การส่งออกไทย 5 เดือนแรก ได้รับแรงหนุนจากตลาดจีน และอาเซียน
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Tuesday, 09 February 2016 17:15
- Hits: 730
การส่งออกไทย 5 เดือนแรก ได้รับแรงหนุนจากตลาดจีน และอาเซียน
มูลค่าส่งออกของไทยเดือนพฤษภาคม 2555 สามารถกลับมายืนในแดนบวกได้เป็นครั้งที่ 2 นับจากต้นปี 2555 ที่ผ่านมา สอดคล้องกับทิศทางที่ดีขึ้นของภาคการผลิตที่กลับสู่ภาวะปกติแล้วในหลายอุตสาหกรรมจนปัญหาการขาดแคลนสินค้าคลี่คลายไปอย่างมาก อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซน (ที่ลุกลามและมีความเสี่ยงที่จะทวีความยุ่งยากขึ้นอีกในระยะข้างหน้า) และทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน ก็ยังอาจเป็นโจทย์ท้าทายที่สำคัญของภาคการส่งออกไทยในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการสรุปประเด็นที่น่าสนใจ พร้อมทั้งประเมินแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2555 ไว้ดังนี้ :-
การส่งออกพลิกกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 เดือน แต่การนำเข้ายังเร่งตัวขึ้นมากกว่า มูลค่าการค้าของไทยในเดือนพ.ค. 2555 แม้ยังบันทึกยอดขาดดุลการค้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ตามการเร่งตัวขึ้นของมูลค่าการนำเข้าที่น่าจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมการฟื้นฟูซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ทั้งในภาคโรงงานผลิตและภาคครัวเรือน แต่ในขณะเดียวกัน สถิติการค้าระหว่างประเทศในเดือนพ.ค. ก็สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของภาคการส่งออกที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศเดือนพ.ค. 2555 การส่งออกมีมูลค่า 20,932.5 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.68 (YoY) และจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 23.72 (MoM) ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 22,672.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.17 (YoY) และร้อยละ 14.58 (MoM) ส่งผลให้ไทยบันทึกยอดขาดดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่สามอีก 1,739.7 ล้านดอลลาร์ฯ โดยสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพ.ค.2555 มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
มูลค่าส่งออกของไทยในเดือนพ.ค. 2555 เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า แม้จะอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่กดดันจากทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากอานิสงส์ของการฟื้นตัวในภาคการผลิต ขณะที่ ราคาสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของไทยก็มีระดับทรงตัวหรือปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามสถานการณ์การแข่งขันจากคู่แข่ง (โดยเฉพาะสินค้าเกษตร) และสัญญาณอ่อนแอในเศรษฐกิจแกนหลักของโลก ที่นอกจากจะสะท้อนภาวะซบเซาของอุปสงค์