WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

EIC ประเมินส่งออกฟื้นตัวแข็งแกร่ง ทำให้คาดว่าทั้งปี 2021

มูลค่าส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในช่วง 6-8% มากกว่าคาดการณ์เดิมที่ 4%

          • มูลค่าส่งออกเดือนมกราคม 2021 ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.3%YOY หลังจากขยายตัว 4.7%YOY ในเดือนธันวาคม 2020 แต่หากหักทองคำ การส่งออกในเดือนมกราคมจะขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 6.3%YOY 

          หลายสินค้าส่งออกสำคัญของไทยมีการขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง, รถยนต์และส่วนประกอบ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เคมีภัณฑ์และพลาสติก, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และแผงวงจรไฟฟ้า 

          การส่งออกที่ฟื้นตัวเร็วกว่าคาดในช่วงหลัง ประกอบกับทิศทางการฟื้นตัวของการส่งออกในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่มูลค่าส่งออกทั้งปี 2021 จะขยายตัวได้มากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 4.0% โดยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วง 6-8%

 

2787 EIC

 

          ◼︎ Key pionts

          มูลค่าส่งออกเดือนมกราคม 2021 ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.3%YOY หลังจากขยายตัว 4.7%YOY ในเดือนธันวาคม 2020 แต่หากหักทองคำ การส่งออกจะขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 6.3%YOY นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากภาคการส่งออกได้รับผลกระทบหนักจากมาตรการปิดเมืองทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 

          ด้านการส่งออกรายสินค้า พบว่าสินค้าส่งออกสำคัญของไทยขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม 

          การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 9.6%YOY หลังจากขยายตัว 10.7%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (50.5%YOY) สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง (38.5%YOY) และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (77.9%YOY) อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวยังหดตัวที่ -15.9%YOY จากราคาข้าวไทยที่ปรับตัวสูงขึ้น และคุณภาพข้าวที่ใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง

          การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 0.9%YOY และหากหักทองคำ การส่งออกอุตสาหกรรมจะขยายตัวสูงขึ้นเป็น 8.4%YOY โดยสินค้าสำคัญที่มีการฟื้นตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (25.7%YOY) เครื่องใช้ไฟฟ้า (10.4%), เคมีภัณฑ์และพลาสติก (5.7%YOY), ผลิตภัณฑ์ยาง (21.9%YOY) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (9.2%YOY) และแผงวงจรไฟฟ้า (12.6%YOY) 

          สินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การอยู่อาศัยและทำงานที่บ้าน และการป้องกันมีการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (5.4%YOY) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (3.1%YOY) สิ่งปรุงรสอาหาร (3.8%YOY) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (15.7%YOY) เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (49.6%YOY) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (12.4%YOY) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (15.4%YOY) และถุงมือยาง (200.5%YOY) 

          อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ -3.2%YOY หลังจากหดตัว -7.5%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (-21.8%YOY) และน้ำตาลทราย (-48.1%YOY) เช่นเดียวกับการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวที่ -26.0%YOY โดยตลาดหลักที่หดตัว ได้แก่ กัมพูชา (-20.8%YOY) สิงคโปร์ (-33.1%YOY) และลาว (-24.0%YOY)

 

รูปที่ 1 : สินค้าส่งออกสำคัญของไทยขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม

 

2787 EIC info1

 

หมายเหตุ : *การส่งออกไปสหรัฐฯ ไม่รวมการส่งกลับอาวุธในปี 2019 และ 2020

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

 

รูปที่ 2 : สินค้าสำคัญที่เป็นปัจจัยบวกและลบต่อการส่งออกในเดือนมกราคม 2021

 

2787 EIC info2

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

 

          ด้านการส่งออกรายตลาด ส่งออกไปสหรัฐฯ ยังขยายตัวดี ส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ CLMV มีสัญญาณฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหภาพยุโรป 15 ยังหดตัวต่อเนื่อง และส่งออกไปอาเซียน 5 พลิกกลับไปหดตัวอีกครั้ง

          การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ 12.4%YOY หลังจากขยายตัว 15.7%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (6.7%YOY) ผลิตภัณฑ์ยาง (27.4%YOY) และรถยนต์และส่วนประกอบ (34.2%YOY) 

          การส่งออกไปจีนกลับมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 9.9%YOY หลังจากขยายตัว 7.2%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (33.9%YOY) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (148.3%YOY) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (107.5%YOY) และเคมีภัณฑ์ (13.0%YOY)

          การส่งออกไปตลาด CLMV พลิกกลับมาขยายตัวที่ 3.8%YOY หลังจากหดตัวติดต่อกัน 9 เดือน โดยการส่งออกไปเวียดนามขยายตัวถึง 20.1%YOY ทั้งนี้สินค้าสำคัญที่ขยายตัวในตลาด CLMV ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (6.2%YOY) เม็ดพลาสติก (40.5%YOY) และน้ำตาลทราย (42.4%YOY) เป็นต้น

          การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 7.4%YOY หลังจากขยายตัว 14.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ประกอบด้วย รถยนต์และส่วนประกอบ (77.8%YOY) เคมีภัณฑ์ (80.8%YOY) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (5.4%YOY)

          การส่งออกไปออสเตรเลียขยายตัวเร่งขึ้นที่ 30.0%YOY หลังจากขยายตัว 15.3%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าหลักที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (48.7%YOY) อัญมณีและเครื่องประดับ (88.8%YOY) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (12.8%YOY)

          การส่งออกไปตลาดตะวันออกกลางขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 13.1%YOY สินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (50.9%YOY) ผลิตภัณฑ์ยาง (41.4%YOY) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (14.9%YOY)

          อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหภาพยุโรป 15 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ -5.4%YOY หลังจากหดตัว -2.4%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (-0.5%YOY) อัญมณีและเครื่องประดับ (-45.6%YOY) และแผงวงจรไฟฟ้า (-11.5%YOY)

          การส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 พลิกกลับมาหดตัวที่ -11.0%YOY หลังจากขยายตัว 0.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูป (-41.5%YOY) และเคมีภัณฑ์ (-8.4%YOY)

          ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนมกราคม 2021 พลิกกลับมาหดตัวที่ -5.2%YOY หลังจากขยายตัว 3.6%YOY ในเดือนธันวาคม 2020 โดยการนำเข้าสินค้าในเกือบทุกหมวดกลับมาหดตัว ได้แก่ สินค้าทุน (-10.6%YOY) สินค้าอุปโภคบริโภค (-2.8%YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-6.9%YOY) และสินค้าเชื้อเพลิง (-30.1%YOY) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้าที่โรงกลั่นน้ำมันกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวที่ 10.0%YOY แต่หากหักทองคำ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปจะหดตัวเล็กน้อยที่ -1.3%YOY
         
ทั้งนี้ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุลที่ 202.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

          ◼︎ Implication

          การส่งออกในช่วงหลังมีการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง นับเป็นการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาด ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่มูลค่าส่งออกทั้งปี 2021 จะขยายตัวได้ในช่วง 6-8% มากกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 4.0% โดยจากกราฟทางด้านขวาล่างของรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนท้าย (.. 20 - .. 21) ทั้งในแบบที่รวมทองคำและไม่รวมทองคำ ได้กลับมาเทียบเท่ามูลค่าการส่งออกในช่วงก่อนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แล้ว โดยเฉพาะการส่งออกไม่รวมทองที่มูลค่าในเดือนมกราคมได้กลับมาสูงกว่าช่วงก่อน COVID-19 แล้ว ซึ่งนับเป็นการฟื้นตัวที่เร็วกว่าที่เคยคาดไว้ เช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกของหลายประเทศสำคัญทั่วโลก (รูปที่ 3 ซ้าย) ที่มีการขยายตัวต่อเนื่องในช่วงหลัง สะท้อนว่าทิศทางการค้าโลกได้เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนแล้ว นอกจากนี้ หากพิจารณา Manufacturing PMI ของโลกและของหลายประเทศ รวมถึง Global Manufacturing PMI : New export orders (รูปที่ 3 ขวาบน) ก็พบว่ายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอาจจะชะลอลงบ้างในช่วงเดือนมกราคมที่น่าจะได้รับผลกระทบจากการกลับมาระบาดอีกระลอกของ COVID-19 แต่ดัชนีส่วนใหญ่ของหลายประเทศก็ยังยืนอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งสะท้อนมุมมองที่ดีต่อการส่งออกในระยะสั้น ขณะที่ในระยะถัดไป คาดว่าการส่งออกของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่จะปรับดีขึ้นจากการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายจนหลายประเทศได้ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

รูปที่ 3 : การส่งออกในช่วงหลังมีการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาด ขณะที่ข้อมูล PMI ของหลายประเทศยังอยู่เหนือระดับ 50 สะท้อนมุมมองที่ดีต่อการส่งออกโลกในระยะสั้น

 

2787 EIC info3

 

หมายเหตุ : การขยายตัวของมูลค่าส่งออกในเดือนมกราคม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผลของปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนที่ตรุษจีนอยู่ในช่วงเดือนมกราคม

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์และ CEIC

 

          อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของการส่งออกไทยในปีนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ซึ่งความเสี่ยงหลักต่อการส่งออกประกอบด้วย 1) ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือที่ยังสูงต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดคาดว่าจะกดดันการส่งออกไทยอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 2) ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาที่อาจส่งผลต่อการปิดด่านค้าชายแดนและอุปสงค์สินค้าจากเมียนมา โดยจากข้อมูลล่าสุดในเดือนมกราคม 2021 ด่านค้าชายแดนไทย-เมียนมา เปิดอยู่เพียง 3 ด่านจาก 21 ด่าน และ 3) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าเร็วกว่าคู่ค้าและคู่แข่ง ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและผลกำไรของผู้ส่งออก

 

บทวิเคราะห์จาก... https://www.scbeic.com/th/detail/product/7406

 

ผู้เขียนบทวิเคราะห์ : ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ ([email protected]) ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงิน

พนันดร อรุณีนิรมาน ([email protected]นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

พิมพ์ชนก โฮว ([email protected]นักวิเคราะห์

Economic Intelligence Center (EIC)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
EIC Online: www.scbeic.com

 

A2787

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!