WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ระวังมะกันฟองสบู่แตก!! ดัชนีดาวโจนส์ถล่มโลก

       ดัชนีดาวโจนส์ ร่วงหนักที่สุดในรอบ 122 ปี นับแต่สหรัฐเปิดตลาดหุ้นมา โดยการซื้อขายในวันนี้ ( 5 กพ. 2018)   ดัชนีลดลง -1,175.21 จุด หรือ – 4.60%

      ในอดีตดัชนีดาวโจนส์ เคยลดลงแรงๆ แบบนี้ครั้งแรกในปี 1987 โดยปรับตัวลดลงไป  – 508.00 จุด หรือ 22% เรียกวิกฤติครั้งนั้นว่า “แบล็คมันเดย์” จากที่คนไม่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากนั้นก็ลงแรงสุดในปี 2008 ลดลง -777.68 จุด จาก “วิกฤติซับไพร์ม” หรือ “ตราสารขยะ” ที่นำเอาสินทรัพย์เน่าๆ มาทำเป็นตราสารระดมทุน จนส่งผลกระทบไปทั่วโลก

      การลงแรงของหุ้นสหรัฐครั้งใหม่นี้ สาเหตุหลักๆ มาจากมีการปั่นหุ้นร้อนแรงจนเกินไป จาก ดัชนีดาวโจนส์ อยู่ที่ระดับ 18,000 ก่อน “โดนัล ทรัมป์” เป็น ประธานาธิบดี หลังจากเขาชนะการเลือกตั้งแล้ว ดัชนีก็พุ่งทะยานทะลุ 20,000 จุด แล้วก็ลากยาวไปจนทะลุ 26,000 จุด เป็นการปั่นหุ้นรอบใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์หุ้นสหรัฐเลยทีเดียว

       เมื่อหุ้นราคาเลยปัจจัยพื้นฐานไปมาก เป็นธรรมชาติก็ต้องมีการเทขายทำกำไร ซี่งรอบนี้ภือว่าเป็น “รอบใหญ่” และยังเป็นการเทขายด้วยฝีมือของ “หุ่นยนต์” ที่เรียกกันว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่กองทุนใหญ่ๆ ในสหรัฐมากกว่าครึ่งนิยมใช้ เพราะทำการซื้อขายได้แม่นยำ และรวดเร็วกว่าการใช้ “ผู้จัดการกองทุน” ในครั้งนี้เมื่อเกิด “สัญญานขาย” AI ก็ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ จนตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับตัวลดลง 2 วัน เกือบ 2,000 จุด

     แน่นอนว่า ตลาดหุ้นใหญ่ที่สุดในโลกปรับตัวลงแรง ย่อมส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหุ้นไทบ ที่ 2 วันก็ลงไปเกือบ 100  จุด เช่นเดียวกัน

        สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การที่ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นมาถึง “จุดสูงสุด” ราคาหุ้นในแต่ละตลาด “เต็มมูลค่า” ซึ่งสุดท้ายก็ต้องขายทิ้งกันทุกตลาด เพราะราคาเกินพื้นฐานด้วยกันทั้งสิ้น

         อีกทั้งเป็นธรรมชาติของ กองทุนรายใหญ่ทั่วโลก จะต้อง “โยกเงิน” ไปหาแหล่งใหม่ ที่สามารถทำกำไรได้มากกว่า มี Gap ให้ปั่นราคาได้ พวกเขาก็ต้องโยกเงินไปทางอื่นก่อน ไว้รอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงมาจนมีราคาถูกจึงค่อยย้อนกลับมาช้อนซื้ออีกรอบ ซึ่งกว่าจะย้อนกลับมาก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร

        เมื่อราคาหุ้นในตลาดหุ้น หรือ “ตลาดทุน” ทั่วโลก ปรับตัวลดลง “ความมั่งคั่ง” ของระบบเศรษฐกิจโลกก็จะลดลงตามไปด้วย จากนี้ไปเศรษฐกิจโลก จะซบเซาไปพักใหญ่ เปรียบเหมือนฤดูแล้ง ที่ต้นไม้ผลัดใบ รอฤดูฝนกลับมาเติมความชุ่มฉ่ำอีกครั้ง…

 

เทวัญ จงกลรอด

ภาพประกอบข่าว จากแฟ้มข่าว และเว็ปไซต์ต่างประเทศ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!