WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กุ้งไทยไม่ถูกเรียกเก็บ CVD จากสหรัฐฯ ... เป็นสัญญาณที่ดี แต่ผลต่อภาพการส่งออกกุ้งของไทยในปี 2556 ยังมีจำกัด

กุ้งไทยไม่ถูกเรียกเก็บ CVD จากสหรัฐฯ ... เป็นสัญญาณที่ดี แต่ผลต่อภาพการส่งออกกุ้งของไทยในปี 2556 ยังมีจำกัด  
กง  เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 กระทรวงพาณิย์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศอัตราภาษีอากรตอบโต้การอุดหนุน(Countervailing Duties: CVD) ขั้นสุดท้าย ต่อสินค้ากุ้งที่นำเข้าจาก 7 ประเทศผู้ส่งออกหลักของตลาดสหรัฐฯ ได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งอยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยจากคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ ในช่วงกลางเดือนกันยายน 2556 ร่วมด้วย จึงจะเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว รวมถึงประเมินสถานการณ์การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในปี 2556 และระยะต่อไป ดังนี้
  ไทยไม่ถูกเรียกเก็บอัตราภาษีอากร CVD จากสหรัฐฯ ... นับเป็นสัญญาณเชิงบวกท่ามกลางหลากปัจจัยที่กดดันอุตสาหกรรมกุ้งส่งออกของไทย กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ทบทวนและประกาศอัตราภาษีอากรตอบโต้การอุดหนุน (CVD) ขั้นสุดท้าย ของ 7 ประเทศผู้ส่งออกกุ้งหลักไปยังสหรัฐฯ ซึ่งผลของอัตราภาษีอากรขั้นสุดท้ายมีการเปลี่ยนแปลงไปจากผลเบื้องต้น ซึ่งได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา  โดยจากการเปิดไต่สวนขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ พบว่าไทยและอินโดนีเซีย มีการอุดหนุนจากภาครัฐในการช่วยเหลือสนับสนุนการส่งออกในระดับที่ต่ำ ส่งผลให้ไทยและอินโดนีเซีย มีอัตราภาษีอากร CVD ต่ำกว่าร้อยละ 2 และรอดพ้นจากการถูกเรียกเก็บอัตราภาษีอากร CVD จากสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อีก 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซียมีอัตราภาษีอากร CVD สูงสุด รองลงมาเป็น จีน เอกวาดอร์ เวียดนาม และอินเดีย ตามลำดับ ทั้งนี้ 5 ประเทศดังกล่าว ยังต้องรอลุ้นผลการพิจารณาด้านผลกระทบต่อผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ขั้นสุดท้าย ของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ หรือ U.S. International Trade Commission ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2556 ซึ่งหากผลการตัดสินเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับผลการตัดสินของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ก็มีโอกาสหลุดพ้นจากการเรียกเก็บอัตราภาษีอากร CVD ได้

1download

 


           คลิกเพื่ออ่านต่อ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!