WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1255 KTcompassกรุงไทยมองเศรษฐกิจ ปี 2564 ขยายตัว 2.5% แต่ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

          ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยพ้นจากภาวะถดถอยในปี 2564 โดยจะขยายตัว 2.5% แต่ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน คาดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 จำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศตลอดไตรมาสแรกโดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยว เป็นเหตุให้รัฐต้องมีมาตรการเยียวยาโควิดรอบสอง ส่วนภาคการส่งออกกระทบทางอ้อมจากเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ขณะเดียวกัน แนะธุรกิจเตรียมเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็น Megatrend ของโลก

          ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2564 ขยายตัวที่ระดับ 2.5% พ้นจากภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในปี 2563 ที่เศรษฐกิจหดตัว 6.5% โดยแม้ว่าการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 จะกระทบการใช้จ่ายของภาคเอกชนอย่างมากในขณะนี้โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ แต่หากมาตรการที่ใช้อยู่สามารถควบคุมสถานการณ์ภายใน 2-3 เดือน จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 109.6 ล้านคน-ครั้ง ต่ำลงกว่าประมาณการเดิมที่ 131.8 ล้านคน-ครั้ง แต่ก็ยังสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 91.2 ล้านคน-ครั้ง นอกจากนี้ การเยียวยาโควิดรอบสองของรัฐที่ออกมาจะมีส่วนช่วยในการลดผลกระทบ

          “การแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้เกิดค่าเสียโอกาสไม่ต่ำกว่า 1.6 แสนล้านบาทจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ล่าช้าออกไปท่ามกลางความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่กดดันเศรษฐกิจอยู่ เช่น การขาดแคลนตู้สินค้าในการส่งออก การแข็งค่าของเงินบาท และภาวะแล้งที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีจะได้รับอานิสงส์จากวัคซีนโควิด-19 ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการควบคุมการแพร่ระบาดทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม

          ดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาคธุรกิจยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็น Megatrend ของโลก เช่น กระแสการปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบทของความยั่งยืนบนพื้นฐานของการพัฒนาที่มีความ Greener, Smarter และ Fairer นอกจากนี้ ยังต้องจับตาท่าทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางการค้ารอบใหม่ เช่น แนวนโยบายภายใต้ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ แผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของจีนที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ตลอดจนความตกลง RCEP ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดโลก

          “ธุรกิจไทยต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ในระยะข้างหน้า บริบทใหม่ของโลกที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศมหาอำนาจของโลกให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากขึ้น และอาจมาใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า ภาคธุรกิจไทยจึงต้องเตรียมการรับมือ โดยหันมาดำเนินธุรกิจบนฐานของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี ปัจจัยแวดล้อมใหม่ก็อาจส่งผลบวกต่อการค้าไทยได้เช่นกัน เช่น แนวนโยบายของผู้นำสหรัฐฯ ที่จะปรับตัวเข้าสู่กฎกติกาสากลมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษาชี้ว่าจะส่งผลบวกต่อการส่งออกของไทยอย่างชัดเจน อีกทั้ง ความตกลง RCEP ที่จะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้า จากสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่เพิ่มขึ้น และอานิสงส์จากการค้าระหว่างคู่เจรจาที่จะคึกคักขึ้น” 

 

A1255

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!