- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Thursday, 26 June 2014 00:12
- Hits: 3753
เตรียมรับมือผลกระทบหลัง EU ลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินผลกระทบหลังสหภาพยุโรปลดระดับความสัมพันธ์กับไทย อาจทำให้ข้อตกลงทางการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต้องชะลอออกไป
จากกรณีสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศไทย ทำให้ข้อตกลงทางการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจต้องชะลอออกไปก่อน จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดอียู ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีการ sanction หรือห้ามธุรกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศ ผลกระทบต่อการทำธุรกิจและธุรกรรมระหว่างเอกชนด้วยกันเองจะยังไม่ได้รับผลกระทบมาก ทั้งนี้ ใจความหลักสำคัญของมติที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศอียูอยู่ในข้อ 4 ที่ว่า “ให้ประเทศสมาชิกอียูระงับการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน รวมถึงไม่ให้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย Partnership & Cooperation Agreement (PCA) จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง”ทาง TMB Analytics ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจออกเป็น 3 ส่วน ดังนี
ผลกระทบแรก คือ ผลกระทบต่อการส่งออก พบว่าการส่งออกสินค้าไปอียูในปีหน้าจะได้รับผลกระทบอยู่แล้ว เนื่องจากกรอบการได้รับสิทธิ์ GSP ของไทยจะหมดลงในปีนี้ เราประเมินว่า หากข้อตกลง PCA ครอบคลุมการลงนามในข้อตกลง FTA ยิ่งจะทำให้การเจรจาการค้าเสรีไทย-อียู และผลบังคับใช้เลื่อนออกไป ทำให้ในช่วงระหว่างรอเจรจา ผู้ส่งออกไทยต้องเสียภาษีขาเข้าในอัตราปกติ และอาจต้องสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันในตลาดยุโรป โดยเฉพาะสินค้าที่พึ่งพิงตลาดอียูมาก ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ไก่แปรรูป กุ้งแช่แข็ง และชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลกระทบลำดับถัดมา คือ ผลกระทบต่อการลงทุน เราประเมินว่า ในระยะสั้นน่าจะส่งผลกระทบน้อย เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งกดดันไม่ให้เม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศไทยอยู่แล้วแต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนได้ เนื่องจากการที่อียูระงับการเจรจา PCA ทำให้การวางฐานรากความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ รวมทั้งทางด้านการลงทุนต้องชะลอออกไปก่อนจนกว่าไทยจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง (มูลค่าเงินลงทุนของอียูในไทยอยู่อันดับที่ 3 คิดเป็น 8.5%ของเงินลงทุนต่างประเทศ รวม)และผลกระทบสุดท้าย คือ ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เราประเมินว่า ได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากมติประชุมดังกล่าว ไม่ได้บังคับพลเรือนให้เข้ามาในไทย มีผลเพียงการระงับการเดินทางอย่างเป็นทางการของหน่วยงานราชการของอียูเท่านั้นทั้งนี้ ตัวเลขนักท่องเที่ยวอียู 5 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายังขยายต้ว 6.4% (yoy) ในขณะที่ภาพรวมการท่องเที่ยวหดตัว -5.9%(yoy) อย่างไรก็ดี ต้องจับตาว่าจะมีการลดระดับความสัมพันธ์เพิ่มเติมหรือไม่ และด้วยมาตรการใด
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีมองว่าการลดระดับความสัมพันธ์ครั้งนี้ อาจทำให้ข้อตกลงด้านเศรษฐกิจระหว่างรัฐกับรัฐ (G2G) ต้องถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของภาครัฐ คือ จะต้องเร่งสร้างความชัดเจนแก่ภาคเอกชนถึงประกาศดังกล่าวว่า ครอบคลุมเศรษฐกิจด้านใดบ้าง เพื่อให้ภาคเอกชนได้ปรับตัว ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยเองก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเช่นกัน ด้วยการลดต้นทุนการผลิต และหาตลาดใหม่ รวมถึงออกไปแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังได้รับสิทธิ์ GSP อยู่ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะถัดไป<
สรุปการประเมินผลกระทบจากกรณีที่สหภาพยุโรปลดระดับความสัมพันธ์กับไทย
ภาคเศรษฐกิจ |
สถานะปัจจุบันระหว่างไทย – EU |
ประเมินผลกระทบ |
การส่งออก |
|
|
การลงทุน |
||
การท่องเที่ยว |
|