WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บทความเผยแพร่ วันที่ 10 ก.พ. 2555 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย

บทความเผยแพร่ วันที่ 10 ก.พ. 2555 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย
006 KR ศนยวจยกสกรไทย   ตลาดคู่รักและคู่ฮันนีมูนปีมังกร : เอื้อต่อการขยายตลาดนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้
   การบริหารจัดการหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ...กับหลากประเด็นที่ยังต้องติดตาม
ประเด็นเด่นวันนี้
   การส่งออกของจีนในเดือน ม.ค. 2555 หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 0.5 (YoY) หลังจากขยายตัวร้อยละ 13.4 ในเดือน ธ.ค. 2554
   อัตราเงินเฟ้อของเม็กซิโกเดือน ม.ค. 2555 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.05 (YoY) เกินกว่ากรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 2-4 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2553
   องค์การอาหารของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์วางแผนจะเปิดประมูลนำเข้าข้าว 500,000 ตันให้เสร็จภายในกลางเดือนมีนาคม 2555
อัตราแลกเปลี่ยน
สกุลเงิน    10 ก.พ. 55 (ล่าสุด)    9 ก.พ. 55 (ปิด)
   USD/THB    30.81    30.73
   USD/JPY    77.71    77.67
   EUR/USD    1.3252    1.3281
เงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางกระแสการอ่อนค่าของสกุลเงินในเอเชีย หลังจากที่แผนความช่วยเหลือกรีซรอบ 2 ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่มาก แม้ว่าผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลกรีซจะยอมรับข้อตกลงปฏิรูปทางการคลังแล้วก็ตาม
ราคาทองและน้ำมัน
ราคา    10 ก.พ. 55 (ล่าสุด)    9 ก.พ. 55 (ปิด)
น้ำมัน NYMEX ($ /บาร์เรล)    99.28    99.84
ทองคำโลก ($ /ออนซ์)    1,721.50    1,729.40
   ราคาน้ำมันและทองคำปรับลดลง จากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก หลังการส่งออกของจีนปรับลดลง รวมถึงการที่เงินดอลลาร์ฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้น
ประเด็นเด่นวันนี้
   การส่งออกของจีนในเดือน ม.ค. 2555 หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 0.5 (YoY) หลังจากขยายตัวร้อยละ 13.4 ในเดือน ธ.ค. 2554 โดยยอดส่งออกบันทึกที่ 149.9 พันล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงในตลาด EU แต่ยังขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ และอาเซียน ส่วนการนำเข้าบันทึกที่ 122.7 พันล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงร้อยละ 14 (YoY) ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้ายังเร่งขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ที่27.2 พันล้านดอลลาร์ฯ
   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้การหดตัวของทั้งการส่งออกและนำเข้าในเดือน ม.ค.จะเป็นผลจากเทศกาลตรุษจีนซึ่งทำให้กิจกรรมการผลิตชะงักลงชั่วคราว และกิจกรรมต่างๆ น่าจะทยอยกลับสู่ภาวะปกติในเดือนถัดไป อย่างไรก็ดี ภาวะอ่อนแรงของอุปสงค์จากทั่วโลกอาจยังคงฉุดรั้งการส่งออกของจีนในระยะอย่างน้อย 1 ไตรมาสข้างหน้า ขณะเดียวกัน การชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรมของจีน ก็อาจส่งผลให้การนำเข้าปัจจัยการผลิตมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องในเดือนถัดไป แต่ทว่า ด้วยความต้องการภายในประเทศที่ยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นตามรายได้ของประชากรจีน ก็น่าจะส่งผลให้การนำเข้าในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะต่อไป จึงคาดว่าแนวโน้มการเกินดุลการค้าของจีนน่าจะรักษาทิศทางที่แคบลงในปีนี้ต่อเนื่องจากปี 2554

1download

 

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!