WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

IAAสมบัติ2

สมาคมนักวิเคราะห์คาด EPS 67 โต 12% เศรษฐกิจดี ดอกเบี้ยโลกลด หนุน SET Index สิ้นปีขึ้น 1,590

          นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลการสำรวจความเห็นสมาชิกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนรวม 26 สำนัก เกี่ยวกับมุมมองการลงทุนในไตรมาส 4 ปี 2566 สรุปได้ดังนี้

          สมมติฐานหลัก 

          ● ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของปีนี้ 80.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล 

          ● คาดการณ์ การขยายตัวของ GDP ไทยปี 2567 จากเดิมที่ 3.56% (ต.ค.66) ลดลงมาเหลือ 3.33%

          ● Risk Free Rate ที่ใช้ในการประเมินมูลค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.92% 

          ● Risk Premium ของตลาดหุ้น เฉลี่ยอยู่ที่ 7.68%

          สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางการลงทุนจนถึงสิ้นปี 2567 แบ่งเป็น

          ● ปัจจัยบวก ที่มีผู้โหวตมาเกินกว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถาม นำโดย ผลประกอบการของบจ.ปี 67 มีผู้ตอบแบบ

สำรวจ 92.59% ปัจจัยรองลงมา 92.31% โหวตให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยเศรษฐกิจภายในประเทศ มีผู้ตอบ 85.19% และ Fund Flows จากต่างประเทศสู่ตลาดหุ้นไทย มีผู้ตอบ 66.67% ตามลำดับ

          ● ส่วนปัจจัยด้านลบ นำมาจาก การลดหรือยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของประเทศสำคัญทั่วโลก มีผู้ตอบ 

81.48% 80% รองลงมาปัจจัยด้านการเมืองในต่างประเทศ มีผู้ตอบ 71.43% ตามมาด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลก มีผู้ตอบ 59.26% ตามลำดับ

          ● ด้านคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ณ สิ้นปี 2567 มีนักวิเคราะห์ถึง 62.50% ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับเดิม คือ 

2.50% รองลงมามี 20.83% ของผู้ตอบ มองว่าจะลงไปที่ 2.25% และมีผู้ตอบ 12.50% มองว่าลงไปที่ 2.00% อย่างไรก็ตามมีผู้ตอบ 4.17% มองสวนทางว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 2.75%

          ● ทางด้านคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2567 ของตลาดเฉลี่ยที่ 95.62 บาท ปรับลดจากผลสำรวจครั้งก่อน ซึ่งอยู่

ที่ 99.47 บาทต่อหุ้น และคาดว่า EPS Growth ของปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 12.32% 

          ● ทางด้าน คาดการณ์ SET Index ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นไปปิดสิ้นไตรมาสแรกที่ 1476 

จุด และเมื่อมองตลอดปี จะแกว่งตัวในกรอบ 1340 ถึง 1612 จุด โดยไปปิดสิ้นปี 2567 ที่ 1590 จุด

          ● นักวิเคราะห์แนะนำให้มีการกระจายพอร์ตการลงทุน แบ่งเป็น

               - เงินสดและเงินฝากระยะสั้น 8.96%

               - กองทุนตราสารหนี้ 25.63% 

               - หุ้นหรือกองทุนหุ้นต่างประเทศ 23.67%

               - หุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นไทย 22.79%

               - กองทุนอสังหาฯหรือ REIT 9.17%

               - ทองคำหรือกองทุนทองคำ 8.75%

               - สินทรัพย์อื่นๆ เช่น Bitcoin, น้ำมัน 1.03%

          โดยความเห็นต่อการลงทุนต่างประเทศนั้น แนะนำให้ลงทุนกองทุนหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และ Selective Asia เช่น เกาหลี และเวียดนาม

          สำหรับในการลงทุนหุ้นไทยนั้น แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหมวดธุรกิจ ค้าปลีก อาหาร เงินทุน/หลักทรัพย์ และการท่องเที่ยว ในขณะที่ให้ลดน้ำหนักการลงทุนใน หมวดธุรกิจก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ รายที่มีหนี้สูง และธุรกิจประกัน

          รายชื่อหุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำตรงกันตั้งแต่ 5 สำนักขึ้นไป พร้อมประเด็นหลักสนับสนุน มีดังนี้ (เรียงชื่อตามอักษรย่อ)

          1. AOT มองว่าได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวดีขึ้น โดยในปี 2567 คาดนักท่องเที่ยว 34.5-35 ล้านคน จากปี 2566 ที่ 27-28 ล้านคน คาดว่าจะเห็นมาตรการรัฐสนับสนุนเพิ่มเติม และนอกจากผลประกอบการจะฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว ยังอยู่ระหว่างศึกษาการปรับขึ้นค่า PSC และการเก็บค่า Transit/Transfer รวมถึงการรอรับโอน 3 สนามบินจากกรมท่าอากาศยาน

          2. CPALL โดยได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยว High Season และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล Easy E-Receipt ตลอดจนการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึง Digital wallet ในปี 2567 ช่วยหนุนการจับจ่ายใช้สอย

          3. CPN โดยมองว่า ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งยังมีแผนการเปิดโครงการใหม่ในระยะยาว มองเป็นหุ้นที่น่าจะเป็นเป้าของกองทุน ThaiESG

          4. GPSC ปัจจัยสนับสนุนจาก Bond Yield ที่ปรับตัวลง และคาดกำไรปี 2567 โต 31% ฟื้นตัวตามค่าไฟที่คาดทยอยปรับขึ้น ขณะที่ต้นทุนก๊าซมีแนวโน้มค่อยๆ ลดลง

          สำหรับหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ หุ้น DELTA เกินมูลค่าปัจจัยพื้นฐานไปมาก และหุ้นรายตัวที่มีภาระกู้ยืมสูง/เพิ่มทุน 

          ท้ายที่สุด นักวิเคราะห์ยังได้เพิ่มเติมการแนะนำไปยังรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายที่จะมีผลบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ มีความคุ้มค่ากับผลกระทบทางงบประมาณ โดยส่วนใหญ่กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แยกเป็นการลงทุนภาครัฐที่หนุนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ถัดมาคือด้านการช่วยเหลือภาคประชนได้แก่ มาตรการลดค่าครองชีพ อย่างไรก็ตามเรื่องนโยบายแจกเงินนั้นอยากให้เปลี่ยนเป็นโครงการกระตุ้นการบริโภค (คล้ายคนละครึ่ง) หรือนโยบายช้อปช่วยชาติ และตามมาด้วย เสนอนโยบายด้านการช่วยเหลือภาคธุรกิจได้แก่ นโยบายกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ เร่งแผนยกระดับศักยภาพการผลิตไทย ส่งเสริม FDI ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ รวมถึงกระตุ้นการลงทุนเอกชนในประเทศเกี่ยวกับ New technology และ ESG

 

 

1143

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!