WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

51087 finbiz

ESG ไม่ใช่แค่กระแส แต่ธุรกิจทุกขนาดต้องทำ เพราะ ‘ความยั่งยืน’ สร้างโอกาส

          ในทุกวันนี้เรื่องที่อยู่ใน “กระแส” ของธุรกิจที่ใครๆ ก็พูดถึง หนีไม่พ้นเรื่อง “ESG” แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวของ ESG ไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องทำ โดย ESG นั้นกล่าวง่ายๆ ก็คือ แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 มิติ คือมิติของแนวทางการพัฒนาด้าน สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ หลักธรรมมาภิบาล (Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต

          finbiz by ttb วิเคราะห์ว่า แรงหนุนที่ทำให้ธุรกิจต้องรีบพัฒนาองค์กรตามแนวคิด ESG ไม่ใช่เพียงเพราะว่า ธุรกิจเป็นส่วนหลักในการสนับสนุนโลกให้ยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังมีแรงหนุนอื่นๆ ทำให้ธุรกิจตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึง SME ต้องสนใจ จำเป็นต้องเข้าถึง และใช้แนวคิด ESG ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่

          1) ความกังวลด้านวิกฤตการเปลี่ยนแปลง และ Climate Crisis & Environmental Concerns การคาดหวังว่าธุรกิจจะมีส่วนช่วยลดอุณหภูมิโลกให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้ โดยเป็นการคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

          2) กฎระเบียบต่างๆ (Regulatory Driven) เช่น พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต ถ้าธุรกิจมีการปล่อยคาร์บอนสูง ในอนาคตสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การจ่ายชดเชยในสิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปจากการทำธุรกิจ ในรูปของภาษีคาร์บอน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น

          3) ความห่วงใยด้านสังคม (Social Concerns) ปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อทุกคนโดยเท่าเทียมมากขึ้น โดยเฉพาะคน Gen Z แรงงานกลุ่มใหญ่ที่เริ่มเข้ามาสู่องค์กรให้ความสำคัญในด้านนี้ โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานระดับ Talent ยิ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ 

          4) ชื่อเสียงของบริษัท (Company’s Reputation) องค์กรที่มีแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนที่ชัดเจน ย่อมสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เกิดกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หุ้นส่วน และพันธมิตรต่างๆ

 

          ความยั่งยืนคือ “โอกาส” ทำแล้วดีอย่างไร? 

          1) ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ความยั่งยืนเป็นตัวช่วยประหยัดต้นทุนมหาศาล เช่น ลดค่าไฟ ค่าน้ำ และกำจัดของเสียให้เป็นศูนย์ ทำให้กระบวนทางธุรกิจ LEAN มากขึ้น ตอบโจทย์ทางด้านการเงิน และองค์กรสามารถทำกำไรในการแข่งขันได้มากขึ้น

          2) เพิ่มอำนาจการแข่งขัน เพิ่มความมั่นคง การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์เทรนด์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป จะช่วยลดความเสี่ยงและทำให้องค์กรมีขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น 

          3) ดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ในระดับพรสวรรค์ ความยั่งยืนเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถให้อยากจะร่วมงานกับองค์กร ถ้าดูแลพนักงานอย่างดี พนักงานย่อมอยากจะอยู่กับองค์กรไปนานๆ ต้นทุนในการสรรหาบุคลากร การวางแผนกำลังคนเพื่อทดแทนบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย

          4) ดึงดูดนักลงทุน แนวคิด ESG เป็นแต้มต่อในการหาเม็ดเงิน หรือระดมทุนของบริษัทในอนาคต เนื่องจากนักลงทุนและสถาบันการเงินยุคนี้จะพิจารณาเรื่องความยั่งยืน ก่อนจะตัดสินใจเข้าไปลงทุน หรือปล่อยกู้ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง 

          5) โอกาสในการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ๆ หลายบริษัทผนวก ESG เข้ากับธุรกิจ จนสามารถออกผลิตภัณฑ์นวัตกรรม หรือเกิดธุรกิจใหม่ได้สำเร็จ

          6) เสริมภาพลักษณ์องค์กร ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันที่ผู้คนหันมาสนใจความยั่งยืนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

          ดังนั้น ผู้ประกอบการจะเห็นได้ว่า ESG ไม่ใช่กระแส หากไม่รีบเริ่มตั้งแต่วันนี้จะทำให้เสียโอกาส และอำนาจในการแข่งขันทั้งหมดไป ธุรกิจที่เริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันจะต้องเริ่มได้แล้ว ในมิติใดมิติหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม หรือ ธรรมาภิบาล โดยผู้นำองค์กรที่เห็นความสำคัญจะสามารถผลักดันองค์กรและผนวกแนวคิด ESG ได้โดยไม่ใช่เรื่องยาก

 

ที่มา : งานสัมมนา “ลงทุนเพื่อความยั่งยืน เริ่มต้นจากการสร้างคน” โดย ttb

 

 

A51087

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!