WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11768 KKPKKP Research คาดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

ท่ามกลางหลายปัจจัยเสี่ยงแม้มีวัคซีน

          • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับประมาณการตัวเลขการเติบโตของ GDP สำหรับปี 2020 จาก -9% มาอยู่ที่ -6.7% และปี 2021 จาก 3.4% เป็น 3.5% จากตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ของปี 2020 ที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด

          การค้นพบวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ไม่เปลี่ยนภาพการท่องเที่ยวของไทยจากที่เคยประเมินไว้โดยยังคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาในไตรมาส 3 -4 ปีหน้าที่จำนวน 6.4 ล้านคน

          เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงอีกอย่างน้อย 3 ข้อ (1) ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเสี่ยงปิดกิจการจากการขาดกระแสเงินสด (2) เงินบาทที่กลับมาแข็งค่าจะทำให้การส่งออกฟื้นตัวช้า และ (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองจะส่งผลต่ออุปสงค์ภายในประเทศ

 

          KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับการคาดการณ์ GDP ขึ้นจากที่คาดไว้เดิมสำหรับปี 2020 และ 2021 โดยการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลด้านบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกสองเรื่องหลัก คือ (1) การประกาศความสำเร็จของการทดลองวัคซีน COVID-19 ขั้นต้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ระดับหนึ่ง และ (2) ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่ฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ KKP Research จึงปรับประมาณการตัวเลขการเติบโตของ GDP สำหรับปี 2020 จาก -9% มาอยู่ที่ -6.7% ในขณะที่ยังคาดว่าการฟื้นตัวในระยะต่อไปจะยังคงเป็นไปได้อย่างช้าๆ ตามการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ยังไม่กลับมา สำหรับปี 2021 KKP Research ปรับตัวเลขการเติบโต GDP เล็กน้อยจาก 3.4% เป็น 3.5% และเชื่อว่าระดับ GDP จะยังต่ำกว่าระดับก่อน COVID-19 จนถึงต้นปี 2022 (ตารางที่ 1) 

 

ตารางที่ 1 ประมาณการตัวแปรเศรษฐกิจที่สำคัญ

Previous forecast

New forecast

%YoY

2020E

2021E

2020E

2021E

Real GDP

-9.0

3.4

-6.7

3.5

Private Consumption

-3.0

3.0

-1.5

3.0

Government Consumption

1.4

3.5

2.0

3.5

Gross Fixed Capital Formation

-8.9

5.1

-6.0

5.1

Private

-13.0

4.0

-10.0

4.0

Public

4.5

8.0

7.3

8.0

Exports of Goods and Services

-20.9

3.6

-19.7

4.3

Imports of Goods and Services

-15.0

3.8

-15.8

4.7

Headline CPI

-0.8

0.8

-0.8

0.8

Policy rate

0.5

0.5

0.5

0.5

Tourist arrivals (Mn persons)

6.7

6.4

6.7

6.4

ที่มา: KKP Research

 

 

         วัคซีนมาตามคาด คงประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยว 

          การค้นพบวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ไม่เปลี่ยนภาพการท่องเที่ยวของไทยจากที่เคยประเมินไว้ ข่าวดีสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ก็คือ การประกาศความสำเร็จของการทดลองวัคซีนจาก Pfizer-BioNTech และ Moderna ในขั้นต้นจากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง และได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ และล่าสุด มีการประกาศความสำเร็จจากวัคซีนของ AstraZeneca เช่นกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับไทย เพราะเป็นวัคซีนที่มีราคาถูก สามารถเก็บรักษาคุณภาพได้ในตู้เย็นธรรมดา และประเทศไทยเริ่มมีการทำข้อตกลงเพื่อนำมาใช้แล้ว ทำให้มุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น และลดความเสี่ยงในกรณีเลวร้ายที่จะไม่มีวัคซีน

          การค้นพบวัคซีนในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ KKP Research ได้ประเมินไว้ โดยคาดว่าวัคซีนจะเริ่มออกใช้ได้ในประเทศเศรษฐกิจหลักในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปีหน้า ภายใต้สมมติฐานว่าวัคซีนที่ออกใช้สุดท้ายแล้วมีประสิทธิผล 80% โดยประเมินว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7 เดือน จึงจะสามารถฉีดวัคซีนได้เพียงพอจนหยุดยั้งการระบาดได้ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนที่ ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง ในกรณีที่วัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่าที่คาด คือที่ระดับ 95% จะทำให้ระยะเวลาหยุดยั้งการระบาดสั้นลงเป็น 6 เดือน ในขณะที่หากวัคซีนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่คาด เช่นที่ระดับ 60% อาจต้องใช้เวลาถึง 10 เดือน

          KKP Research ประเมินว่า อาจต้องรอถึงไตรมาส 3 และ 4 ของปีหน้ากว่าจะประเทศไทยจะได้รับวัคซีนเพื่อใช้ในวงกว้าง และรัฐบาลไทยจะยังคงให้น้ำหนักกับนโยบายด้านสาธารณสุขเป็นหลัก หากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในต่างประเทศยังไม่สิ้นสุดลง รัฐบาลไทยอาจยังคงไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติอย่างเสรี ตามแรงกดดันจากภาคประชาชนจนกว่าจะเห็นการแพร่ระบาดลดลงมากอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน ในด้านของจีนก็มีความเสี่ยงที่รัฐบาลจีนอาจพยายามให้คนจีนเที่ยวในประเทศแทนการออกมาเที่ยวต่างประเทศ ตามแผนเศรษฐกิจห้าปีของจีนที่เพิ่งประกาศออกมาไม่นานมานี้ (China’s five-year plan) ที่มุ่งเน้นการเติบโตจากในประเทศ

          KKP Research ประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้ามาในประเทศไทยได้ในช่วงครึ่งหลัง ของปี 2021 และคงการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวสำหรับปี 2021 ไว้ที่ 6.4 ล้านคน

 

 

         เศรษฐกิจไตรมาส 3 ของไทยฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้

          สำหรับเศรษฐกิจภายในประเทศตัวเลข GDP ในไตรมาส 3 ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเติบโตได้ดีกว่าที่ทั้งตลาดและ KKP Research ประมาณการไว้มากโดยสาเหตุหลักเกิดจาก

          (1) การบริโภคภาคเอกชนมีการฟื้นตัวดีกว่าคาดมากในไตรมาส 3 การบริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงประมาณครึ่งนึงของ GDP ในไตรมาส 3 หดตัวเพียง 0.6% เท่านั้น (เทียบกับการหดตัว -6.8% ในไตรมาสที่สอง) ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยทำให้ GDP ไตรมาส 3 และ GDP ทั้งปี 2020 ออกมาดีกว่าคาด โดยคาดว่าการบริโภคในปี 2021 น่าจะกลับมาเติบโตได้ที่ระดับ 3% ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศที่ดีกว่าที่ประเมินไว้ ประกอบกับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศอย่างเราเที่ยวด้วยกัน ที่ขยายไปถึงเดือนมกราคม 2564 และมีแนวโน้มจะขยายเวลาเพิ่มเติมไปอีก

          (2) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวมากกว่าคาด โดยเป็นปัจจัยเดียวที่ยังคงเป็นแรงส่งทางด้านบวกให้กับเศรษฐกิจตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ โดยภาครัฐจะยังต้องมีการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงปีนี้และปีหน้า ในฝั่งนโยบายการเงิน คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังคงอยู่ที่ระดับ 0.5% ไปตลอดทั้งปี

          อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขการเติบโตของ GDP ปีหน้าจะกลับไปเป็นบวกจากฐานที่หดตัวลงไปมาก เศรษฐกิจไทยจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อีกนาน เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่เคยมีบทบาทอย่างมากต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย หดตัวลงอย่างหนักจากนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากปีละกว่า 40 ล้านคน เหลือเพียง 6 ล้านคนเท่านั้นคาดว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ระดับช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 ได้ในไตรมาส 1 ปี 2022 และใช้เวลานานกว่านั้นเพื่อกลับไปสู่ระดับศักยภาพของเศรษฐกิจ (potential GDP) (รูปที่ 1)

 

11768 KKP 1

 

 

          ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยังคงมีอยู่

          แม้ว่าการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 3 จะดีกว่าคาด KKP Research ยังคงประเมินว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะยังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง และแตกต่างกันมากในแต่ละอุตสาหกรรมและพื้นที่ ตามการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงที่จะโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้อยู่มาก โดยขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนในอย่างน้อย 3 ประการ

          (1) ธุรกิจท่องเที่ยวยังคงต้องรับมือกับปัญหาสภาพคล่องและอาจส่งผลรุนแรงต่อภาวะจ้างงานและการบริโภค แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะไม่แย่อย่างที่คิด แต่หากต้องรอถึงไตรมาส 3 หรือ 4 ของปีหน้ากว่าที่นักท่องเที่ยวจะกลับมาได้ตามที่หลายฝ่ายคาด ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กจะต้องทยอยปิดตัวไปก่อนหน้านั้น จากการขาดสภาพคล่องหรือมีเงินสดไม่พอใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจการต่อไป สะท้อนผ่านข้อมูลกระแสเงินสด (EBITDA) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มท่องเที่ยว ภัตตาคารและการเดินทางในไตรมาส 3 (รูปที่ 2 และ 3) ที่ยังติดลบต่อเนื่อง

          ในกรณีที่นักท่องเที่ยวกลับมาน้อยกว่าที่คาด KKP Research ประเมินว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะรุนแรงขึ้นแบบทวีคูณ หมายถึง ไม่ใช่เฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวที่หายไปเท่านั้น เพราะจะมีธุรกิจต่างๆ ที่เป็นธุรกิจต่อเนื่องทั้งต้นน้ำและปลายน้ำของธุรกิจการท่องเที่ยวจะต้องปิดกิจการลงไป ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกับทั้งการบริโภค การลงทุน และทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ช้ากว่าที่ประเมินไว้มาก โดยอาจเติบโตได้ในระดับต่ำกว่า 1% เท่านั้น

 

11768 KKP 2 3

 

          (2) เงินบาทที่แข็งค่าอาจเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของการส่งออก ในปี 2020 การส่งออกในหลายประเทศ ทั้งเกาหลีใต้และไต้หวันฟื้นตัวได้ดีมาก โดยกลับมาโตเป็นบวกในระดับสองหลัก จากการฟื้นตัวของสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี แต่ไทยกลับไม่ได้ประโยชน์ในส่วนนั้นเพราะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีที่ค่อนข้างต่ำ (รูปที่ 4) แม้ว่าจะมีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยทั้งสหรัฐฯ และจีนจะฟื้นตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้ในปีหน้า แต่ยังค่อนข้างน่ากังวลว่าในสถานการณ์ที่ไทยแข่งขันได้ยากอยู่แล้ว ประกอบกับค่าเงินบาทที่เริ่มกลับมามีทิศทางแข็งค่าเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง (รูปที่ 5) หากยังมีการแข็งค่าต่อเนื่องจะเริ่มทำให้รายได้ของผู้ส่งออกถูกกระทบ อย่างไรก็ตาม ทิศทางของค่าเงินบาทยังขึ้นอยู่กับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะออกมาเพิ่มเติมด้วย

          (3) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ สถานการณ์การเมืองในประเทศจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระทบต่ออุปสงค์ในประเทศและชะลอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

11768 KKP 4 5

 

          นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหลายประการที่ทำให้ไทยเสียความสามารถในการแข่งขันและความน่าดึงดูดในการเป็นเป้าหมายของการลงทุนจากต่างประเทศ KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่านโยบายเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังยังมีศักยภาพในการดำเนินการเพิ่มเติมได้ และรัฐบาลควรมีนโยบายเพื่อรองรับความเสี่ยงหลายประการที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า เพื่อประคับประคองธุรกิจ สร้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจ จนกว่าสถานการณ์ในสังคมและเศรษฐกิจโลกและไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

 

KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

          ณชา อนันต์โชติกุล ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์

          ชินวุฒิ์ เตชานุวัตร์ ผู้อำนวยการ หัวหน้าทีมวิจัยอุตสาหกรรม

          ณิชารีย์ อรัญ นักวิเคราะห์

          ลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ นักวิเคราะห์

          ธนัชพร นันทาภิวัธน์ นักวิเคราะห์

          เคนเน็ท โดนัลท์ นีลเวล นักวิเคราะห์

          วรเทพ วงศ์วิริยะสิทธิ์ นักวิเคราะห์

 

A11768

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!