S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ ... ผลต่อเศรษฐกิจไทย
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Wednesday, 20 January 2016 09:16
- Hits: 1436
S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ ... ผลต่อเศรษฐกิจไทย
ตลาดการเงินเอเชียวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ตอบรับข่าวการสูญเสียอันดับความน่าเชื่อถือ AAA เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ด้วยแรงเทขายอย่างหนักในตลาดหุ้น ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง
เมื่อเทียบกับเงินเยน และเงินฟรังก์สวิส ซึ่งเป็นสกุลเงินที่นักลงทุนมองว่าปลอดภัย เช่นเดียวกับทองคำที่ทะยานขึ้นทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่เหนือ 1,700 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ หลังจาก
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของสหรัฐลง 1 ขั้นจาก ‘AAA’ สู่ ‘AA+’ โดยมีแนวโน้มเป็นเชิงลบ
ซึ่งสะท้อนถึงความอ่อนไหวต่อการถูกปรับอันดับเครดิตลงอีกในระยะ 12-18 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นไว้ที่ ‘A-1+’ ตามเดิม
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางจังหวะเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรากฏภาพที่อ่อนแอลง พร้อมกับกระแสความวิตกกังวลต่อปัญหาหนี้ในกลุ่มยูโรโซนได้แผ่ขยายไปสู่เศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 3 และ 4
ของกลุ่ม คือ อิตาลีและสเปน จากกรณีดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
ผลต่อตลาดการเงินโลก แม้การตัดสินใจลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ เกิดขึ้นเนื่องจาก S&P ให้น้ำหนักไปที่แผนการตัดลดการขาดดุลงบประมาณในระยะ 10 ปีข้างหน้า (ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ฯ) ที่
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลงนามเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น ต่ำกว่าที่ S&P ตั้งเงื่อนไขไว้ที่ 4 ล้านล้านดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่โมเมนตัมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ
อ่อนแรงลงจนทำให้มีความกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เผชิญกับข้อจำกัดทางด้านการคลังอาจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ (Double-Dip Recession) ซึ่งหากสถานการณ์ดำเนินไปในทิศทางที่เลวร้ายลง