WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SCB EIC logo

EIC คาด ดอกเบี้ยนโยบายคงที่ 0.5% ต่อเนื่องในปีหน้า หากสถานการณ์การแพร่ระบาดไม่รุนแรงขึ้นมากจนต้องมีการปิดเมืองเป็นวงกว้าง

          • กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี พร้อมทั้งประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้หดตัว -6.6% และจะกลับมาขยายตัวที่ 3.2% และ 4.8 ในปี 2021 และ 2022 ตามลำดับ

          EIC มองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021 เนื่องจาก 1) แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่เป็นไปอย่างช้าๆ และไม่ทั่วถึง รวมทั้งยังมีความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูง 2) ภาระหนี้ของทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นมาก และ 3) แรงกดดันทางเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำในปี 2021

          อย่างไรกีดี ธปท. มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน ผ่านเครื่องมืออื่นๆ ได้ เพื่อให้สภาพคล่องในระบบที่มีอยู่ในระดับสูงกระจายตัวไปสู่กลุ่มธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ เช่น การผ่อนคลายเกณฑ์ของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต การผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง รวมถึงการคงมาตรการ BSF และ MFLF 

          การที่ไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯ จับตาการบิดเบือนค่าเงิน (Monitoring List) อาจทำให้ ธปท. เผชิญข้อจำกัดในการดูแลค่าเงินบาทมากขึ้นในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม จากการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในประเทศไทย ซึ่งทำให้ความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น EIC จึงคงมุมมองค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่ 29.5-30.5 สิ้นปี 2021

 

 

          กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี พร้อมทั้งประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้หดตัว -6.6% และจะกลับมาขยายตัวที่ 3.2% และ 4.8 ในปี 2021 และ 2022 ตามลำดับ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 23 ธันวาคม 2020 กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี และประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูง โดยในระยะสั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ขณะที่ในระยะถัดไปขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 และพัฒนาการของตลาดแรงงานซึ่งยังมีจำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานอยู่ในระดับสูง กนง. จึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

          เศรษฐกิจไทยในปี 2020 จะหดตัว -6.6% ดีกว่าที่ประเมินไว้เดิมที่ -7.8% จากการบริโภคภาคเอกชนที่หดตัวน้อยลงที่ -1.4% (จากเดิมหดตัวที่ -3.5%) การส่งออกสินค้าที่หดตัวลดลงเป็น -7.4% (จากเดิมหดตัวที่ -8.2%) และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ถูกประเมินว่าจะอยู่ที่ 6.7 ล้านคน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อฟื้นฐานยังเท่ากับกับประมาณการครั้งก่อนที่ -0.9% และ 0.3% ตามลำดับ

          เศรษฐกิจไทยในปี 2021 จะกลับมาขยายตัวได้ที่ 3.2% ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.6% ส่วนในปี 2022 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ 4.8% โดยประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2021 ที่ปรับลดลงมีปัจจัยสำคัญมาจากการปรับลดประมาณการนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาอยู่ที่ 5.5 ล้านคน (จากเดิม 9 ล้านคน) แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวชัดเจนในปี 2022 ที่ 23 ล้านคน เศรษฐกิจไทยจึงขยายตัวสูงในปีดังกล่าว ซึ่งทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVD-19 ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2021 ที่ 1% และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ

          ทั้งนี้ตัวเลขการประมาณการดังกล่าวอยู่ภายใต้สมติฐานที่ว่า 

              - ภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในรอบล่าสุดได้และมีการดำเนินมาตรการปิดเมืองเฉพาะบางพื้นที่

              - ประเทศเศรษฐกิจหลักได้รับวัคซีนมากกว่า 30% ของประชากรในไตรมาส 2 ปี 2021 ส่วน 20% ของประชากรไทยจะได้รับวัคซีนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2021

              - ไทยจะเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีน (แต่ต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนและการตรวจเชื้อ) โดยไม่ต้องกักตัว ในไตรมาส 2 ปี 2021

              - ประเทศส่วนใหญ่รวมถึงไทยได้รับวัคซีนจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 และไทยเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการฉีดวัคซีนและการกักตัว

 

          กนง. ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูงแต่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง และมีความกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดย กนง. ประเมินว่าธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสภาพคล่องยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวผันผวนสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค ทั้งนี้ กนง. กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเร็วจากสภาวะเปิดรับความเสี่ยงของนักลงทุน (risk-on sentiment) และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงเห็นควรให้ติดตามอย่างใกล้ชิดและพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

          มาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ อาทิ มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง ขณะที่มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ควบคู่กับดำเนินการนโยบายด้านอุปทานเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

          กนง. ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน รวมถึงติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศ สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า กนง. พร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

 

 

          EIC มองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021 เนื่องจาก

          1. แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่เป็นไปอย่างช้าๆ และไม่ทั่วถึง รวมถึงยังมีความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูง โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัวเพียง 3.2% และมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่มาก ประกอบกับมุมมองของ EIC ที่ประเมินว่า รอยแผลเป็นทางเศรษฐกิจจะยังส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย สะท้อนจากการเปิดกิจการที่น้อยลง การปิดกิจการที่มากขึ้น และภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงเปราะบางจากการว่างงานที่ยังคงสูง ชั่วโมงการทำงานที่ต่ำ และจำนวนแรงงานนอกระบบที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจึงจะเป็นไปอย่างช้าๆ

          2. ภาระหนี้ของทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นหลังเผชิญวิกฤต โดยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ปี 2020 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 83.8% ต่อ GDP ขณะที่ข้อมูลของ IIF ก็บ่งชี้ว่าหนี้ภาคธุรกิจปรับสูงขึ้นเช่นกัน จึงทำให้ในระยะต่อไป ครัวเรือนและธุรกิจจะต้องซ่อมแซมงบดุลที่อ่อนแอลง ส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ดังนั้น ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายในระบบเศรษฐกิจ

          3. แรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำในปี 2021 โดยอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มอยู่ ระดับต่ำกว่าระดับเป้าหมายต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2021 

          อย่างไรกีดี ธปท. มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน ผ่านเครื่องมืออื่นๆ ได้ ดังนี้

          ผ่อนคลายเกณฑ์ของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยกู้มากขึ้น โดยในปัจจุบันผู้ที่สามารถเข้าถึงมาตรการสินเชื่อ soft loan มีค่อนข้างต่ำ จากข้อมูลล่าสุดมียอดอนุมัติสินเชื่อเพียง 1.2 แสนล้านบาทจากวงเงินทั้งหมด 5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะสินเชื่อที่มีวงเงินน้อยมีอัตราการเข้าถึง soft loan ที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ การขยายตัวของสินเชื่อของ SMEs ก็ยังหดตัวต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถาบันการเงินไม่มีแรงจูงใจมากพอที่จะปล่อยกู้ ดังนั้น ธปท. จึงมีแนวโน้มที่จะออก ... soft loan ฉบับใหม่เพื่อผ่อนคลายข้อจำกัดของมาตรการเดิม โดยกฏเกณฑ์ที่อาจถูกปรับได้ เช่น

              - การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ จากระดับปัจจุบันที่ 2%

              - การปล่อยกู้ร่วมกับ .. ให้แก่ SMEs

              - การขยายวงเงินกู้ จากเดิมที่กู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดสินเชื่อคงค้าง

              - การขยายวงเงินค้ำประกันโดย บสย.

          คงมาตรการกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) และมาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน (MFLF) โดยสองมาตราการนี้เป็นมาตรการประเภทหลังพิง (Backstop) ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ COVID-19 กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง นอกจากนี้ หากนักลงทุนเกิดความกังวลสูง (panic) จนทำให้เกิดการเทขายสินทรัพย์อย่างรวดเร็วและตลาดการเงินขาดสภาพคล่อง มาตรการข้างต้นนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน ทั้งแก่ภาคธุรกิจและกองทุนรวมตราสารหนี้

          อย่างไรก็ดี โอกาสในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) และดำเนินมาตรการโกดังพักหนี้ (Warehousing) มีน้อยลงภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน โดยจากการสื่อสารของผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยังมีความสามารถที่จะจัดการสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ได้ แม้ว่ายอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพจะปรับสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธปท. ยังมองว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้ดำเนินไปตั้งแต่ต้นปีช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดกว่า สะท้อนจากยอดหนี้ของธนาคารพาณิชย์ที่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคมสูงถึง 66% ของยอดหนี้ทั้งหมด ในขณะที่อีก 32% อยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้เป็นรายกรณี และมีเพียงแค่ 2% เท่านั้นที่ยังไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่ง ธปท. ได้มีการเร่งรัดให้ธนาคารพาณิชย์ติดต่อดูแลโดยเร็ว

          ทั้งนี้หากการระบาดของ COVID-19 ในไทยล่าสุดส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวรุนแรงกว่าที่ กนง. ประเมินไว้ในรอบนี้ ก็มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะถูกปรับลงได้อีก 1 ครั้ง (0.25%) สำหรับในกรณีฐาน EIC ประเมินว่าการระบาดของ COVID-19 จะยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ ทำให้ภาครัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการปิดเมืองอย่างเข้มงวดเหมือนในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ เศรษฐกิจไทยจึงมีแนวโน้มไม่หดตัวรุนแรงเท่ากับในช่วงดังกล่าว ดังนั้น กนง. จึงน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาขีดความสามารถในการผ่อนคลายนโยบายการเงินไว้ (policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจในอนาคตที่อาจมาจากการระบาดที่รุนแรงขึ้น หรือประสิทธิภาพและความสามารถในการแจกจ่ายวัคซีนน้อยกว่าคาด เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากการแพร่ระบาดยังไม่ทุเลาลงและจำเป็นต้องมีการออกมาตรการปิดเมืองที่เข้มงวดขึ้นมากและเป็นวงกว้าง (nation-wide lockdown) ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีหน้าฟื้นตัวช้ากว่าที่ กนง. และ EIC ประเมินไว้ในกรณีฐาน ซึ่งอาจทำให้มีการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมได้อีก 1 ครั้ง (0.25%)

          กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุ สวิตเซอร์แลนด์และเวียดนามเข้าข่ายประเทศที่มีการบิดเบือนค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้า (currency manipulator) ส่วนไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องจับตา (Monitoring List) โดยสวิตเซอร์แลนด์และเวียดนามเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ดังนี้

          1. เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ตั้งแต่ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ในรอบ 1 ปี

          2. ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่า 2% ของ GDP ในรอบ 1 ปี

          3. ธนาคารกลางแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่า 2% ต่อ GDP และแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน 6 เดือนขึ้นไปจากในรอบ 12 เดือน

          สำหรับประเทศที่เข้าเงื่อนไขจาก 2 ใน 3 จะถูกระบุให้เป็นกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯ จับตา ซึ่งในรายงานครั้งนี้สหรัฐฯ ได้เพิ่ม ไทย อินเดีย และไต้หวัน เข้าไปอยู่ในกลุ่มดังกล่าว จากเดิมที่มี จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย เยอรมนี และอิตาลี โดยในกรณีของไทยรายงานระบุว่า ตั้งแต่สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 ถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 2.2 หมื่นล้านบาท มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 6.3% ของ GDP และมีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่า 6 เดือน อย่างไรก็ดี ปริมาณการแทรกแซงยังอยู่ที่ 1.8% ของ GDP เป็นผลให้ไทยเข้าเงื่อนไขเพียง 2 ข้อแรกเท่านั้น จึงยังไม่ถูกจัดเป็นประเทศที่มีการบิดเบือนค่าเงิน (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1 : เงื่อนไขของการถูกจัดเป็นประเทศที่มีการบิดเบือนค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้า (currency manipulator)

 

  

1) เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่น

ล้านดอลลาร์

2) เกินดุลบัญชีเดินสะพัด

มากกว่า 2%

ของ GDP

3) แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน

Monitoring List

มากกว่า 2% ของ GDP

มากกว่า 6 เดือนจาก 12 เดือน

รายงาน

.. 2020

รายงาน

.. 2020

จีน

310

1.1

-0.1

น้อยกว่า 6 เดือน

X

X

เยอรมนี

62

6.8

-

-

X

X

เวียดนาม

58

4.6

5.1

มากกว่า 6 เดือน

X

บิดเบือนค่าเงิน

ญี่ปุ่น

57

3.1

0.0

น้อยกว่า 6 เดือน

X

X

ไอร์แลนด์

55

-5.5

-

-

X

X

สวิตเซอร์แลนด์

49

8.8

14.2

มากกว่า 6 เดือน

X

บิดเบือนค่าเงิน

อิตาลี

30

3.0

-

-

X

X

มาเลเซีย

29

2.5

1.1

มากกว่า 6 เดือน

X

X

ไต้หวัน

25

10.9

1.7

มากกว่า 6 เดือน

X

X

ไทย

22

6.3

1.8

มากกว่า 6 เดือน

X

X

อินเดีย

22

0.4

2.4

มากกว่า 6 เดือน

X

X

เกาหลีใต้

20

3.5

-0.6

มากกว่า 6 เดือน

X

X

สิงคโปร์

-1

16.1

21.3

มากกว่า 6 เดือน

X

X

 

หมายเหตุ : X = ประเทศดังกล่าวถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่สหรัฐฯ จับตา (Monitoring list)
ที่มา : รายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ

 

          ประเทศที่ถูกระบุว่ามีการบิดเบือนค่าเงินมีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้าได้ แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ถูกจัดเป็นประเทศที่มีการบิดเบือนค่าเงิน แต่ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมากในรายงานครั้งถัดไป (ปกติจะเผยแพร่ทุกๆ 6 เดือน) โดยสหรัฐฯ จะมีมาตรการตอบโต้ต่อประเทศที่มีการบิดเบือนค่าเงินดังนี้

          หากประเทศดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขสถานะบิดเบือนค่าเงินภายใน 1 ปีหลังจากที่ถูกกล่าวหา สหรัฐฯ อาจปรับเงื่อนไขของนโยบายทางการค้า และจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

          1. ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนของ The Overseas Private Investment Corporation ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐของสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา

          2. ไม่สามารถทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับสินค้าและบริการกับสหรัฐฯ

          3. ให้ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคีหรือภูมิภาคอีกครั้ง

          4. ให้ IMF ดำเนินการติดตามนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเข้มงวดมากขึ้น

          นอกจากนี้ สหรัฐฯ อาจพิจารณาดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้าผ่านการขึ้นภาษีนำเข้า ธุรกิจสหรัฐฯ อาจพิจารณายื่นคำร้องไปยังกระทรวงพาณิชย์ โดยอ้างว่าอุตสาหกรรมของตนได้รับผลจากการทุ่มตลาดของสินค้านำเข้า เนื่องจากสินค้าของประเทศคู่ค้าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ (ซึ่งการที่รัฐบาลต่างประเทศแทรกแซงให้สกุลเงินของตนอ่อนค่าในที่นี้ ถูกมองว่าเป็นการอุดหนุนประเภทหนึ่ง) เป็นผลให้สหรัฐฯ อาจขึ้นภาษีกับสินค้าดังกล่าวได้ เช่น ในวันที่ 5 พฤศจิกายน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จากเวียดนามที่อัตรา 6.23%-10.08% เนื่องจากสินค้าดังกล่าวได้เปรียบจากการอ่อนค่าของเงินดอง

          อย่างไรก็ดี กระบวนการลงโทษในครั้งนี้จะถูกตัดสินภายใต้รัฐบาลของไบเดน ซึ่งมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศน้อยกว่าทรัมป์ 

          การที่ไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯ จับตา (Monitoring List) อาจทำให้ ธปท. เผชิญข้อจำกัดในการดูแลค่าเงินบาทมากขึ้นในระยะถัดไป โดยหลังจากที่ไทยถูกจัดอยู่ใน monitoring list เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2020 ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น 0.7% มาอยู่ที่ราว 29.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันต่อมา อย่างไรก็ดี หลังจากที่ไทยเผชิญกับการกลับมาระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วราว 1% มาอยู่ที่ประมาณ 30.2 สิ้นวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ในระยะถัดไป EIC ประเมินว่า ไทยมีความเสี่ยงที่จะเข้าทั้ง 3 เกณฑ์ของสหรัฐฯ และถูกระบุว่าเป็นประเทศที่ทำการแทรกแซงค่าเงินเพื่อความได้เปรียบทางการค้า โดยเงื่อนไขสุดท้ายที่ไทยยังไม่เข้าเกณฑ์คือปริมาณการแทรกแซงเงินบาท ซึ่ง EIC มองว่ามีความเสี่ยงสูงที่ไทยจะเข้าทั้ง 3 เกณฑ์ของสหรัฐฯ ในรายงานครั้งถัดไป ดังนั้น ธปท. จะต้องเผชิญกับความท้าทายในการเข้าดูแลค่าเงินบาทในระยะต่อไป รวมถึงการสื่อสารกับกระทรวงการคลังของสหรัฐ 

          อย่างไรก็ตาม จากการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในประเทศไทย ซึ่งทำให้ความเสี่ยงด้านต่ำของเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น EIC จึงคงมุมมองค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่ 29.5-30.5 สิ้นปี 2021

 

รูปที่ 1 : ในระยะต่อไป ธปท. จะต้องเผชิญกับความท้าทายในการดูแลค่าเงินบาท รวมถึงการสื่อสารกับกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เนื่องจากอาจเข้าเกณฑ์ด้านการแทรกแซงค่าเงินมากกว่า 2% ต่อ GDP

 

12842 EIC pic

 

ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ United States Census Bureau และธนาคารแห่งประเทศไทย

 

บทวิเคราะห์จาก... https://www.scbeic.com/th/detail/product/7290

 

ผู้เขียนบทวิเคราะห์ :

ดร. กําพล อดิเรกสมบัติ ([email protected])

ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงิน
วชิรวัฒน์ บานชื่น ([email protected])
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

พงศกร ศรีสกาวกุล ([email protected])

นักวิเคราะห์ 

Economic Intelligence Center (EIC)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

EIC Online: www.scbeic.com

 

A12842

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!