- Details
- Category: งานวิจัยเศรษฐกิจ
- Published: Monday, 15 June 2020 20:05
- Hits: 2225
สกสว. - อพท. ชูงานวิจัย ‘บิ๊ก ดาต้า’
ฐานข้อมูล ‘วิจัยท่องเที่ยวชุมชน’ บนคลาวด์
หนุนประเทศฟื้นโควิด ด้วยเศรษฐกิจฐานราก
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 14 ณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผอ.สกสว. ส่งมอบ “งานวิจัยท่องเที่ยวสู่การใช้ประโยชน์” ให้กับ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based - tourism หรือ CBT) 2 ผลงานคือ 1) การสำรวจศักยภาพและพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดย ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และ ดร.นราวดี บัวขวัญ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (ผู้อำนวยการแผนงาน) 2) การประเมินความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ระโหฐาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (ผู้อำนวยการแผนงาน) ซึ่งปัจจุบันงานวิจัยทั้ง 2 ชิ้น ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงส่งมอบให้กับ อพท. เพื่อการออกแบบการทำงานท่องเที่ยวชุมชนต่อไป
ศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สกสว. มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น โดยในปี 2561 - 2562 ได้ดำเนินงานสนับสนุนทุนวิจัยด้านการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงส่งเสริมและสร้างเครือข่ายงานการท่องเที่ยวและบริการขึ้นทั้งในและต่างประเทศเป็นการพัฒนางานวิจัยการท่องเที่ยวและบริการไทยอย่างยั่งยืน งานวิจัยและพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ Community - based Tourism ถือเป็น 1 ในรูปแบบการท่องเที่ยว ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างมูลค่าเศรษฐกิจที่นำไปสู่โอกาสการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศได้อย่างมาก เนื่องจากทั้ง 2 แผนงานนี้ มีเป้าหมายหลัก คือ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งถือเป็นนโยบายหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในเชิงการสร้างขีดความสามารถให้ชุมชนและการสร้างโอกาสด้านท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผลผลิตสำคัญ คือ การมีฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศครั้งแรก และการพัฒนาดัชนีการประเมินความสุข ซึ่งจะช่วยนำไปสู่การสร้างความเติบโตอย่างสมดุล ซึ่งในงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่ผ่านมา ยังมีมิติอื่นๆ ทั้งทางด้านการพัฒนาขีดความสามารถเพื่อการรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงนโยบายในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงการนำไปใช้ในพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ จากภาวะวิกฤตโควิด 19 ที่เกิดขึ้น ทุกท่านทราบดีว่ามีผลกระทบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ในด้านการวิจัยจะมีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) การวิจัยในเชิงประเด็นเร่งด่วน การศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทาง มาตรการหรือข้อเสนอแนะเพื่อรับมือ โดยเฉพาะเรื่อง การปรับตัวของภาคธุรกิจ การสร้างมั่นใจกับนักท่องเที่ยว การปรับโครงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และมาตรการความปลอดภัย 2) การวิจัยในเชิงเพื่อกำหนดมาตรฐานการปรับตัว เนื่องจากโควิด 19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมนักท่องเที่ยว แนวคิด New normal ซึ่งในด้าน Supply ต้องให้ความสำคัญต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอด supply chain 3) การวิจัยในเชิงอนาคต เพื่อให้เกิดแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่อง โควิด 19 เท่านั้นแต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกมิติ เช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี และเรื่องพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางการท่องเที่ยวชุมชนยุคหลังโควิด ตนมองว่าสิ่งที่ต้องตระหนักกว่า “ชุมชน” ถือเป็นพื้นที่ทางสังคมที่มีความเปราะบาง ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดโควิด 19 จะส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมาก ดังนั้น หากยังจำเป็นต้องส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ และการกำหนดมาตรการที่ชุมชนจะสามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนที่เหมาะสม คือ สร้างความมั่นใจทั้งในด้านของนักท่องเที่ยว และชุมชน บนพื้นฐานของความปลอดภัยและสามารถสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว ซึ่งทิศทางการท่องเที่ยวชุมชนหลังยุคโควิด น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังคงมีความต้องการท่องเที่ยว แต่ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวในประเทศและการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นเป้าหมายสำคัญ และนักท่องเที่ยวเองจะมีความรู้สึกถึงความปลอดภัยมากกว่าการไปในแหล่งท่องเที่ยวหลักที่มีคนจำนวนมาก ดังนั้น จากตัวความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ฝั่งชุมชนเองตอนนี้ก็ต้องปรับตัวให้เร็วทั้งในด้านการรองรับและการป้องกัน ซึ่งเหล่านี้ถือเป็น New Normal ของชุมชน
ด้านนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผอ.อพท. กล่าวว่างานวิจัยทั้ง 2 ชิ้น ถือเป็นงานวิจัยที่เป็นประโชน์ต่อ อพท. อย่างมาก อย่างในกรณีของงานวิจัย “การสำรวจศักยภาพและพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย” ที่ได้ออกแบบระบบฐานข้อมูล หรือ “บิ๊ก ดาต้า” (Big Data) สำคัญด้านข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนไทย ผ่านระบบคลาวด์ (Cloud Platform) การจัดเก็บข้อมูลด้านศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อรวบรวมศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 6 ด้าน คือ 1) ประวัติความเป็นมา 2) การจัดการท่องเที่ยว 3) ศักยภาพความสามารถของบุคลากรด้านการบริการท่องเที่ยวในชุมชน 4) แหล่งท่องเที่ยว 5) กิจกรรมและการบริการท่องเที่ยวที่ชุมชนเสนอขายและ 6) การประชาสัมพันธ์ ซึ่งผลวิจัยพบว่าภาคเหนือ เป็นภาคที่มีการท่องเที่ยวชุมชนเข้มแข็งสุด มีมาตรฐานด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะมีการจัดทำแผนสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประกอบด้วย การแบ่งส่วนการตลาด สื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และกิจกรรมการท่องเที่ยว จัดทำกลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสร้างคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า ซึ่งตนเองเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อ อพท. ในมิติที่จะออกแบบแผนการทำงานเชิงรุกเพื่อให้ชุมชนในประเทศไทย ใช้ “การท่องเที่ยว” เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 ซาลง อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยยังคงต้องได้รับการพัฒนาการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการนำเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด และการพัฒนาคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวต่อไป
AO6269
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web