อุตสาหกรรมครึ่งหลังฟื้น แต่ทั้งปีอาจขยายตัวเพียง 3.0-4.5% … ธุรกิจต้องเร่งปรับตัวรับปัจจัยท้าทายในปีหน้า
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Monday, 18 January 2016 14:11
- Hits: 1193
อุตสาหกรรมครึ่งหลังฟื้น แต่ทั้งปีอาจขยายตัวเพียง 3.0-4.5% … ธุรกิจต้องเร่งปรับตัวรับปัจจัยท้าทายในปีหน้า
ภาคอุตสาหกรรมไทยในครึ่งปีแรกประสบภาวะชะลอตัว โดยในไตรมาสแรกมีการชะลอการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญซึ่งมีสต็อกสินค้าอยู่ในระดับสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีของภาคอุตสาหกรรม
ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ได้ทำให้ให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยต้องปรับลดกำลังการผลิตลงอย่างรุนแรงในช่วงเดือน
เมษายนถึงพฤษภาคมเนื่องจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนนำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมจีดีพีของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวลงในไตรมาสที่ 2/2554 อย่างไรก็ตาม หลังจากปัญหาในภาคการผลิตของญี่ปุ่น
เริ่มคลี่คลาย และอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับผลกระทบกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติได้เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 โดยมีประเด็นสำคัญ
ดังนี้
อุตสาหกรรมครึ่งปีหลังยังมีหลายปัจจัยหนุน แม้เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัว โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในครึ่งหลังของปี 2554 มีแรงหนุนจากหลายปัจจัย อาทิ การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบจากปัญหา
ภัยพิบัติในญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา ระดับสินค้าคงคลังที่เริ่มลดลง รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในประเทศที่มีความชัดเจน บวกกับการประกาศนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะมีส่วนเสริมความเชื่อมั่นของภาค
เอกชนและมีผลต่อการใช้จ่ายภายในประเทศตามมา อย่างไรก็ตาม ภาพเศรษฐกิจต่างประเทศมีปัจจัยบวกลดน้อยลงกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยตลาดประเทศเกิดใหม่ อย่างเช่น จีนและอินเดีย มีแนวโน้มชะลอตัวจากเงิน
เฟ้อที่พุ่งสูงเกินเป้าหมายของทางการ และการคุมเข้มด้านนโยบายการเงิน ขณะที่สหรัฐฯ นั้น แม้ปมปัญหาการขยายเพดานหนี้ที่กำลังเข้าใกล้เส้นตายในวันที่ 2 สิงหาคม น่าจะมีทางออกได้ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ
คงชะลอตัวลงภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพการคลัง ส่วนเศรษฐกิจยุโรปก็ยังคงอ่อนไหวต่อประเด็นปัญหาวิกฤตหนี้ในยูโรโซน ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อทิศทางอุปสงค์
ในตลาดส่งออกสำคัญของไทย นอกจากนี้ อุตสาหกรรมส่งออกอาจได้รับผลกระทบ