WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดัชนีราคาข้าวเดือนกรกฎาคม 2554 และคาดการณ์สถานการณ์ข้าวช่วงที่เหลือของปี 54

ดัชนีราคาข้าวเดือนกรกฎาคม 2554 และคาดการณ์สถานการณ์ข้าวช่วงที่เหลือของปี 54
ดชนขาว copy copy   ราคาข้าวในเดือนสิงหาคม 2554 มีแนวโน้มสูงขึ้น ต่อเนื่องจากในเดือนกรกฎาคม 2554 จากปัจจัยหนุนสำคัญ คือ ช่วงไตรมาส3 เป็นช่วงปลายฤดูการผลิตข้าวนาปรัง และนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลใหม่ที่คาดว่า
จะประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2554 (ต้นฤดูการผลิตข้าวนาปี 2554/55) โดยคาดว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 15,000 บาท/ตัน และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท/ตัน ทำให้โรงสีและพ่อค้าข้าวเข้ามาแย่งซื้อข้าวจาก
ชาวนา เพื่อรอราคาที่คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกชะลอรับคำสั่งซื้อล็อตใหญ่ เนื่องจากเกรงว่าจะขาดทุน และรอดูความชัดเจนของมาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ภาวะการ
แข่งขันในตลาดโลกนับเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางราคาในตลาดโลก และมีส่วนสำคัญในการกำหนดราคาข้าวในประเทศในระยะต่อไป
   ส่วนราคาข้าวไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากประเทศผู้ซื้อรับรู้ในเรื่องแนวโน้มทิศทางราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น กอปรกับปัจจัยหนุนจากในช่วงนี้มีความต้องการข้าวของประเทศ
อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ รวมทั้งบางประเทศในแอฟริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้หันไปซื้อข้าวจากเวียดนาม และอินเดีย เนื่องจากราคาข้าวถูกกว่าไทย โดยเวียดนามได้คำสั่งซื้อข้าวจากอินโดนีเซียไป 0.5  ล้านตันเพื่อส่ง
มอบในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2554 ซึ่งนับเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้สมาคมอาหารของเวียดนามเลื่อนแผนการจะซื้อข้าวสาร 1 ล้านตัน
หรือข้าวเปลือก 2 ล้านตันจากฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (ฤดูการผลิตข้าวสำคัญของเวียดนาม ที่มีผลผลิตมากที่สุดในปีการผลิต) ซึ่งเดิมเคยเป็นปัจจัยที่เตรียมไว้เพื่อกระตุ้นราคาข้าวในประเทศ เนื่องจากปริมาณ
ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าที่มีคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้น
   ในกรณีของอินเดีย รัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ(ข้าวขาวและข้าวนึ่ง) 1.8 ล้านตัน โดยให้เอกชนส่งออก 1 ล้านตัน จำหน่ายในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล 0.5 ล้านตัน และจำหน่ายให้
บังคลาเทศ 0.3 ล้านตัน ซึ่งการกลับมาส่งออกข้าวอีกครั้งของอินเดียหลังจากหยุดส่งออกไปตั้งแต่ปี 2552 คาดว่าอินเดียเข้ามาเป็นคู่แข่งขันส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่งของไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 ทั้งในตลาด
บังคลาเทศ แอฟริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจัยทั้งจากเวียดนามและอินเดียอาจะส่งผลให้การส่งออกข้าวของไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 มีแนวโน้มชะลอลง

1download

 

 

          คลิกอ่านเพิ่มเติม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!