WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

91022 KT Compass

Krungthai COMPASS ชี้ กนง. ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด 0.25% สู่ระดับ 2.5% สิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในรอบนี้

โดย ฉมาดนัย มากนวล

ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง

Krungthai COMPASS

 

Key Highlights

          ● กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 2.50 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจอยู่ในทิศทางฟื้นตัวจากปัจจัยหนุนด้านการบริโภคภาคเอกชน แม้เศรษฐกิจปี 2566 จะขยายตัวชะลอลงจากอุปสงค์ต่างประเทศ แต่เศรษฐกิจปี 2567 จะขยายตัวเร่งขึ้นจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัว สำหรับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ 

          ● Krungthai COMPASS ประเมินว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในรอบนี้แล้ว จากการสื่อสารของ กนง. ที่ชี้ว่า“อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นระดับที่เหมาะสม” อีกทั้ง มุมมองของ กนง. ต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะยาวที่ประเมินว่ามีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย เอื้อให้ กนง. อาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้รวมถึงตลอดช่วงปีหน้า

 

          กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 8 ติดต่อกัน สู่ร้อยละ 2.5 ต่อปี สูงสุดในรอบ 10 ปี

          กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 5/2566 พร้อมสื่อสารถึงอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นระดับที่เหมาะสม โดยมีสาระสำคัญดังนี้

          ● เศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัวโดยมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคเอกชน แม้เศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า ส่งผลให้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.8 (จากร้อยละ 3.6) อย่างไรก็ดี ปี 2567 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ร้อยละ 4.4 (จากร้อยละ 3.8) จากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว รวมถึงแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

          ● อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 และ 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 และ 2.6 ตามลำดับ โดยในปี 2566 อยู่ในระดับต่ำจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐและผลของฐานที่สูงในปีก่อน ขณะที่ปี 2567 มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ อีกทั้ง ยังมีความเสี่ยงด้านสูงจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายภาครัฐ และปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจรุนแรงกว่าคาด

 

91022 KT Compass01

 

          ● มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ด้านคุณภาพสินเชื่ออาจได้รับแรงกดดันจากความสมารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ฟื้นตัวช้า ขณะที่ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง

          ● ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้างสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของภาคเอกชนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อภาคเอกชนชะลอลงหลังจากเร่งไปมากในช่วงวิกฤต แต่ประเมินว่าจะฟื้นตัวสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าตามทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับนักลงทุนรอความชัดเจนของนโยบายภาครัฐที่อาจมีนัยต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพด้านการคลังในอนาคต

 

91022 KT Compass02

 

Implication:

          ● Krungthai COMPASS ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.5% เป็นระดับสูงสุดของวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น (Terminal Rate) สะท้อนจากการสื่อสารของ กนง. ที่ชัดเจนว่า “อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว” หลังจากที่ได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 8 ครั้ง เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย นอกจากนี้ แม้ว่า กนง. ไม่ได้ปิดโอกาสของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจากเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่อาจมีความเสี่ยงด้านสูง แต่ Krungthai COMPASS ประเมินว่าโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าค่อนข้างจำกัด จากอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวที่จะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายแม้มีปัจจัยกดดันจากปรากฎการณ์เอลนีโญนอกจากนี้ แรงกดดันภายนอกมีแนวโน้มลดลงหลังธนาคารกลางของประเทศหลักฝั่งตะวันตกมีโอกาสที่จะยุติวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและคงดอกเบี้ยสูงไว้ต่อไปในระยะข้างหน้า เอื้อให้ ธปท. อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเช่นกัน

 

 

A91022

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!