อินเดียกลับมาส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ...เพิ่มปัจจัยท้าทายส่งออกข้าวช่วงครึ่งหลังปี 2554
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Tuesday, 19 January 2016 09:34
- Hits: 1705
อินเดียกลับมาส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ...เพิ่มปัจจัยท้าทายส่งออกข้าวช่วงครึ่งหลังปี 2554
อินเดียอนุมัติส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ(Non Basmati Rice)ปริมาณ 1.8 ล้านตัน หลังจากหยุดมาตั้งแต่ปี 2552 โดยส่งออก 3 ช่องทาง คือ เอกชนเป็นผู้ส่งออก 1 ล้านตัน รัฐบาลจำหน่ายให้บังคลาเทศ 3 แสนตัน
และจำหน่ายผ่านระบบรัฐบาลต่อรัฐบาลอีก 5 แสนตัน โดยกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำของข้าวขาวตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ และราคาข้าวนึ่ง 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน
การส่งออกข้าวของอินเดียแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวบาสมาติ ข้าวบาสมาติเป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกมากในอินเดีย และปากีสถาน ซึ่งข้าวบาส มาติของอินเดียนั้นเป็นคู่แข่งสำคัญ
ของข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดโลก โดยในช่วงที่ผ่านมาอินเดียยังคงส่งออกข้าวบาสมาติ แต่มีปริมาณส่งออกลดลงตั้งแต่ปี 2552 เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ปริมาณการผลิตลดลง นับเป็นโอกาสของข้าว
หอมมะลิไทยที่จะเข้าไปทดแทนตลาดข้าวบาสมาติบางส่วน แต่ก็ยังต้องแข่งขันกับข้าวหอมที่ผลิตจากหลายประเทศที่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น ข้าวหอมจีน ข้าวหอมเม็กซิกัน เป็นต้น
ข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติที่อินเดียส่งออกและเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดโลก คือ ข้าวขาว และข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) โดยตลาดส่งออกข้าวขาวที่สำคัญของอินเดียคือ ตลาดแอฟริกา
และตลาดในแถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะบังคลาเทศ ดังนั้น การที่อินเดียงดส่งออกข้าวขาว ทำให้ทั้งไทยและเวียดนามเข้าไปช่วงชิงตลาดในส่วนนี้ ส่วนข้าวนึ่งคือ ข้าวเปลือกเจ้าที่เอามานึ่งให้สุก แล้วทำให้แห้งโดยการ
ตากหรืออบ ก่อนจะนำไปสีเป็นข้าวสาร ผลดีของการทำข้าวนึ่งคือลดปริมาณข้าวหักระหว่างการขัดสี เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่น วิตามินบี และแร่ธาตุบางชนิดซึมเข้าสู่เมล็ดข้าวขณะแช่ข้าวเปลือก ข้าวนึ่งมีลักษณะ
ร่วนแข็ง และสามารถเก็บสต็อกได้นาน โดยมีปัญหาเรื่องแมลงรบกวนน้อยกว่าข้าวขาว ข้าวนึ่งเป็นที่นิยมบริโภคกันแถบอินเดีย บังคลาเทศ แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังเริ่มเป็นที่นิยมบริโภคในยุโรปและ
อเมริกา เนื่องจากแม้ว่าข้าวนึ่งเป็นข้าวที่ผ่านการขัดสี แต่ก็มีคุณค่าอาหารมากกว่าข้าวขาว โดยอินเดียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกข้าวนึ่งมาเป็นเวลานาน ในขณะที่ปัจจุบันประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ
เช่น บราซิล อุรุกวัย เวียดนาม เป็นต้น เริ่มมีการหันมาผลิตข้าวนึ่งเพื่อการส่งออก แม้ว่าราคาข้าวนึ่งที่ผลิตจากประเทศเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าเมื่อเทียบกับราคาส่งออกข้าวนึ่งของไทย แต่ยังมีปริมาณไม่มากนัก
ทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวนึ่งของไทยไม่มากนัก ดังนั้นการงดการส่งออกข้าวนึ่งของอินเดีย ทำให้ไทยครอบครองตลาดข้าวนึ่งได้เกือบทั้งหมด