WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เงินเฟ้อช่วงครึ่งหลังของปี 2555...อาจมีน้ำหนักมากขึ้นต่อจุดยืนนโยบายการเงิน

เงินเฟ้อช่วงครึ่งหลังของปี 2555...อาจมีน้ำหนักมากขึ้นต่อจุดยืนนโยบายการเงิน
005 เงนเฟอ   คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.00 ตามการคาดการณ์ของตลาด ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 โดยประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ แถลงการณ์หลังการประชุมนโยบายการเงินรอบนี้ ยังได้สะท้อนมุมมองในเชิงบวกต่อทิศทางการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลกระทบน้ำท่วม และสัญญาณเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นแรงส่งที่สำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่ เงินเฟ้ออาจได้รับแรงกดดันมากขึ้น จากทิศทางเศรษฐกิจ ค่าจ้างและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
   มติของกนง.ในรอบนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ สะท้อนว่า ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคชะลอตัวลงมากเกินคาดทั้งในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ชะลอลงมาที่ร้อยละ 2.47 (YoY) และร้อยละ 2.13 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในเดือนเมษายน 2555 จากร้อยละ 3.45 และร้อยละ 2.77 ในเดือนมีนาคม ตามลำดับ
   ทั้งนี้ เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมุมมองเดิมว่า แรงกดดันเงินเฟ้ออาจผ่อนคลายลงในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้ธปท. พอมีเวลาในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ทิศทางเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวกลับมาจากผลของการส่งผ่านภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จะทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อกลายเป็นตัวแปรที่มีน้ำหนักมากขึ้นต่อการกำหนดจุดยืนเชิงนโยบายการเงินของธปท.
   การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตนับจากต้นปี 2555...ยังสอดคล้องกัน ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับระดับสิ้นปี 2554 ซึ่งเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับระดับราคาสินค้าผู้ผลิตที่ขยับขึ้นราวร้อยละ 1.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ สถานการณ์ของผู้บริโภคและผู้ประกอบการในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2555 ต่างก็ต้องเผชิญกับภาพแรงกดดันสะสมของค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากราคาพลังงาน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรายจ่ายผู้บริโภค ก็เป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญของภาคธุรกิจ)

1download

 

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!