- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Monday, 18 June 2018 09:16
- Hits: 5205
'ทีดีอาร์ไอ'เชื่อจีดีพีทะลุ 4.5% กสิกรฯจับตานโยบายทรัมป์ สนธิรัตน์ปลื้มสินค้าเกษตรดี
ไทยโพสต์ : ราชประสงค์ * ทีดีอาร์ไอมองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังสดใส ส่งออกยังเป็นตัวขับเคลื่อน มองจีดีพีแตะ 4.5% ขณะที่กสิกรจับตาสงครามการค้า "สนธิรัตน์" โชว์ผลงาน 6 เดือน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ดันราคาสินค้าเกษตรทำนิวไฮหลายตัว
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่ง ประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง คาดจะเติบโตต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น และยุโรปยังเติบโตได้ดี ขณะที่ เศรษฐกิจไทยคาดจะเติบโตต่อ เนื่องจากส่งออก เนื่องจากเศรษฐ กิจโลกเติบโตดี ส่งผลต่อการค้าและการลงทุนเติบโตตาม โดยคาดการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 4.5% จากต้นปีคาดอยู่ที่ 4%
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาด ทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีหลังทิศทางเศรษฐกิจโลกมองว่าจะคล้ายกับช่วงครึ่งปีแรก โดยยังต้องติดตามสงครามทางการค้า ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ จะลงมือทำ จริงหรือไม่ เพราะสงครามทาง การค้าแบบเข้มงวดไม่ส่งผลดีต่อ สหรัฐเอง เนื่องจากบริษัทเอกชนของสหรัฐหลายแห่งได้ตั้งโรงงานในประเทศที่มีปัญหาการค้ากับสหรัฐ โดยมองว่าทรัมป์จะรักษาฐานเสียงก่อนที่จะเลือกตั้งสหรัฐในเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งการฉายภาพ แข็งข้อของทรัมป์จะทำให้คะแนน ความนิยมยังเป็นขาขึ้น
ด้าน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการทำ งานของกระทรวงพาณิชย์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ว่า กระทรวงพาณิชย์ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก สามารถผลักดันราคาสินค้าเกษตรหลักหลายตัวทำนิวไฮ และช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าให้กับเกษตรกร โดย เฉพาะราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 18,700 บาท เพิ่มจากเดิมตันละ 12,000-14,000 บาท เป็นราคาที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ส่วนข้าวเปลือกเจ้าเฉลี่ยตันละ 8,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรพอใจ
สำหรับ ราคามันสำปะหลัง เป็นครั้งแรกที่ราคาสูงถึงกิโลกรัม (กก.) ละ 3.20 บาท เทียบกับปีก่อน กก.ละ 1.7 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นเดียวกัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาอยู่ที่ กก.ละ 9.5-9.7 บาท ราคาหน้าโรงงานสูงกว่า กก.ละ 10 บาท ขณะที่ผลไม้สำคัญ เช่น ทุเรียน ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาก สูงจนคนบ่นว่ากระทรวงพาณิชย์ทำให้ทุเรียนแพง และลำไยปีที่แล้วราคาตก ต่ำมาก แต่ปีนี้ราคาปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ได้เข้าไปเชื่อมโยงตลาด และผลักดันส่งออก โดยเฉพาะการขายออนไลน์เข้าสู่ตลาดจีน ส่วนปาล์มน้ำมัน เดิมราคาไม่ดี หลังจากสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มสูงขึ้น จึงได้ประกาศว่าราคาจะไม่ต่ำกว่า กก.ละ 3 บาท
"ในด้านการดูแลปัญหาปากท้องให้กับประชาชน ได้ผลักดันโครงการร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ โดยเข้าไปช่วยร้านโชห่วยที่กำลังล้มลุกคลุกคลานให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้ และยังใช้เป็นกลไกในการช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอยู่ 11.4 ล้านคน โดยจะติดตั้งเครื่องรูดบัตรใกล้ครบ 40,000 ร้านภายในเดือนนี้ และปัจจุบันมียอดขายกว่า 30,000 ล้านบาท ช่วยทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบสูงถึง 100,000 แสนล้านบาท" นายสนธิรัตน์กล่าว.
เฟด มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ขณะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.75-2.00% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้
การปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ และเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เฟดเริ่มวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.2558
นอกจากนี้ เฟดยังได้ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 4 ครั้งในปีนี้
อินโฟเควสท์
สคร. เผยผลจัดเก็บรายได้รัฐวิสาหกิจ 8 เดือนปีงบ 61 อยู่ที่ 1.25 แสนลบ. สูงกว่าเป้าหมาย 25%
สคร. เผยจัดเก็บรายได้จากรัฐวิสาหกิจในช่วง 8 เดือนของปีงบ 61 อยู่ที่ 1.25 แสนลบ. สูงกว่าเป้าหมาย 25% กองสลาก - กฟผ.- PTT - ออมสิน -กฟภ. นำส่งรายได้มาที่สุดตามลำดับ
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561 (เดือนตุลาคม 2560 – เดือนพฤษภาคม 2561) สคร. สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน จำนวน 125,931 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายการจัดเก็บรายได้แผ่นดินสะสม จำนวน 25,629 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของเป้าหมายรายได้แผ่นดินสะสม (100,302 ล้านบาท)โดยในเดือนพฤษภาคม 2561 สคร. จัดเก็บรายได้แผ่นดินจำนวน 12,692 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศ
นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สะสมสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ จะเห็นว่าการนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจมีการนำส่งที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2561 เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการทำงานภายในและการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ในปีงบประมาณ 2561 สคร. มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจเน้นการขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เพื่อสอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และลดต้นทุน ทำให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ดียิ่งขึ้น และสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายการจัดเก็บตามเอกสารงบประมาณ 2561 ที่กำหนดไว้จำนวน 137,000 ล้านบาทซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
รัฐวิสาหกิจที่นำส่งเงินรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 5 อันดับแรก
(ในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561)
รัฐวิสาหกิจที่นำส่งเงินรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 5 อันดับแรก
(ในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561)
รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลัง รายได้นำส่งจริงสะสม (ล้านบาท) สัดส่วนรายได้นำส่งรายแห่งจริงสะสมเทียบกับผลรายได้นำส่งจริงสะสม (%) (ต.ค. 60– พ.ค. 61)
ถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (ต.ค. 60 – พ.ค. 61)
1) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 25,460 20
2) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 20,784 17
3) บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) 17,519 14
4) ธนาคารออมสิน17,309 14
5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 11,793 9
อื่นๆ 33,066 26
รวมทั้งหมด 125,931100
สคร.เผย 8 เดือนแรกปีงบ 61 รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เข้ารัฐ 1.25 แสนลบ. สูงกว่าเป้าหมาย 25%
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561) สคร.สามารถจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน จำนวน 125,931 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายการจัดเก็บรายได้แผ่นดินสะสม จำนวน 25,629 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25% ของเป้าหมายรายได้แผ่นดินสะสม (100,302 ล้านบาท) โดยในเดือนพฤษภาคม 2561 สคร. จัดเก็บรายได้แผ่นดินจำนวน 12,692 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศ
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 สคร. มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจเน้นการขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เพื่อสอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และลดต้นทุน ทำให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ดียิ่งขึ้น และสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายการจัดเก็บตามเอกสารงบประมาณ 2561 ที่กำหนดไว้จำนวน 137,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
ด้านนายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สะสมสูงสุด 5 ลำดับแรก ในช่วงเดือนต.ค.60-พ.ค.61 ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นำส่งรายได้ 25,460 ล้านบาท, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำส่งรายได้ 20,784 ล้านบาท, บมจ.ปตท. (PTT) นำส่งรายได้ 17,519 ล้านบาท, ธนาคารออมสิน นำส่งรายได้ 17,309 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นำส่งรายได้ 11,793 ล้านบาท
ทั้งนี้ จะเห็นว่าการนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจ มีการนำส่งที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2561 เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการทำงานภายในและการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้รัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อินโฟเควสท์
สศค.จัด FPO Forum ที่ศรีสะเกษ 7 มิ.ย. สร้างความรู้ความเข้าใจภาคการเงิน-การออมในพื้นที่ภาคอีสาน
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะจัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาคประจำปีงบประมาณ 2561 ครั้งที่ 3/2561 ในวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2561 เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมศรีลำดวน 1 โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นเวทีในการขยายบทบาท เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ภารกิจของ สศค. ทั้งในด้านนโยบายและผลงานวิชาการไปสู่ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน และประชาชนทั่วไปในส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
การสัมมนาจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 จะเป็นการเสวนาเรื่อง "เศรษฐกิจอีสานมื่อนี่ ม่วนอีหลีแม่นบ่" ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) ผศ. ดร. นรชิต จิรสัทธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) ผศ. จักรกฤช เจียวิริยบุญญา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. เป็นผู้เสวนา และมีนายภัทร จารุวัฒนมงคล สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยการเสวนาในช่วงนี้ จะเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาสทางเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งกำลังเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจหลายด้าน เช่น กับดักรายได้ปานกลาง กับดักการเติบโตที่ไม่สมดุล กับดักความยากจนและความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องร่วมกันวางแผนรับมือ เพื่อมุ่งหน้าสู่การเติบโตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ช่วงที่ 2 จะเป็นการบรรยายเรื่อง "คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บำนาญกับ กอช." โดยนางจิราพร บุญวานิช อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และการตลาด กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้เรื่องกิจกรรมส่งเสริมการออม "คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บำนาญ" ให้ผู้เข้าร่วมงานสัมมนารับทราบ โดยจะกล่าวถึงโครงการวางแผนเกษียณสุขกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อแนะนำช่องการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณ พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการวางแผนทางการเงินและการออมอย่างมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสนใจในเรื่องการวางแผนการเงินการออม
ช่วงที่ 3 จะเป็นการบรรยายเรื่อง "รู้ลึก รู้จริง การเงินภาคประชาชน" และ "มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" โดยมีผู้ร่วมบรรยาย ประกอบด้วย 1) นางสาวกฤติกา โพธิ์ไทรย์ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สศค. 2) นายชยเดช โพธิคามบำรุง สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สศค. 3) นายทิวนาถ ดำรงยุทธ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สศค. และ 4) นางสาวพิมลรัตน์ สิริเศรษฐอาภา สำนักนโยบายภาษี สศค. โดยจะเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการเงินระดับฐานรากและนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 – 2564 การดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน การนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการทางการเงินส่วนบุคคลและธุรกิจการเงินนอกระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แชร์ลูกโซ่ เป็นต้น รวมถึงให้ข้อมูลเรื่องมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
อินโฟเควสท์