- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Monday, 20 April 2015 23:21
- Hits: 2297
ที่ร้อยละ 6-6.7 ส่วนไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 7.1 และอาจติดลบร้อยละ 0.6 ในไตรมาส 4 หากการร่างรัฐธรรมนูญและการกำหนดวันเลือกตั้งไม่เป็นไปตามโรดแมปที่วางไว้ ก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและภาวะเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะทำให้ทั้งปีเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ร้อยละ 3-3.9 ลดลง จากการคาดการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วได้ประเมินว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 4
ส่วนภาคการส่งออกทั้งปี คาดว่า จะขยายตัวได้ร้อยละ 1-2 จากเดิมที่จะขยายตัวได้ร้อยละ 5-6 เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยแรกการตัดจีเอสพีของสหภาพยุโรป ปัจจัยที่สอง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเพราะสินค้าส่งออกจำนวนไม้น้อยของไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของภาคผลิตเพื่อการส่งออกของจีน ปัจจัยที่สาม ความถดถอยของความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยที่เป็นปัญหาสะสมอย่างต่อเนื่องและปัจจัยสุดท้าย กำลังซื้อที่อ่อนแอของประเทศคู่ค้าหลักซึ่งได้รับผลกระทบมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงและการตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร
นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 3-4 และการบริโภคขยายตัวร้อยละ 2.5-3 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะยังมีข้อจำกัดในเรื่องของหนี้ครัวเรือนและราคาสินค้าเกษตรที่ลดลงร้อยละ 5 ทำให้กำลังซื้อและรายได้ภาคชนบทอ่อนแอ และคาดเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.2-0.5 ยังไม่พบสัญญาณเงินฝืด แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเงินฝืดหากการขยายตัวของเศรษฐกิจติดลบในช่วงครึ่งปีหลังจากปัญหาวิกฤตการเมืองรอบใหม่ โดยมีโอกาสชะลอตัวและอัตตราการเติบโตไตรมาส4 อาจติดลบได้เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
ทั้งนี้ รัฐบาลควรผลักดันเรื่องของการปฏิรูปภาษีทั้งระบบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและให้เกิดความเป็นธรรม โดยเสนอมาตรการเป็นแพ็คเกจ เช่น เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนขยายกิจการ