- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Sunday, 11 May 2014 22:58
- Hits: 4251
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 12:18 น. ข่าวสดออนไลน์
ธุรกิจผวา'การเมือง'เดือด ลุ้น'เลือกตั้ง'ปลดล็อกประเทศ
รายงานพิเศษ
หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เกี่ยวข้องอีก 9 คน สิ้นสภาพลง เนื่องจากการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคง แห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
'ข่าวสด' ได้รวบรวมความเห็นของนักธุรกิจต่อกรณีดังกล่าวจะมีผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจอย่างไร พร้อมเสนอแนวทางหาทางออกให้ประเทศ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจสำหรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกระทบอย่างไรและเลวร้ายแค่ไหน ซึ่งจำเป็นต้องรอดูสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ถึงจะประเมินได้อย่างชัดเจน
"ต้องรอดูด้วยว่าฝ่ายรักษาการนายกฯ ที่เพิ่งถูกปลดไปจะเคลื่อนไหวอย่างไร รวมถึงความเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรักษาการ นายกฯ ที่เพิ่งถูกปลด เพราะสุดท้ายผลที่ออกมาจะบ่งบอกถึงความเสียหายของประเทศได้ว่าจะมีมากหรือน้อยแค่ไหน"
อย่างไรก็ตาม เอกชนค่อนข้างมีความกังวลในเรื่องของความรุนแรงของ 2 ฝ่ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้มองว่าทุกฝ่ายต้องมีการคุยกันและหารือ หาทางออกให้กลับมาสู่การเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อให้มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มเข้ามาบริหารประเทศ จะได้ไม่ส่งผลเสียหายต่อประเทศ และไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยมากกว่านี้
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้ภาคธุรกิจมีความกังวลว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นจะจบเมื่อไหร่ เพราะภาคเอกชนมองไม่ออก ว่าเมื่อไหร่จึงจะมีรัฐบาลถาวรมา บริหารประเทศ ซึ่งแม้ภาคเอกชน จะมีการคุยหารือกันทุกวัน แต่ก็ยังไม่เห็นทางออก และรู้สึกอึดอัด หวังว่าผู้เกี่ยวข้องน่าจะหาทางออกโดยเร็ว แต่หากการเมืองเกิดสุญญากาศ แม้จะมีช่องว่างในการบริหารประเทศ แต่ผู้ประกอบการก็ยังทำมาหากินไปได้ และประเทศก็ยังขับเคลื่อนไปได้ ด้วยตัวเอกชนเอง
"ห่วงว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น และขอวิงวอนให้เห็นแก่ประเทศชาติ เพราะ หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงจะเลวร้ายกว่า จะทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศถดถอยลง และจะกระทบต่อการท่องเที่ยว และการลงทุนของต่างชาติที่จะหยุดไปหมด" นายอิสระกล่าว
นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นสภาพ นายกฯ นั้น ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปไม่ได้ให้ความสนใจการเมืองในไทยถึงขนาดพิจารณาว่าใครจะเป็นรัฐบาล แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดไม่ว่าจะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ หรือจะมีการจัดการเลือกตั้งในอนาคต ก็คือความปลอดภัย และความสะดวกสบายของนักท่องเที่ยว ถือเป็น 2 ประเด็นหลักที่ต้องควบคุมให้เรียบร้อย เพราะเป็นเหตุผลที่กระทบต่อความเชื่อมั่นโดยตรง
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองเริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินอย่างสมเหตุสมผล และเชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การยุติความขัดแย้งได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้งนี้ต้องรอดูผลการตัดสินของศาลจากโครงการรับนำจำข้าวด้วย เนื่องจาก นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ที่ได้รับปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ เป็นหนึ่งในผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งคำตัดสินของศาลจะ เป็นไปทั้งการนำมาซึ่งรัฐบาลสูญญากาศ และผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ จะนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค.นี้ได้หรือไม่
"เริ่มมีทิศทางที่ดีของการเมืองไทยว่าจะจบแบบมีรัฐบาลพระราชทานหรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หากปัญหาทางการเมืองจบจะช่วยพลิกภาวะเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวด้วย เนื่องจากจะมีรัฐบาลใหม่มาอนุมัติงบประมาณปี 2558 ส่งผลให้มีเงินมาจ่ายชาวนา และ แต่ละโครงการของรัฐบาลที่วางไว้สามารถเดินหน้าต่อได้ โดยจะทำให้มีเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจกระตุ้นให้ภาพรวมฟื้นตัว ส่วนภาคเอกชนจะมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะพร้อมจะลงทุนอยู่แล้ว" นายพิพัฒกล่าว
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวในปัจจุบันถือว่าย่ำแย่อยู่แล้ว และตลาดต่างประเทศก็รับรู้ทั่วกันอยู่แล้วว่าไทยอยู่ภายใต้รัฐบาลรักษาการ ดังนั้นการที่นายกฯต้องพ้นตำแหน่งและมีรักษาการมาทำหน้าที่แทนนั้น ไม่กระทบภาคท่องเที่ยวมากไปกว่าที่เป็นอยู่
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเพียงเรื่องเดียวคือ ท่าทีของผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่ายว่าจะยอมรับผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และประเด็นที่จะเป็นผลกระทบมากกว่าคือ หากเกิดความขัดแย้งที่พัฒนาไปสู่ความรุนแรง จะส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของไทยเสียหายตามไปด้วยแน่นอน
"หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ผลดังกล่าวจะกระทบต่อการท่องเที่ยวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าจะควบคุมความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความรุนแรงได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ภาคท่องเที่ยวกังวลมากที่สุด" นายศิษฎิวัชรกล่าว
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศ ไทย (สรท.) กล่าวว่า ผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างความชัดเจนต่อสถานการณ์ทางการเมืองแล้วในระดับหนึ่ง แต่จากนี้จะ เดินหน้าต่อไปอย่างไรยังไม่สามารถตอบได้ แต่ในฐานะเอกชนอยากให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมายและผลการตัดสินเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงทางการเมืองไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะปัญหาทางการเมือง ของไทยขณะนี้ ในกรณีการตัดสินถอดถอนนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ต่างประเทศสามารถเข้าใจได้ ตราบใดที่ยังไม่ความรุนแรง ก็เชื่อมั่นว่าการ ส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวได้ในระดับ 3% และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ขยายตัวที่ 1.8% ได้
แม้ภาพรวมปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเป็นสิ่งที่อธิบายให้คู่ค้าในต่างประเทศเข้าใจได้ แต่ประเด็นที่ไทยยังไม่มีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ต่างชาติไม่เข้าใจ และยอมรับว่าอธิบายลำบาก เพราะเป็นเหตุผลเฉพาะของไทย จึงอยากให้มีการปฏิรูปการเมืองควบคู่ไปกับการ เดินหน้าจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้นจนสามารถจบความขัดแย้งได้ในที่สุด เพราะหากไทยยังไม่มีรัฐบาลไปจนถึงปีหน้าจะส่งผลต่อภาคการส่งออกอย่างมาก ซึ่งการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนที่สูงมากต่อการขยายตัวของจีดีพี
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า การพ้นจากตำแหน่งของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเมือง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวเท่าใดนัก เพราะแม้จะไม่มีนายกฯ และครม.บางส่วนแล้ว แต่ก็ยังมีหัวเรือใหญ่ที่ดูแลนโยบายในภาคการท่องเที่ยว คือ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนด้านการตลาดก็มีการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ดูแลโดยตรงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตามหลักของครรลองประชา ธิปไตยจะต้องมีรัฐบาลมาบริหารประเทศ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย ให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการมั่นใจที่จะมาลงทุน หรือมาท่องเที่ยวได้เหมือนเดิม
"การที่รัฐบาลถูกผลัดเปลี่ยนไป เป็นกลไกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความกังวลว่า หากมีความรุนแรงเกิดขึ้นระหว่างฝั่งที่พอใจกับไม่พอใจให้นายกฯยู่ต่อไป อาจจะปะทะกันได้ ซึ่งนั่นจะส่งผลกับภาพลักษณ์ความปลอดภัยของประเทศไทยแน่นอน และที่สำคัญที่สุด คือภาคการท่องเที่ยวที่จะเสียหายมากแน่นอน" นางปิยะมานกล่าว
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันต้องรอดูว่าในวันที่ 20 ก.ค.นี้ หรือภายใน ปีนี้ จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าหากมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ เศรษฐกิจจะขยายตัว 1.8% แต่หากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่า 1% โดยส่วนตัวเห็นว่าขณะนี้เป็นช่วงสุญญากาศ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรเจรจาหาข้อยุติ ทำให้เกิดความสงบ และลดความขัดแย้งลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ตราบใดที่เหตุการณ์ทางการเมืองไม่มีเชื้อที่พร้อมเติมให้ไฟลุกขึ้นมาอีกครั้ง เชื่อว่ายังไงเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังเติบโตตกต่ำ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติให้รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพ้นจากตำแหน่ง แต่สำหรับภาคท่องเที่ยว หากเมื่อใดที่เขายังรู้สึกไม่ปลอดภัย เขาก็ยังลังเลที่จะมาเที่ยวไทย ยิ่งมีเหตุการณ์ระเบิด แผ่นดินไหว ยิ่งมีผลต่อการตัดสินใจมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ คือ ความเห็นของภาคเอกชน ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันอย่างน่าสนใจยิ่ง
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจสำหรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกระทบอย่างไรและเลวร้ายแค่ไหน ซึ่งจำเป็นต้องรอดูสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ถึงจะประเมินได้อย่างชัดเจน
"ต้องรอดูด้วยว่าฝ่ายรักษาการนายกฯ ที่เพิ่งถูกปลดไปจะเคลื่อนไหวอย่างไร รวมถึงความเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรักษาการ นายกฯ ที่เพิ่งถูกปลด เพราะสุดท้ายผลที่ออกมาจะบ่งบอกถึงความเสียหายของประเทศได้ว่าจะมีมากหรือน้อยแค่ไหน"
อย่างไรก็ตาม เอกชนค่อนข้างมีความกังวลในเรื่องของความรุนแรงของ 2 ฝ่ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้มองว่าทุกฝ่ายต้องมีการคุยกันและหารือ หาทางออกให้กลับมาสู่การเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อให้มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มเข้ามาบริหารประเทศ จะได้ไม่ส่งผลเสียหายต่อประเทศ และไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยมากกว่านี้
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้ภาคธุรกิจมีความกังวลว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นจะจบเมื่อไหร่ เพราะภาคเอกชนมองไม่ออก ว่าเมื่อไหร่จึงจะมีรัฐบาลถาวรมา บริหารประเทศ ซึ่งแม้ภาคเอกชน จะมีการคุยหารือกันทุกวัน แต่ก็ยังไม่เห็นทางออก และรู้สึกอึดอัด หวังว่าผู้เกี่ยวข้องน่าจะหาทางออกโดยเร็ว แต่หากการเมืองเกิดสุญญากาศ แม้จะมีช่องว่างในการบริหารประเทศ แต่ผู้ประกอบการก็ยังทำมาหากินไปได้ และประเทศก็ยังขับเคลื่อนไปได้ ด้วยตัวเอกชนเอง
"ห่วงว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น และขอวิงวอนให้เห็นแก่ประเทศชาติ เพราะ หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงจะเลวร้ายกว่า จะทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศถดถอยลง และจะกระทบต่อการท่องเที่ยว และการลงทุนของต่างชาติที่จะหยุดไปหมด" นายอิสระกล่าว
นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นสภาพ นายกฯ นั้น ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปไม่ได้ให้ความสนใจการเมืองในไทยถึงขนาดพิจารณาว่าใครจะเป็นรัฐบาล แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดไม่ว่าจะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ หรือจะมีการจัดการเลือกตั้งในอนาคต ก็คือความปลอดภัย และความสะดวกสบายของนักท่องเที่ยว ถือเป็น 2 ประเด็นหลักที่ต้องควบคุมให้เรียบร้อย เพราะเป็นเหตุผลที่กระทบต่อความเชื่อมั่นโดยตรง
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองเริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินอย่างสมเหตุสมผล และเชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การยุติความขัดแย้งได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้งนี้ต้องรอดูผลการตัดสินของศาลจากโครงการรับนำจำข้าวด้วย เนื่องจาก นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ที่ได้รับปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ เป็นหนึ่งในผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งคำตัดสินของศาลจะ เป็นไปทั้งการนำมาซึ่งรัฐบาลสูญญากาศ และผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ จะนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 20 ก.ค.นี้ได้หรือไม่
"เริ่มมีทิศทางที่ดีของการเมืองไทยว่าจะจบแบบมีรัฐบาลพระราชทานหรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หากปัญหาทางการเมืองจบจะช่วยพลิกภาวะเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวด้วย เนื่องจากจะมีรัฐบาลใหม่มาอนุมัติงบประมาณปี 2558 ส่งผลให้มีเงินมาจ่ายชาวนา และ แต่ละโครงการของรัฐบาลที่วางไว้สามารถเดินหน้าต่อได้ โดยจะทำให้มีเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจกระตุ้นให้ภาพรวมฟื้นตัว ส่วนภาคเอกชนจะมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะพร้อมจะลงทุนอยู่แล้ว" นายพิพัฒกล่าว
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวในปัจจุบันถือว่าย่ำแย่อยู่แล้ว และตลาดต่างประเทศก็รับรู้ทั่วกันอยู่แล้วว่าไทยอยู่ภายใต้รัฐบาลรักษาการ ดังนั้นการที่นายกฯต้องพ้นตำแหน่งและมีรักษาการมาทำหน้าที่แทนนั้น ไม่กระทบภาคท่องเที่ยวมากไปกว่าที่เป็นอยู่
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเพียงเรื่องเดียวคือ ท่าทีของผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่ายว่าจะยอมรับผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และประเด็นที่จะเป็นผลกระทบมากกว่าคือ หากเกิดความขัดแย้งที่พัฒนาไปสู่ความรุนแรง จะส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของไทยเสียหายตามไปด้วยแน่นอน
"หลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ผลดังกล่าวจะกระทบต่อการท่องเที่ยวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าจะควบคุมความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความรุนแรงได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ภาคท่องเที่ยวกังวลมากที่สุด" นายศิษฎิวัชรกล่าว
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศ ไทย (สรท.) กล่าวว่า ผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างความชัดเจนต่อสถานการณ์ทางการเมืองแล้วในระดับหนึ่ง แต่จากนี้จะ เดินหน้าต่อไปอย่างไรยังไม่สามารถตอบได้ แต่ในฐานะเอกชนอยากให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมายและผลการตัดสินเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงทางการเมืองไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะปัญหาทางการเมือง ของไทยขณะนี้ ในกรณีการตัดสินถอดถอนนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ต่างประเทศสามารถเข้าใจได้ ตราบใดที่ยังไม่ความรุนแรง ก็เชื่อมั่นว่าการ ส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวได้ในระดับ 3% และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ขยายตัวที่ 1.8% ได้
แม้ภาพรวมปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยเป็นสิ่งที่อธิบายให้คู่ค้าในต่างประเทศเข้าใจได้ แต่ประเด็นที่ไทยยังไม่มีการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ต่างชาติไม่เข้าใจ และยอมรับว่าอธิบายลำบาก เพราะเป็นเหตุผลเฉพาะของไทย จึงอยากให้มีการปฏิรูปการเมืองควบคู่ไปกับการ เดินหน้าจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้นจนสามารถจบความขัดแย้งได้ในที่สุด เพราะหากไทยยังไม่มีรัฐบาลไปจนถึงปีหน้าจะส่งผลต่อภาคการส่งออกอย่างมาก ซึ่งการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนที่สูงมากต่อการขยายตัวของจีดีพี
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า การพ้นจากตำแหน่งของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเมือง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวเท่าใดนัก เพราะแม้จะไม่มีนายกฯ และครม.บางส่วนแล้ว แต่ก็ยังมีหัวเรือใหญ่ที่ดูแลนโยบายในภาคการท่องเที่ยว คือ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนด้านการตลาดก็มีการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ดูแลโดยตรงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตามหลักของครรลองประชา ธิปไตยจะต้องมีรัฐบาลมาบริหารประเทศ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย ให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการมั่นใจที่จะมาลงทุน หรือมาท่องเที่ยวได้เหมือนเดิม
"การที่รัฐบาลถูกผลัดเปลี่ยนไป เป็นกลไกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความกังวลว่า หากมีความรุนแรงเกิดขึ้นระหว่างฝั่งที่พอใจกับไม่พอใจให้นายกฯยู่ต่อไป อาจจะปะทะกันได้ ซึ่งนั่นจะส่งผลกับภาพลักษณ์ความปลอดภัยของประเทศไทยแน่นอน และที่สำคัญที่สุด คือภาคการท่องเที่ยวที่จะเสียหายมากแน่นอน" นางปิยะมานกล่าว
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันต้องรอดูว่าในวันที่ 20 ก.ค.นี้ หรือภายใน ปีนี้ จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าหากมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ เศรษฐกิจจะขยายตัว 1.8% แต่หากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่า 1% โดยส่วนตัวเห็นว่าขณะนี้เป็นช่วงสุญญากาศ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรเจรจาหาข้อยุติ ทำให้เกิดความสงบ และลดความขัดแย้งลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ตราบใดที่เหตุการณ์ทางการเมืองไม่มีเชื้อที่พร้อมเติมให้ไฟลุกขึ้นมาอีกครั้ง เชื่อว่ายังไงเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังเติบโตตกต่ำ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติให้รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพ้นจากตำแหน่ง แต่สำหรับภาคท่องเที่ยว หากเมื่อใดที่เขายังรู้สึกไม่ปลอดภัย เขาก็ยังลังเลที่จะมาเที่ยวไทย ยิ่งมีเหตุการณ์ระเบิด แผ่นดินไหว ยิ่งมีผลต่อการตัดสินใจมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ คือ ความเห็นของภาคเอกชน ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันอย่างน่าสนใจยิ่ง