การลงทุนในหลักทรัพย์ที่อ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ด้านเกษตร:มีแรงหนุนด้านราคาในช่วงที่เหลือของปี’55...แต่ความผันผวนยังสูง
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Friday, 12 February 2016 14:17
- Hits: 1587
การลงทุนในหลักทรัพย์ที่อ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ด้านเกษตร:มีแรงหนุนด้านราคาในช่วงที่เหลือของปี’55...แต่ความผันผวนยังสูง
เมื่อมองในมิติของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่มุ่งตอบวัตถุประสงค์ของการเพิ่มพูนความมั่งคั่งนั้น การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนอ้างอิงกับการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร (Soft Commodities) ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง สำหรับนักลงทุนในไทยนั้น การลงทุนในลักษณะดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ ซึ่งมักมีผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในตลาดล่วงหน้า (ตลาด Futures ที่มีสภาพคล่องสูงอย่างเช่น ตลาดล่วงหน้าชิคาโก หรือ Chicago Board of Trade: CBOT) ภายใต้มาตรวัดด้านราคาที่นิยมใช้ในรูปดัชนี คือดัชนี Deutsche Bank Agricultural Index (DBAI) อันประกอบด้วยสินค้าเกษตรกลุ่มที่มีสภาพคล่องสูง (เพราะมีความต้องการใช้เกือบทั่วโลก) ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาลี ข้าวโพด น้ำตาล ฝ้าย เมล็ดกาแฟ ถั่วเหลือง และโกโก้ และดัชนี S&P GSCI Agricultural Index ที่ประกอบด้วย ข้าวสาลี ข้าวสาลีที่ผลิตในแคนซัส ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย น้ำตาล เมล็ดกาแฟ และโกโก้ เป็นต้น (โดยทั้งสองดัชนีมีการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบที่ต่างกัน)
ในปัจจุบัน การลงทุนใน Soft Commodities ดังกล่าว กำลังเป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากมีแรงหนุนจากปัจจัยเชิงโครงสร้างอย่างเช่น การขยายตัวของประชากร ท่ามกลางข้อจำกัดของพื้นที่เพาะปลูก อีกทั้ง มีปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะภาวะภัยแล้งครั้งรุนแรงในรอบ 70 ปีของสหรัฐฯ ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่ หากเปรียบเทียบกับสินทรัพย์เสี่ยงประเภทอื่นๆ ในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงใกล้เคียง/ชนะทองคำ น้ำมัน และดัชนีหุ้นโลก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจ และมุมมองต่อแนวโน้มผลตอบแทนของการลงทุนในสินค้าโภค