- Details
- Category: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ
- Published: Friday, 13 April 2018 16:45
- Hits: 22450
เวิลด์แบงก์ เตือนอาเซียน รับมือสงครามการค้า 'จีน-สหรัฐ'
แนวหน้า : ธนาคารโลก(เวิลด์แบงก์)ได้เผยแพร่รายงาน 'อัพเดทเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก' โดยเตือนว่า สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากพึ่งการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะได้รับ ผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด หากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างจีนและสหรัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายประเทศในอาเซียนเป็นฐานการผลิตสินค้า หรือส่วนประกอบสินค้าให้กับจีน
ด้านนายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มองว่า ภาพรวม เศรษฐกิจไทยปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว เพียงร้อยละ 3.7 ซึ่งยังเร่งตัว ไม่แรง ขณะที่การใช้จ่ายของประชาชนก็ยังไม่คึกคัก ดังนั้น จะต้องอาศัย การขับเคลื่อนจากการส่งออกและการท่องเที่ยวมาเป็นปัจจัยบวกในการ กระตุ้นเศรษฐกิจ
พร้อมคาดว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้บรรยากาศการท่องเที่ยวและการจับจ่ายจะเป็นไปด้วยความคึกคัก เม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวจะสะพัดมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ปีนี้รัฐบาลกระตุ้นการท่องเที่ยว เมืองรอง โดยให้ประชาชนนำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2561 มาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ก็จะกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรองให้มีความคึกคักมากขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินกระจายสู่ ต่างจังหวัด
WTO เผยการค้าโลกมีแนวโน้มแข็งแกร่ง ขณะคาดปริมาณซื้อขายสินค้าเพิ่ม 4.4% ปีนี้
องค์การการค้าโลก (WTO) แถลงในวันนี้ว่า ภาวะการค้าทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดว่าปริมาณการซื้อขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น 4.4% ในปีนี้ และ 4.0% ในปีหน้า
WTO ระบุว่า การขยายตัวของการค้าโลกขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่ง และการสนับสนุนของภาครัฐในการใช้นโยบายการค้าที่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี WTO ระบุเตือนว่า ยังคงมีสัญญาณบ่งชี้ถึงความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจ และการตัดสินใจลงทุน และอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มในปัจจุบัน
"ความคืบหน้าทางการค้าจะถูกบ่อนทำลาย หากรัฐบาลใช้นโยบายกีดกันทางการค้า และทำการตอบโต้กันไปมาจนนำไปสู่ความรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้" WTO ระบุ
ADB ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียปีนี้สู่ระดับ 6% จาก 5.8% รับอานิสงส์การส่งออกสดใส
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2561 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย สู่ระดับ 6.0% จากระดับ 5.8% โดยได้ปัจจัยหนุนจากอุปสงค์การส่งออกที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ADB เตือนว่า มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ และมาตรการตอบโต้ต่างๆ อาจสร้างความเสียหายต่อการค้าโลก
ขณะเดียวกัน ADB ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจจีนขึ้นสู่ระดับ 6.6% ในปี 2561 จากตัวเลขคาดการณ์เมื่อเดือนธ.ค.ซึ่งอยู่ที่ 6.4% ส่วนในปี 2562 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.4%
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ADB ได้เปิดเผยรายงานประจำปีชื่อว่า "แนวโน้มการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย (Asian Development Outlook) ในวันนี้ โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไม่นับรวมญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีแนวโน้มขยายตัว 6.0% ในปี 2561 และ 5.9% ในปี 2562 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวชะลอตัวลงจากปี 2560 ซึ่ง GDP มีการขยายตัว 6.1%
ยาซายูกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ADB กล่าวว่า "ภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียจะยังคงรักษาระดับการเติบโตในปัจจุบันเอาไว้ได้ โดยได้แรงหนุนจากนโยบายที่แข็งแกร่ง การขยายตัวของการส่งออก และอุปสงค์ภายในประเทศที่สดใส"
ขณะเดียวกัน ADB คาดว่า เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2561 และ 2562 จะขยายตัว 5.2% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับในปี 2560 โดยระบุว่า ความแข็งแกร่งทางด้านการลงทุนและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจะเป็นปัจจัยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการขยายตัวรวดเร็วขึ้น
ส่วนเศรษฐกิจในเอเชียตอนกลาง คาดว่า จะขยายตัว 4.0% ในปี 2561 และ 4.2% ในปี 2562 โดยได้แรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ ADB คาดการณ์ว่า ราคาผู้บริโภคและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในเอเชียที่สูงขึ้นนั้น จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้นด้วย โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจากราคาผู้บริโภคในปี 2561 และ 2562 จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 2.9% จากระดับ 2.3% ในปี 2560
เอดีบี ยกเศรษฐกิจไทยแตะ 4% ลงทุนรัฐ-เอกชนหนุน ธปท.เน้นดูแลเงินเฟ้อ
ไทยโพสต์ * "เอดีบี" คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2561 โตแรงแตะ 4% อานิสงส์การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ด้าน ธปท.ยืนยันใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้ออกรายงานฉบับล่าสุด โดยระบุว่า ประเมินว่าในปี 2561 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4% และในปี 2562 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% เนื่องจากการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ ภาครัฐ และการลงทุนของภาค เอกชน รวมถึงการบริโภคภาย ในประเทศที่กระเตื้องขึ้น รวมถึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียกำลังฟื้นตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขจีดีพีในปี 2561 ของภูมิภาคเอ เชียและแปซิฟิกจะขยายตัวสูงถึง 6% ก่อนจะชะลอตัวลง เหลือ 5.9% ในปี 2562 โดยแนว โน้มการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายที่สมเหตุสมผล การขยายตัวของปริมาณการส่งออก และอุปสงค์ภายในประ เทศที่เข้มแข็งมากขึ้น ขณะที่การเชื่อมโยงทางการค้าของภูมิภาคที่เข้มแข็งและนโยบายตั้งรับทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ช่วย วางรากฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเพื่อให้ทนต่อปัจจัยความเสี่ยงภายนอกได้เป็นอย่างดี รวมถึงความตึงเครียดทางการค้าและการไหลออกอย่างรวดเร็วของเงินทุน
สำหรับ ความเสี่ยงที่ถือเป็นปัจจัยลบต่อการประมาณการเศรษฐกิจครั้งนี้ เกิดจากความกังวลว่าความตึงเครียดทางการค้าจะบานปลาย แม้ว่านโยบายขึ้นภาษีสำหรับสินค้าบางประเภทของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมายังไม่ส่งผลต่อการค้าเท่าใดนัก แต่การเคลื่อนไหวต่อไปของสหรัฐ และการตอบโต้ของประเทศต่างๆ ที่มีต่อสหรัฐ จะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนในเอเชียและแปซิฟิกถดถอยลง
นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ จะเป็นตัวเร่งการไหลออกของเงินทุน แต่สภาพคล่องที่มีจำนวนมากในภูมิภาคจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงจากเงินทุนไหลออกได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นประเทศในเอ เชียส่วนใหญ่จะสามารถรับมือกับความท้าทายนี้ได้เป็นอย่างดี
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยถึงรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือน มี.ค.2561 ว่า ในระยะข้างหน้าคณะกรรมการเห็นว่านโยบายการเงินยังควรอยู่ในระดับผ่อนคลายไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยกลับสู่เป้าหมายในระยะปานกลางได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม
"ในการพิจารณาครั้งนี้ คณะกรรมการประเมินว่า เศรษฐ กิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนและต่อเนื่องมากขึ้น ตามการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลก รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่ปรับดีขึ้น โดยการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางปรับสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อยจากปริมาณผลผลิตเนื้อสัตว์และผักผลไม้ที่ออกสู่ตลาดมากทำให้ราคาลดลง" นายจาตุรงค์กล่าว.
ผอ. IMF เตือนเศรษฐกิจโลกสะเทือนหากถูกกระทบจากสงครามการค้าจีนและสหรัฐ
นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกโรงเตือนว่า เศรษฐกิจโลกตกอยู่ภายใต้เมฆครึ้มที่บดบังท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและจีน พร้อมกับผลักดันให้รัฐบาลประเทศต่างมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับลัทธิการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง มิเช่นนั้นก็จะต้องเผชิญกับผลลัพธ์ด้านลบตามมา
ผอ. IMF กล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาฮ่องกงในวันนี้ว่า ระบบการค้าโลกในปัจจุบันเสี่ยงที่จะแตกเป็นเสี่ยงๆ และมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกผันผวนและยังทำให้ผู้บริโภคยากจนลงอีกด้วย
นางลาการ์ด กล่าวว่า เราควรจะเพิ่มความพยายามในการลดกำแพงการค้ามากยิ่งขึ้นเป็น 2 เท่า และคลี่คลายความเห็นต่างโดยปราศจากการใช้มาตรการเพิ่มเติม
การแสดงความเห็นของผอ. IMF มีขึ้น หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขู่เรื่องการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน เพื่อตอบโต้การค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยสหรัฐมียอดขาดดุลการค้ากับจีน 3.75 แสนล้านดอลลาร์
ขณะที่จีนเองขู่ที่จะตอบโต้ด้วยการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐ แม้ว่า ทั้งผู้นำจีนและสหรัฐจะได้ออกเคลื่อนไหวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ตึงเครียดแล้วก็ตาม
ผอ. IMF กล่าวว่า ประเทศต่างๆอาจจะเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศ เพื่อรับมือกับภาวะไร้สมดุลด้านการค้าและใช้เวทีการประชุมเพื่อคลี่คลายข้อพิพาท เราสามารถลงมือทำได้มากยิ่งขึ้น แต่เราไม่สามารถทำเพียงฝ่ายเดียวได้
อินโฟเควสท์