาชนะที่ไม่ปะปนกับอาหารปกติ) ส่วนใหญ่ก็จะประกอบอาหารเจเอง รวมไปถึงครอบครัวขนาดใหญ่ก็จะประกอบอาหารเจเองด้วยเช่นกัน เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการซื้ออาหารเจสำเร็จรูป ในขณะที่ครอบครัวขนาดเล็กและผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวก็จะเลือกรับประทานอาหารเจที่ร้านอาหาร หรือซื้ออาหารเจสำเร็จรูปจากร้านอาหารทั่วไปและผู้ขายอาหารริมทาง รวมไปถึงเลือกซื้ออาหารเจกึ่งสำเร็จรูปและอาหารเจแช่แข็งจากร้านสะดวกซื้อ ซึ่งหาซื้อได้โดยสะดวกและมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานแทน

   ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวจากครอบครัวขยายไปสู่ครอบครัวขนาดเล็ก การอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนที่เร่งรีบ ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในด้านการรับประทานอาหาร สถานการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสของ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร กล่าวคือ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการอาหารเจจึงควรให้บริการอาหารเจที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มครอบครัวขนาดเล็ก กลุ่มผู้อาศัยอยู่คนเดียว รวมถึงกลุ่มผู้ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ เช่น นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารก็ยังต้องเผชิญการแข่งขันจากผู้ขายอาหารริมทาง และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นคู่แข่งในการประกอบธุรกิจที่สำคัญในช่วงเทศกาลกินเจ ที่สามารถตอบโจทย์การกินเจในด้านความเจ ที่สามารถตอบโจทย์การกินเจในด้านความสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านสะดวกซื้อที่กำหนดตำแหน่งการแข่งขันให้เทียบเท่ากับร้านอาหาร ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารอาจชูจุดแข็งในด้านการปรุงอาหารเจแบบสดใหม่ รวมไปถึงการให้บริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการรับประทานอาหารสำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นจุดแข็งของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารที่เหนือกว่าผู้ขายอาหารริมทาง และร้านสะดวกซื้อ

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารที่ไม่ได้ให้บริการอาหารเจ ก็จำเป็นต้องปรับตัวรับมือกับรายได้ที่อาจลดลงในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งจะเป็นไปในระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารที่ไม่ได้ให้บริการอาหารเจ ก็อาจใช้โอกาสนี้ มุ่งให้บริการรองรับผู้ที่ไม่ได้กินเจได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!