- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Sunday, 28 February 2021 23:02
- Hits: 14281
ฝ่ามรสุมวิกฤติโควิด 19 : แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564
25 กุมภาพันธ์ 2564
Key Points
- ทริสเรทติ้ง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 2.6% โดยที่การกลับมาระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด 19 เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วในระยะใกล้
- ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 รอบใหม่และมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรในกลุ่มเปราะบางเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการอุปสงค์ภายในประเทศที่ซบเซาและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย
อุปสงค์การส่งออกจะฟื้นตัวบนพื้นฐานของความไม่แน่นอนจากการมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 รอบใหม่ทั่วโลก แต่การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลกและการเริ่มฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ สร้างความหวังว่าการฟื้นตัวจะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1: ประมาณการตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ |
|||
ปี 2562 |
ปี 2563 |
ปี 2564F |
|
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (%) |
2.4 |
-6.1 |
2.6 |
· การบริโภคภาคเอกชน |
4.5 |
-1.0 |
1.5 |
· การบริโภคของภาครัฐ |
1.4 |
0.8 |
5.0 |
· การลงทุนของภาคเอกชน |
2.8 |
-8.4 |
3.7 |
· การลงทุนของภาครัฐ |
0.2 |
5.7 |
8.0 |
· การส่งออกสินค้าและบริการ |
-2.6 |
-19.4 |
0.7 |
· การนำเข้าสินค้าและบริการ |
-4.4 |
-13.3 |
0.3 |
จำนวนนักท่องเที่ยว (ล้านคน) |
39.9 |
6.7 |
3.0-4.0 |
F = ประมาณการ
ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา และทริสเรทติ้ง
ทริสเรทติ้ง คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 2.6% โดยฟื้นจากการหดตัวที่ระดับ 6.1% ในปี 2563 ซึ่งหดตัวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 ที่หดตัวในระดับ 7.6% โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่กลับมาระบาดรอบใหม่ได้สร้างอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มเห็นสัญญาณบ้างแล้วอีกครั้งโดยเน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะใกล้
การกลับมาระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 มีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าการระบาดในรอบแรกเป็นอย่างมากซึ่งวัดจากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน อย่างไรก็ตาม ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เริ่มมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากการเร่งใช้มาตรการเชิงรุกของภาครัฐ อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตจากการระบาดรอบใหม่ก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารอบแรกเป็นอย่างมากทั้งๆ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า
ทริสเรทติ้ง ตั้งสมมติฐานว่ามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะสามารถลดและควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศต่อวันไม่ให้กลับมาเพิ่มขึ้นได้อย่างมีเสถียรภาพได้ภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และรัฐบาลจะสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มที่ โดยทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะกลับมาขยายตัวได้ตั้งแต่
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์การระบาดที่จะคลี่คลายลงตามจำนวนประเทศและการเข้าถึงวัคซีนที่จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ในการนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าประสิทธิภาพในการใช้วัคซีนทั่วโลกจะส่งผลให้รัฐบาลไทยสามารถผ่อนคลายมาตรการกักตัวผู้เดินทางที่มาจากต่างประเทศได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 โดยทริสเรทติ้งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้าในประเทศไทยในปี 2564 จะอยู่ที่ระดับ 3 ถึง 4 ล้านคน
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลง |
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงเริ่มปรับตัวดีขึ้น |
||
ภาพที่ 1: จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันรายใหม่และสะสม (คน), ข้อมูล ณ 22 ก.พ. 2564 |
ภาพที่ 2: Apple Mobility Index, ข้อมูล ณ 20 ก.พ. 2564 |
||
ที่มา: กรมควบคุมโรค |
ที่มา: Apple Mobility Trend Report |
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของการระบาดรอบใหม่และการขาดรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ภาพที่ 3: ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยรายไตรมาส (% y-o-y) |
|
ปัจจัยสนับสนุน + มาตรการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐทั่วโลก + การฉีดวัคซีน + การเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่จะแสวงหาความร่วมมือกับนานาประเทศ
ปัจจัยจำกัด - การระบาดของโรคโควิดรอบใหม่ - ผลกระทบจากโรคโควิด 19 ต่อการจ้างงาน หนี้ครัวเรือน และสภาพคล่องของภาคธุรกิจ - ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น - การแข็งค่าของเงินบาท |
|
ที่มา: สศช. และทริสเรทติ้ง |
อุปสงค์ภาคเอกชนยังคงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดในปี 2563
การบริโภคและการลงทุนในภาคเอกชนยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยได้รับผลจากการกลับมาระบาดของโรคโควิด 19 รอบใหม่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงได้รับผลกระทบจากการทรุดตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดในปี 2563 อยู่อย่างหนักอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องการว่างงาน หนี้ครัวเรือน และสภาพคล่องของธุรกิจ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนในอนาคตของภาคเอกชนจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจ และความสำเร็จในการเร่งรัดโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของภาครัฐเป็นสำคัญ โดย
ทริสเรทติ้งคาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 1.5% และ 3.7% ตามลำดับ
จำนวนคนว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกตามการระบาดรอบใหม่ |
ชั่วโมงทำงานของธุรกิจโรงแรมและบันเทิงหดตัวรุนแรงในช่วง Lockdown |
||||
ภาพที่ 4: จำนวนผู้ขอรับผลประโยชน์ทดแทนสะสมกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม (คน) |
ภาพที่ 5: จำนวนชั่วโมงทำงานในภาคเอกชนโดยเฉลี่ยรายสัปดาห์ (ชั่วโมง) |
||||
|
|
||||
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม |
ที่มา: สศช. |
ในด้านสภาวะการจ้างงานนั้น ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในปี 2563 ส่งผลให้เกิดภาวะว่างงานในประเทศเพิ่มสูงขึ้นโดยมีผู้ประกันตนขอรับสิทธิ์เพื่อรับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานสะสมจำนวนมากถึง 395,013 คน ณ สิ้นปี 2563 (คิดเป็นประมาณ 3.6% ของผู้ประกันตนภาคบังคับตามมาตรา 33) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนเฉพาะแรงงานในระบบประกันสังคมเท่านั้น (45% ของแรงงานทั้งหมด) โดยแม้ว่ายอดตัวเลขสะสมของผู้ขอรับสิทธิ์ได้ปรับตัวลดลงจากระดับสูงที่สุดในเดือนตุลาคม 2563 ที่จำนวน 491,662 คนแล้ว แต่ทริสเรทติ้งก็คาดว่าจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีกตามสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ที่ยังไม่คลี่คลาย
ในช่วงที่มีการใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ชั่วโมงการทำงานของภาคเอกชนหดตัวลงในเกือบทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารและกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจด้านศิลปะ บันเทิง และกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งธุรกิจที่เน้นให้บริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่ปิดและมีการรวมตัวทางสังคม เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์นั้นมีความเปราะบางต่อสถานการณ์ที่ประเทศขาดนักท่องเที่ยวและมีการใช้มาตรการควบคุมการระบาดมากที่สุด โดยธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวยังได้รับแรงกดดันจากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและมีความเสี่ยงต่อการปิดกิจการแบบถาวรอีกด้วย ซึ่งผู้ประกอบการที่รอดพ้นจากวิกฤติมาได้ก็มีแนวโน้มที่จะใช้เวลาที่ยาวนานและค่อยเป็นค่อยไปในการฟื้นตัว
การใช้จ่ายภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุปสงค์ภายในประเทศ
ทริสเรทติ้งมองว่ามาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ของรัฐบาลไทยที่มีให้แก่กลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางนั้นได้ผลในระดับหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภาครัฐก็ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับระบบเศรษฐกิจไทยต่อไปในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า โดย
ทริสเรทติ้งประมาณการว่าการบริโภคและการลงทุนภาครัฐในปี 2564 จะขยายตัวที่ระดับ 5.0% และ 8.0% ตามลำดับโดยมีปัจจัยสนับสนุน 2 ด้านจาก
(1) เงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งยังคงเหลือวงเงินเบิกจ่ายอีกประมาณ 6.3 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564) ที่สามารถนำมาใช้ได้ และ (2) งบลงทุนในงบประมาณประจำปี 2564 จำนวน 6.5 แสนล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้น 16.3% จากปีงบประมาณก่อนหน้า โดยโครงการลงทุนที่สำคัญที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการทางด่วนมอเตอร์เวย์-พระราม 3-วงแหวนตะวันตก เป็นต้น
อุปสงค์ภายนอกคาดว่าจะฟื้นตัวช้าโดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวมีความไม่แน่นอนสูง
ทริสเรทติ้งมองว่าภาคการส่งออกนั้นมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเนื่องจากประเทศเศรษฐกิจหลักยังคงได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 โดยการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 0.7% และ 0.3% ตามลำดับ ทริสเรทติ้งมองว่าอุปสงค์โลกจะขับเคลื่อนโดยประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดและฟื้นคืนเศรษฐกิจในประเทศกลับมาได้อย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาภายในปีนี้จากการใช้วัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้นในประเทศต่างๆ ในขณะที่การเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะแสวงหาความร่วมมือระหว่างภูมิภาคนั้นก็จะช่วยสนับสนุนทิศทางการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ด้วย
การระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด 19 ในประเทศต่างๆ และปัญหาต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่าการใช้วัคซีนอย่างต่อเนื่องและการเร่งผลิตตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มมากขึ้นในประเทศจีนจะช่วยให้สถานการณ์ดังกล่าวค่อย ๆ คลี่คลายลงได้ โดยคาดว่าปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จะหมดไปภายในครึ่งแรกของปี 2564 นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยจำกัดการฟื้นตัวของการส่งออกต่อไป โดยการแข็งค่าของเงินบาทมีสาเหตุหลักมาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของประเทศสหรัฐฯ ที่จะส่งผลต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ทริสเรทติ้งเชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการแข็งค่าของเงินบาทในอนาคตมี 2 ประการ ประการแรก การใช้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจรอบใหม่จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรควิด 19 ของประเทศสหรัฐฯ จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลการคลังมากขึ้น อีกทั้งยังจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดซึ่งจะสร้างแรงกดดันจนทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง และประการที่ 2 ศักยภาพทางเศรฐกิจที่สูงกว่าของกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียจะสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินลงทุนระหว่างประเทศอย่างมหาศาลซึ่งจะสร้างอุปสงค์ให้เกิดกับสกุลเงินที่เป็นที่นิยมในภูมิภาค เช่น เงินบาท
รัฐบาลประเทศต่างๆ จะมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ในปี 2564
ตารางที่ 2: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
ประเทศ |
พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ |
% ต่อ GDP 2562 |
|||
มาตรการทางการคลัง |
มาตรการทางการเงิน |
มาตรการทางการคลัง |
มาตรการทางการเงิน |
||
สหราชอาณาจักร |
241 |
437 |
9.2 |
16.6 |
|
สหรัฐอเมริกา |
2,449 |
510 |
11.8 |
2.5 |
|
ออสเตรเลีย |
157 |
24 |
11.7 |
1.8 |
|
สหภาพยุโรป |
489 |
875 |
3.8 |
6.9 |
|
ญี่ปุ่น |
555 |
1163 |
11.3 |
23.7 |
|
เกาหลีใต้ |
55 |
164 |
3.5 |
10.3 |
|
จีน |
707 |
198 |
4.6 |
1.3 |
|
บราซิล |
113 |
86 |
8.3 |
6.3 |
|
อินเดีย |
46 |
135 |
1.8 |
5.2 |
|
อินโดนีเซีย |
29 |
13 |
2.7 |
1.2 |
|
สิงคโปร์ |
54.3 |
15.9 |
16.1 |
4.7 |
|
มาเลเซีย |
14.9 |
11.9 |
4.4 |
3.5 |
|
ฟิลิปปินส์ |
8.5 |
3.9 |
2.3 |
1.1 |
|
ไทย |
41.7 |
21.7 |
8.2 |
4.3 |
|
ทั้งโลก |
5,953 |
5,791 |
5.9 |
6.0 |
ที่มา: International Monetary Fund (IMF)
ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ |
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาท |
||
ภาพที่ 6: ดัชนีราคาตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต (ดอลลาร์สหรัฐฯ), |
ภาพที่ 7: ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ, |
||
|
|||
ที่มา: Bloomberg |
ที่มา: ธปท. และ Bloomberg |
ทริสเรทติ้ง มองว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวยังอยู่บนความไม่แน่นอนเป็นอย่างมากภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 การฟื้นตัวของแต่ละประเทศอาจต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงและบริหารการใช้วัคซีนให้แก่ประชาชนของรัฐบาล รวมถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคโควิด 19 ที่มีต่อรายได้และความมั่นคงในชีวิตของคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้วัคซีนในประเทศต่างๆ มากกว่า 90 ประเทศ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในทางบวกต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยภายใต้กรณีฐาน ทริสเรทติ้งคาดว่ารัฐบาลไทยจะสามารถผ่อนคลายมาตรการกักตัวให้กับผู้เดินทางมาจากกลุ่มประเทศที่มีการฉีดวัคซีนและมีอัตราการติดเชื้อต่ำได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 และประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ระดับ 3 ถึง 4 ล้านคนในปี 2564
วัคซีนได้แจกจ่ายไปแล้วมากกว่า 209 ล้านโดสใน 92 ประเทศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 3: จำนวนวัคซีนที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้แจกจ่ายในประเทศ, ข้อมูล ณ 23 ก.พ. 2564 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา: Bloomberg |
บทความที่เกี่ยวข้อง
Contacts |
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02-098-3000
© บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้
ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: www.trisrating.com/th/rating-information/rating-criteria/