WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

TRIS4

ฝ่ามรสุมวิกฤติโควิด 19 : แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564

25 กุมภาพันธ์ 2564

Key Points

  • ทริสเรทติ้ง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 2.6% โดยที่การกลับมาระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด 19 เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วในระยะใกล้
  • ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 รอบใหม่และมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรในกลุ่มเปราะบางเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการอุปสงค์ภายในประเทศที่ซบเซาและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย

           อุปสงค์การส่งออกจะฟื้นตัวบนพื้นฐานของความไม่แน่นอนจากการมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 รอบใหม่ทั่วโลก แต่การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลกและการเริ่มฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ สร้างความหวังว่าการฟื้นตัวจะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ตารางที่ 1: ประมาณการตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ

     
 

ปี 2562

ปี 2563

ปี 2564F

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (%)

2.4

-6.1

2.6

·        การบริโภคภาคเอกชน

4.5

-1.0

1.5

·        การบริโภคของภาครัฐ

1.4

0.8

5.0

·        การลงทุนของภาคเอกชน

2.8

-8.4

3.7

·        การลงทุนของภาครัฐ

0.2

5.7

8.0

·        การส่งออกสินค้าและบริการ

-2.6

-19.4

0.7

·        การนำเข้าสินค้าและบริการ

-4.4

-13.3

0.3

จำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน)

39.9

6.7

3.0-4.0

F = ประมาณการ
ที่มา
: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา และทริสเรทติ้ง


       ทริสเรทติ้ง คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 2.6% โดยฟื้นจากการหดตัวที่ระดับ 6.1% ในปี 2563 ซึ่งหดตัวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 ที่หดตัวในระดับ 7.6% โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่กลับมาระบาดรอบใหม่ได้สร้างอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มเห็นสัญญาณบ้างแล้วอีกครั้งโดยเน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะใกล้

        การกลับมาระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 มีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าการระบาดในรอบแรกเป็นอย่างมากซึ่งวัดจากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน อย่างไรก็ตาม ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เริ่มมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากการเร่งใช้มาตรการเชิงรุกของภาครัฐ อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตจากการระบาดรอบใหม่ก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารอบแรกเป็นอย่างมากทั้งๆ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า

       ทริสเรทติ้ง ตั้งสมมติฐานว่ามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะสามารถลดและควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศต่อวันไม่ให้กลับมาเพิ่มขึ้นได้อย่างมีเสถียรภาพได้ภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และรัฐบาลจะสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่ โดยทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะกลับมาขยายตัวได้ตั้งแต่
     ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์การระบาดที่จะคลี่คลายลงตามจำนวนประเทศและการเข้าถึงวัคซีนที่จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ในการนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าประสิทธิภาพในการใช้วัคซีนทั่วโลกจะส่งผลให้รัฐบาลไทยสามารถผ่อนคลายมาตรการกักตัวผู้เดินทางที่มาจากต่างประเทศได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 โดยทริสเรทติ้งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้าในประเทศไทยในปี 2564 จะอยู่ที่ระดับ 3 ถึง 4 ล้านคน

จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลง



กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงเริ่มปรับตัวดีขึ้น

ยอดสะสม

ภาพที่ 1: จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันรายใหม่และสะสม (คน), ข้อมูล ณ 22 ก.พ. 2564

การระบาดรอบใหม่

ภาพที่ 2: Apple Mobility Index, ข้อมูล ณ 20 ก.พ. 2564

   

ที่มา: กรมควบคุมโรค

ที่มา: Apple Mobility Trend Report

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของการระบาดรอบใหม่และการขาดรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ภาพที่ 3: ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยรายไตรมาส (% y-o-y)

 

 

ปัจจัยสนับสนุน

+      มาตรการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐทั่วโลก

+      การฉีดวัคซีน

+      การเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่จะแสวงหาความร่วมมือกับนานาประเทศ

 

ปัจจัยจำกัด

-        การระบาดของโรคโควิดรอบใหม่

-        ผลกระทบจากโรคโควิด 19 ต่อการจ้างงาน หนี้ครัวเรือน และสภาพคล่องของภาคธุรกิจ

-        ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น

-        การแข็งค่าของเงินบาท

ที่มา: สศช. และทริสเรทติ้ง

อุปสงค์ภาคเอกชนยังคงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดในปี 2563

        การบริโภคและการลงทุนในภาคเอกชนยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยได้รับผลจากการกลับมาระบาดของโรคโควิด 19 รอบใหม่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงได้รับผลกระทบจากการทรุดตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดในปี 2563 อยู่อย่างหนักอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องการว่างงาน หนี้ครัวเรือน และสภาพคล่องของธุรกิจ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนในอนาคตของภาคเอกชนจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจ และความสำเร็จในการเร่งรัดโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของภาครัฐเป็นสำคัญ โดย
ทริสเรทติ้งคาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 1.5% และ 3.7% ตามลำดับ



จำนวนคนว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกตามการระบาดรอบใหม่

ชั่วโมงทำงานของธุรกิจโรงแรมและบันเทิงหดตัวรุนแรงในช่วง Lockdown

ภาพที่ 4: จำนวนผู้ขอรับผลประโยชน์ทดแทนสะสมกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม (คน)

ภาพที่ 5: จำนวนชั่วโมงทำงานในภาคเอกชนโดยเฉลี่ยรายสัปดาห์ (ชั่วโมง)

วิกฤติการณ์การเงินโลก

สงครามการค้า

การระบาดของโรคโควิด 19

Lockdown

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม

ที่มา: สศช.

ในด้านสภาวะการจ้างงานนั้น ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในปี 2563 ส่งผลให้เกิดภาวะว่างงานในประเทศเพิ่มสูงขึ้นโดยมีผู้ประกันตนขอรับสิทธิ์เพื่อรับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานสะสมจำนวนมากถึง 395,013 คน ณ สิ้นปี 2563  (คิดเป็นประมาณ 3.6% ของผู้ประกันตนภาคบังคับตามมาตรา 33) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนเฉพาะแรงงานในระบบประกันสังคมเท่านั้น (45% ของแรงงานทั้งหมด) โดยแม้ว่ายอดตัวเลขสะสมของผู้ขอรับสิทธิ์ได้ปรับตัวลดลงจากระดับสูงที่สุดในเดือนตุลาคม 2563 ที่จำนวน 491,662 คนแล้ว แต่ทริสเรทติ้งก็คาดว่าจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีกตามสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ที่ยังไม่คลี่คลาย

ในช่วงที่มีการใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ชั่วโมงการทำงานของภาคเอกชนหดตัวลงในเกือบทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารและกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจด้านศิลปะ บันเทิง และกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งธุรกิจที่เน้นให้บริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่ปิดและมีการรวมตัวทางสังคม เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์นั้นมีความเปราะบางต่อสถานการณ์ที่ประเทศขาดนักท่องเที่ยวและมีการใช้มาตรการควบคุมการระบาดมากที่สุด โดยธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวยังได้รับแรงกดดันจากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและมีความเสี่ยงต่อการปิดกิจการแบบถาวรอีกด้วย ซึ่งผู้ประกอบการที่รอดพ้นจากวิกฤติมาได้ก็มีแนวโน้มที่จะใช้เวลาที่ยาวนานและค่อยเป็นค่อยไปในการฟื้นตัว

การใช้จ่ายภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุปสงค์ภายในประเทศ

ทริสเรทติ้งมองว่ามาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐบาลไทยที่มีให้แก่กลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางนั้นได้ผลในระดับหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภาครัฐก็ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับระบบเศรษฐกิจไทยต่อไปในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า โดย
ทริสเรทติ้งประมาณการว่าการบริโภคและการลงทุนภาครัฐในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 5.0% และ 8.0% ตามลำดับโดยมีปัจจัยสนับสนุน 2 ด้านจาก
(1) เงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งยังคงเหลือวงเงินเบิกจ่ายอีกประมาณ 6.3 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564) ที่สามารถนำมาใช้ได้ และ (2) งบลงทุนในงบประมาณประจำปี 2564 จำนวน 6.5 แสนล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้น 16.3% จากปีงบประมาณก่อนหน้า โดยโครงการลงทุนที่สำคัญที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการทางด่วนมอเตอร์เวย์-พระราม 3-วงแหวนตะวันตก เป็นต้น

อุปสงค์ภายนอกคาดว่าจะฟื้นตัวช้าโดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวมีความไม่แน่นอนสูง

ทริสเรทติ้งมองว่าภาคการส่งออกนั้นมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเนื่องจากประเทศเศรษฐกิจหลักยังคงได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 โดยการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 0.7% และ 0.3% ตามลำดับ ทริสเรทติ้งมองว่าอุปสงค์โลกจะขับเคลื่อนโดยประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดและฟื้นคืนเศรษฐกิจในประเทศกลับมาได้อย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาภายในปีนี้จากการใช้วัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้นในประเทศต่างๆ ในขณะที่การเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะแสวงหาความร่วมมือระหว่างภูมิภาคนั้นก็จะช่วยสนับสนุนทิศทางการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ด้วย

การระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด 19 ในประเทศต่างๆ และปัญหาต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่าการใช้วัคซีนอย่างต่อเนื่องและการเร่งผลิตตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มมากขึ้นในประเทศจีนจะช่วยให้สถานการณ์ดังกล่าวค่อย ๆ คลี่คลายลงได้ โดยคาดว่าปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จะหมดไปภายในครึ่งแรกของปี 2564 นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยจำกัดการฟื้นตัวของการส่งออกต่อไป โดยการแข็งค่าของเงินบาทมีสาเหตุหลักมาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของประเทศสหรัฐฯ ที่จะส่งผลต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

ทริสเรทติ้งเชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการแข็งค่าของเงินบาทในอนาคตมี 2 ประการ ประการแรก การใช้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจรอบใหม่จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรควิด 19 ของประเทศสหรัฐฯ จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลการคลังมากขึ้น อีกทั้งยังจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดซึ่งจะสร้างแรงกดดันจนทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง และประการที่ 2 ศักยภาพทางเศรฐกิจที่สูงกว่าของกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียจะสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินลงทุนระหว่างประเทศอย่างมหาศาลซึ่งจะสร้างอุปสงค์ให้เกิดกับสกุลเงินที่เป็นที่นิยมในภูมิภาค เช่น เงินบาท

รัฐบาลประเทศต่างๆ จะมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ในปี 2564

ตารางที่ 2: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ

ประเทศ

พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

% ต่อ GDP 2562

 

มาตรการทางการคลัง

มาตรการทางการเงิน

 

มาตรการทางการคลัง

มาตรการทางการเงิน

สหราชอาณาจักร

241

437

 

9.2

16.6

สหรัฐอเมริกา

2,449

510

 

11.8

2.5

ออสเตรเลีย

157

24

 

11.7

1.8

สหภาพยุโรป

489

875

 

3.8

6.9

ญี่ปุ่น

555

1163

 

11.3

23.7

เกาหลีใต้

55

164

 

3.5

10.3

จีน

707

198

 

4.6

1.3

บราซิล

113

86

 

8.3

6.3

อินเดีย

46

135

 

1.8

5.2

อินโดนีเซีย

29

13

 

2.7

1.2

สิงคโปร์

54.3

15.9

 

16.1

4.7

มาเลเซีย

14.9

11.9

 

4.4

3.5

ฟิลิปปินส์

8.5

3.9

 

2.3

1.1

ไทย

41.7

21.7

 

8.2

4.3

ทั้งโลก

5,953

5,791

 

5.9

6.0

ที่มา: International Monetary Fund (IMF)



ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาท

ภาพที่ 6: ดัชนีราคาตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต (ดอลลาร์สหรัฐฯ),
ข้อมูล ณ  18 ก.พ. 2564

ภาพที่ 7: ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ,
ข้อมูล ณ 22 ก.พ. 2564

 

ค่าเงินบาท (THB)

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY Index)

ที่มา: Bloomberg

ที่มา: ธปท. และ Bloomberg

         ทริสเรทติ้ง มองว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวยังอยู่บนความไม่แน่นอนเป็นอย่างมากภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 การฟื้นตัวของแต่ละประเทศอาจต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงและบริหารการใช้วัคซีนให้แก่ประชาชนของรัฐบาล รวมถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคโควิด 19 ที่มีต่อรายได้และความมั่นคงในชีวิตของคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้วัคซีนในประเทศต่างๆ มากกว่า 90 ประเทศ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในทางบวกต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยภายใต้กรณีฐาน ทริสเรทติ้งคาดว่ารัฐบาลไทยจะสามารถผ่อนคลายมาตรการกักตัวให้กับผู้เดินทางมาจากกลุ่มประเทศที่มีการฉีดวัคซีนและมีอัตราการติดเชื้อต่ำได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 และประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ระดับ 3 ถึง 4 ล้านคนในปี 2564

วัคซีนได้แจกจ่ายไปแล้วมากกว่า 209 ล้านโดสใน 92 ประเทศ

ตารางที่ 3: จำนวนวัคซีนที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้แจกจ่ายในประเทศ, ข้อมูล ณ 23 ก.พ. 2564

ประเทศ

จำนวนวัคซีนที่จัดหาแล้ว

ต่อประชากร 100 คน

% ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด

ได้รับการฉีด 1 เข็ม

ได้รับการฉีด 2 เข็ม

สหรัฐอเมริกา

64,177,474

19.3

13.3

5.9

จีน

40,500,000

2.9

สหภาพยุโรป

27,199,008

6.1

3.9

2.1

สหราชอาณาจักร

18,348,165

27.5

26.5

0.9

อินเดีย

11,424,094

0.8

0.8

0.1

อิสราเอล

7,445,596

82.3

48.7

33.5

อินเดีย

7,080,711

3.4

2.8

0.6

บราซิล

7,076,161

8.5

7.2

1.4

ตุรกี

5,557,793

51.7

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

2,308,157

1.4

1.4

บังคลาเทศ

2,009,120

0.8

0.5

0.3

อินโดนีเซีย

722,234

1.6

1.0

0.6

อาร์เจนติน่า

256,000

4.5

4.4

1.9

สิงค์โปร์

104,580

0.2

0.2

พม่า

11,934

0.0

ญี่ปุ่น

5,860

0.0

0.0

เขมร

85,594

0.2

0.2

โลก

209,766,690

ที่มา: Bloomberg

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

Contacts

   วิทวัส ประยุกต์วงศ์
   [email protected]

   เรืองวุฒิ จารุรังสีพงค์
   [email protected]

   ไรทิวา นฤมล
   [email protected]

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด                                                                                                                                                                                                            อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500  โทร. 02-098-3000  

         © บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564  ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้

         ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: www.trisrating.com/th/rating-information/rating-criteria/

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!