WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เตรียมรับมือผลกระทบหลัง EU ลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินผลกระทบหลังสหภาพยุโรปลดระดับความสัมพันธ์กับไทย อาจทำให้ข้อตกลงทางการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต้องชะลอออกไป

จากกรณีสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศไทย ทำให้ข้อตกลงทางการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจต้องชะลอออกไปก่อน จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดอียู ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีการ sanction หรือห้ามธุรกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศ ผลกระทบต่อการทำธุรกิจและธุรกรรมระหว่างเอกชนด้วยกันเองจะยังไม่ได้รับผลกระทบมาก ทั้งนี้ ใจความหลักสำคัญของมติที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศอียูอยู่ในข้อ 4 ที่ว่า “ให้ประเทศสมาชิกอียูระงับการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน รวมถึงไม่ให้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย Partnership & Cooperation Agreement (PCA) จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง”ทาง TMB Analytics ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจออกเป็น 3 ส่วน ดังนี

ผลกระทบแรก คือ  ผลกระทบต่อการส่งออก พบว่าการส่งออกสินค้าไปอียูในปีหน้าจะได้รับผลกระทบอยู่แล้ว เนื่องจากกรอบการได้รับสิทธิ์ GSP ของไทยจะหมดลงในปีนี้ เราประเมินว่า หากข้อตกลง PCA ครอบคลุมการลงนามในข้อตกลง FTA ยิ่งจะทำให้การเจรจาการค้าเสรีไทย-อียู และผลบังคับใช้เลื่อนออกไป ทำให้ในช่วงระหว่างรอเจรจา ผู้ส่งออกไทยต้องเสียภาษีขาเข้าในอัตราปกติ และอาจต้องสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันในตลาดยุโรป โดยเฉพาะสินค้าที่พึ่งพิงตลาดอียูมาก ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ไก่แปรรูป กุ้งแช่แข็ง และชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลกระทบลำดับถัดมา คือ ผลกระทบต่อการลงทุน เราประเมินว่า ในระยะสั้นน่าจะส่งผลกระทบน้อย เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งกดดันไม่ให้เม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศไทยอยู่แล้วแต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนได้ เนื่องจากการที่อียูระงับการเจรจา PCA ทำให้การวางฐานรากความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ รวมทั้งทางด้านการลงทุนต้องชะลอออกไปก่อนจนกว่าไทยจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง (มูลค่าเงินลงทุนของอียูในไทยอยู่อันดับที่ 3 คิดเป็น 8.5%ของเงินลงทุนต่างประเทศ รวม)และผลกระทบสุดท้าย คือ ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว  เราประเมินว่า ได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากมติประชุมดังกล่าว ไม่ได้บังคับพลเรือนให้เข้ามาในไทย มีผลเพียงการระงับการเดินทางอย่างเป็นทางการของหน่วยงานราชการของอียูเท่านั้นทั้งนี้ ตัวเลขนักท่องเที่ยวอียู 5 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายังขยายต้ว 6.4% (yoy) ในขณะที่ภาพรวมการท่องเที่ยวหดตัว     -5.9%(yoy) อย่างไรก็ดี ต้องจับตาว่าจะมีการลดระดับความสัมพันธ์เพิ่มเติมหรือไม่ และด้วยมาตรการใด

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีมองว่าการลดระดับความสัมพันธ์ครั้งนี้ อาจทำให้ข้อตกลงด้านเศรษฐกิจระหว่างรัฐกับรัฐ (G2G) ต้องถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของภาครัฐ คือ จะต้องเร่งสร้างความชัดเจนแก่ภาคเอกชนถึงประกาศดังกล่าวว่า ครอบคลุมเศรษฐกิจด้านใดบ้าง เพื่อให้ภาคเอกชนได้ปรับตัว ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยเองก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเช่นกัน ด้วยการลดต้นทุนการผลิต และหาตลาดใหม่ รวมถึงออกไปแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังได้รับสิทธิ์ GSP อยู่ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะถัดไป<

สรุปการประเมินผลกระทบจากกรณีที่สหภาพยุโรปลดระดับความสัมพันธ์กับไทย

ภาคเศรษฐกิจ

สถานะปัจจุบันระหว่างไทย – EU

ประเมินผลกระทบ

การส่งออก

  • ปี 2556 การส่งออกของไทยไปยุโรปมีมูลค่ากว่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็น 9.8% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย (ไทยได้รับสิทธิ์ GSP จากอียู 60% และมีการใช้จริงประมาณ 70%)  ไทยส่งออกไปยุโรปเป็นอันดับ 4 รองจาก อาเซียน จีน และสหรัฐฯ
  • สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี เครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง
  • สินค้าส่งออกที่ไทยพึ่งพิง EU มาก (พึ่งพิง>10%ของการส่งออกรวม) ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ไก่แปรรูป กุ้งแช่แข็ง  ชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรม
  • ไทยไม่ได้รับสิทฺธิ์ GSP ในปี 2558 อยู่แล้ว
  • การเจรจาภายใต้กรอบการค้าเสรีอาจถูกเลื่อนออกไป หากข้อตกลง PCA ครอบคลุมการลงนามในข้อตกลง FTA
    • ปี 2556 ประเทศสมาชิก EU ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จำนวน 115 โครงการ มูลค่าการลงทุน 40,634 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 8.5% ของมูลค่าเงินทุนจาก ตปท. อยู่อันดับที่ 3 รองจากญี่ปุ่น อาเซียน ประเทศสมาชิก EU ที่ ลงทุนในไทยมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และฝรั่งเศส
    • อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องกำเนิดไฟฟฟ้า เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
    • ระยะสั้นส่งผลกระทบต่อ FDI น้อยเนื่องจากเศรษฐกิจ EU ยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว
    • ระยะยาวจะมีผลต่อการลงทุนมากขึ้น  เพราะ PCAมีผลต่อการวางรากฐานความร่วมมือด้านการลงทุน
      • ในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวจากยุโรป (ไม่รวมรัสเซีย) เดินทางมาไทยจำนวน  4.56 ล้านคน คิดเป็น 17.2% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ขยายตัว 5.2%(yoy) นักท่องเที่ยวอียูอยู่อันดับ 3 รองจากอาเซียน และจีน
      • 5 เดือนแรกของปี 2557 พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวจากอียูเท่ากับ 2.18 ล้านคน ขยายตัว 6.4%(yoy)
      • ได้รับผลกระทบน้อย เพราะระงับการเดินทางอย่างเป็นทางการของหน่วยงานราชการของ EU เท่านั้น
 

การลงทุน

   

การท่องเที่ยว

   

 

This document is issued by TMB Analytics, a division of TMB Bank PCL. All analyses are based on information available to the public. Although the information contained herein is believed to be reliable, TMB makes no guarantee to its accuracy and completeness. TMB may have issued, and may in the future issue, other reports that are inconsistent with, and reach different conclusions from, the information presented in this report. Opinions or predictions expressed herein reflect the authors’ views, not that of TMB, as of date of the analysis and are subject to change without notice. TMB shall not be responsible for the use of contents and its implication.

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!