เงินเฟ้อผ่อนคลายลงในไตรมาส 2 ... มาตรการดูแลราคาของรัฐยังเป็นตัวแปรสำคัญ
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Tuesday, 09 February 2016 15:09
- Hits: 1132
เงินเฟ้อผ่อนคลายลงในไตรมาส 2 ... มาตรการดูแลราคาของรัฐยังเป็นตัวแปรสำคัญ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือนพฤษภาคม 2555 รักษาระดับใกล้เคียงกับในเดือนก่อนหน้า ในอัตราร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวลงตามราคาในตลาดโลก ช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิต-การขนส่ง และช่วยชดเชยกับผลของต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นหลังจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งก็ทำให้การส่งผ่านภาระต้นทุนของภาคธุรกิจมาที่ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคยังไม่เร่งตัวอย่างรวดเร็วนัก
อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (Year-on-Year: YoY) ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.47 (YoY) ในเดือนเมษายน เช่นเดียวกันกับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.39 (Month-on-Month: MoM) ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 (MoM) ในเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤษภาคม 2555 ขยับลงมาเล็กน้อยมาที่ร้อยละ 1.95 (YoY) จากร้อยละ 2.13 (YoY) ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่เทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มในอัตราที่เร่งขึ้นมาที่ร้อยละ 0.29 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน (MoM)
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี 2555 นั้น แม้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมุมมองเดิมว่า ทิศทางเงินเฟ้อจะกลับมาไล่ระดับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ก็คงต้องยอมรับว่า สำหรับทิศทางเงินเฟ้อในระยะสั้น นอกจากผลของปัจจัยเรื่องฐานการคำนวณเปรียบเทียบแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจกดดันให้อัตราเงินเฟ้อของไทย ปรับตัวเข้าสู่ช่วงผ่อนคลายลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ได้แก่ ...
(1)การขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ไปจนถึงเดือนกันยายน 2555 ตลอดจนการเข้าดูแลการปรับราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนของผู้ผลิต
(2)แรงขายอย่างหนักในตลาดน้ำมัน-โภคภัณฑ์อื่นๆ ในตลาดโลก ซึ่งย่อมจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศมีทิศทางชะลอลงตาม