เศรษฐกิจจีนเดือนตุลาคมชะลอลง� รัฐบาลให้ความสำคัญด้านการเติบโตเชิงคุณภาพ เน้นปฏิรูปควบคู่ประคองการเติบโตตามเป้า
- Details
- Category: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- Published: Friday, 25 May 2018 13:17
- Hits: 958
เศรษฐกิจจีนเดือนตุลาคมชะลอลง� รัฐบาลให้ความสำคัญด้านการเติบโตเชิงคุณภาพ เน้นปฏิรูปควบคู่ประคองการเติบโตตามเป้า
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนมีการชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการผลิต การลงทุน หรือการใช้จ่ายจริงก็ตาม โดยผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2560 ได้มีการขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ซึ่งเป็นการชะลอลงจากที่มีการขยายตัวร้อยละ 6.6 YoY ในเดือนก่อน ในขณะเดียวกัน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรตั้งแต่ต้นปี (YTD) ก็ได้ชะลอลงจากอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.5 YoY มาอยู่ที่ร้อยละ 7.3 YoY นอกจากนี้ อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีกก็ได้ลดลงจากร้อยละ 10.3 สำหรับเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 10.0 สำหรับเดือนตุลาคม นับได้ว่าเป็นการชะลอลงในทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานเลยทีเดียว
ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของทางการ ก็ได้มีการปรับตัวลงทั้งคู่ด้วยเช่นกัน โดยที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของทางการปรับตัวลงจาก 52.4 สำหรับเดือนกันยายน เป็น 51.6 ในเดือนตุลาคม ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการของทางการ ได้ปรับลงจาก 55.4 สำหรับเดือนกันยายนเป็น 54.3 สำหรับช่วงเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต Caixin คงที่อยู่ที่ 51.0 ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ Caixin ก็ได้มีการขยับขึ้นจาก 50.6 ในเดือนกันยายนมาสู่ 51.2 ในเดือนสิงหาคม แต่หากเทียบกับตัวเลขของเดือนก่อนๆในทั้งปีแล้ว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ Caixin สำหรับเดือนตุลาคม ก็ยังมีค่าที่ต่ำสุดสำหรับทั้งปี รองลงมาจากแค่ค่าของเดือนกันยายนเท่านั้น ซึ่งทำให้โดยรวมแล้วสัญญาณจาก PMI อยู่ในเชิงลบอยู่ดี
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนมีการชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการผลิต การลงทุน หรือการใช้จ่ายจริงก็ตาม โดยผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2560 ได้มีการขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ซึ่งเป็นการชะลอลงจากที่มีการขยายตัวร้อยละ 6.6 YoY ในเดือนก่อน ในขณะเดียวกัน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรตั้งแต่ต้นปี (YTD) ก็ได้ชะลอลงจากอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.5 YoY มาอยู่ที่ร้อยละ 7.3 YoY นอกจากนี้ อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีกก็ได้ลดลงจากร้อยละ 10.3 สำหรับเดือนกันยายน มาอยู่ที่ร้อยละ 10.0 สำหรับเดือนตุลาคม นับได้ว่าเป็นการชะลอลงในทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานเลยทีเดียว
ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของทางการ ก็ได้มีการปรับตัวลงทั้งคู่ด้วยเช่นกัน โดยที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของทางการปรับตัวลงจาก 52.4 สำหรับเดือนกันยายน เป็น 51.6 ในเดือนตุลาคม ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการของทางการ ได้ปรับลงจาก 55.4 สำหรับเดือนกันยายนเป็น 54.3 สำหรับช่วงเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต Caixin คงที่อยู่ที่ 51.0 ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ Caixin ก็ได้มีการขยับขึ้นจาก 50.6 ในเดือนกันยายนมาสู่ 51.2 ในเดือนสิงหาคม แต่หากเทียบกับตัวเลขของเดือนก่อนๆในทั้งปีแล้ว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ Caixin สำหรับเดือนตุลาคม ก็ยังมีค่าที่ต่ำสุดสำหรับทั้งปี รองลงมาจากแค่ค่าของเดือนกันยายนเท่านั้น ซึ่งทำให้โดยรวมแล้วสัญญาณจาก PMI อยู่ในเชิงลบอยู่ดี