- Details
- Category: สภาพัฒน์ฯ สศช.
- Published: Tuesday, 20 May 2014 00:10
- Hits: 5606
สภาพัฒน์ คาด GDP ปี 57 โต 1.5-2.5% จากเดิมคาดโต 3-4% หลัง Q1 ติดลบ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือสภาพัฒน์ ปรับลดคาดการณ์อัตราการขายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 57 มีแนวโน้มขยายตัว 1.5-2.5% ต่ำกว่าการขยายตัว 3.0-4.0% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 17 ก.พ.57
"เศรษฐกิจไทยในปี 57 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำจากการที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกติดลบและการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และมีแนวโน้มที่การจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม จึงส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของรายจ่ายภาครัฐและการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจที่สาคัญๆ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายและการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558
นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนในขณะที่การฟื้นตัวของการส่งออกที่มีแนวโน้มช้ากว่าที่คาดไว้เดิม ตามแนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น แรงส่งจากภาคการส่งออกจึงมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประมาณการไว้"สภาพัฒน์ ระบุ
สภาพัฒน์ ชี้แจงเหตุผลหลักในการปรับประมาณการในครั้งนี้ 3 ประการ คือ (1) ปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้เดิม เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้าออกไปจากที่คาดการณ์ไว้เดิมและเป็นข้อจำกัดมากขึ้นต่อการดำเนินมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณ และการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจทาให้ระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุน ประกอบกับมีผลกระทบมาจากการที่ฐานรายได้และเศรษฐกิจโดยภาพรวมชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง
(2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประมาณการไว้ จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกของไทยฟื้นตัวช้าและราคาส่งออกลดลง และ (3) จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกของปี 57 ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังคงมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวในปี 57 มีจำนวน 27.0 ล้านคน ลดลงจากสมมติฐาน 27.5 ล้านคนในการประมาณการครั้งก่อน
อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำในช่วง 1.9-2.9% ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุล 0.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากการขาดดุล 0.6% ในปี 56
รายละเอียดของการประมาณการปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 57 ในด้านต่างๆ มีดังนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้า คาดว่าจะขยายตัว 3.7% ปรับลดจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 5.0-7.0% โดยปรับลดทั้งปริมาณการส่งออกเป็นเพิ่มขึ้น 4.2% จากที่คาดไว้เดิม 4.0-6.0% และราคาสินค้าส่งออกทั้งปีมีแนวโน้มลดลง 1.0-0.0% ต่ำกว่าสมมติฐานการเพิ่มขึ้น 1.9-2.9% ในการประมาณการครั้งก่อน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า เมื่อรวมกับการปรับลดสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 3.6% ต่ากว่า 6.0% ในการประมาณการครั้งก่อน
การใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัว 1.8% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัว 5.0% ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัว 2.0% และ 0.3% ในการประมาณการครั้งก่อน ตามลำดับ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าคาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายภาครัฐและการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม
การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะหดตัว 0.2% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการขยายตัว 3.8% ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์ความยืดเยื้อทางการเมืองและผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการส่งออก ซึ่งทาให้อัตราการใช้กำลังการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือนคาดว่าจะขยายตัว 0.8% ปรับลดจากการขยายตัว 1.4% ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการบริโภคสินค้าคงทนยังมีแนวโน้มลดลงจากฐานที่สูงมากอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ และการชะลอตัวของฐานรายได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สถาบันการเงินยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
สภาพัฒน์ ระบุว่า การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 57 ควรให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นและการกระตุ้นตลาดให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน และเตรียมความพร้อมของกระบวนการงบประมาณประจำปี 2558
นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูบรรยากาศทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการดาเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออานวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ พร้อมทั้งการเตรียมมาตรการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
อินโฟเควสท์
พิษการเมือง ฉุด ศก'สภาพัฒน์'หั่นเป้าจีดีพีปี 57เหลือโต 1.5-2.5% หลังจีดีพี Q1/57 ติดลบ 0.6% จี้เร่งส่งออก- ฟื้นท่องเที่ยว
พิษการเมือง ฉุด ศก. 'สภาพัฒน์'หั่นเป้าจีดีพีปี 57 เหลือโต 1.5-2.5% จากที่คาดโต 3-4% หลังจีดีพี Q1/57 ติดลบ 0.6% ยังผลให้หั่นเป้าส่งออกปี 57 เหลือโต 3.7% นำเข้าเหลือโต 0.5% แนะ บริหาร ศก.ช่วงที่เหลือของปีนี้ จี้ เร่งรัดการส่งออก- ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ ) รายงานว่า เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัว 1.5 - 2.5% ต่ำกว่าการขยายตัว3.0 - 4.0 %ที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีเหตุผลหลักในการปรับประมาณการในครั้งนี้ 3 ประการ คือ (1) ปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้เดิม เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้าออกไปจากที่คาดการณ์ไว้เดิมและเป็นข้อจำกัดมากขึ้นต่อการดำเนินมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณ และการจัดเตรียมงบประมาณประจ าปี 2558 ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจท าให้ระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุน ประกอบกับมีผลกระทบมาจากการที่ฐานรายได้และเศรษฐกิจโดยภาพรวมชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง
(2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกของไทยฟื้นตัวช้าและราคาส่งออกลดลง และ (3) จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรกของปี 2557 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังคงมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวในปี 2557 มีจำนวน 27.0 ล้านคน ลดลงจากสมมติฐาน 27.5 ล้านคนในการประมาณการครั้งก่อน
"เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำจากการที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกติดลบและการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และมีแนวโน้มที่การจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม จึงส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของรายจ่ายภาครัฐและการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจที่ส าคัญๆ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายและการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 " สภาพัฒน์ระบุในเอกสารเผยแพร่
นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนในขณะที่การฟื้นตัวของการส่งออกที่มีแนวโน้มช้ากว่าที่คาดไว้เดิม ตามแนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น แรงส่งจากภาคการส่งออกจึงมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว
โดย มูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 2557 คาดจะขยายตัว 3.7% ปรับลดจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 5.0 - 7.0% โดยปรับลดทั้งปริมาณการส่งออกเป็นเพิ่มขึ้น4.2% จากที่คาดไว้เดิม 4.0 - 6.0% และราคาสินค้าส่งออกทั้งปีมีแนวโน้มลดลง 1.0 – 0.0% ต่ำกว่าสมมติฐานการเพิ่มขึ้น1.9-2.9% ในการประมาณการครั้งก่อน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า เมื่อรวมกับการปรับลดสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 3.6% ต่ำกว่า 6.0 % ในการประมาณการครั้งก่อน ส่วนการนำเข้าปี 57 คาดว่าจะโต 0.5% จากเดิมคาดโต 5.7% ส่งผลคาดดุลการค้าปี 57 เกินดุล 13.6 พันล้านดอลล์
ส่วนคาดการณ์ตัวเลขการลงทุนรวมปี 57 ติดลบ 1.3 % จากเดิมคาดโต 3.1% โดยในส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะหดตัว 0.2% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการขยายตัว 3.8% ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์ความยืดเยื้อทางการเมืองและผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการส่งออก ซึ่งท าให้อัตราการใช้กำลังการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยดังกล่าว ยังส่งผลให้การบริโภครวมปี 57 คาดเติบโต 1.0% ลดลงจากเดิมคาดโต 1.6%
ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัว1.8% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัว 5.0% ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัว 2.0% และ 0.3% ในการประมาณการครั้งก่อน ตามลำดับ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มล่าช้ากว่าคาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายภาครัฐและการจัดเตรียมงบประมาณประจำปี 2558 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม
ด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือน คาดว่าจะขยายตัว 0.8% ปรับลดจากการขยายตัว 1.4% ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการบริโภคสินค้าคงทนยังมีแนวโน้มลดลงจากฐานที่สูงมากอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ และการชะลอตัวของฐานรายได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สถาบันการเงินยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำ จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำในช่วงร้อยละ 1.9 -2.9 ซึ่งเป็นระดับเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปี 57 คาดว่าจะเกินดุล 0.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือเกินดุล 1.9 พันล้านดอลล์ ปรับตัวดีขึ้นจากการขาดดุลร้อยละ 0.6 ในปี 2556
สำหรับ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไตรมาสแรกของปี2557 สภาพัฒน์ รายงานว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ GDP ติดลบ 0.6% เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสแรกปรับตัวลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 2.1% (QoQ SA) ในขณะที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ 0.9% อัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 2.0% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.67 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8% ของ GDP
ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่ติดลบในไตรมาสแรกมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของอุปสงค์ภาคเอกชนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ส่วนปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไม่ลดลงมากมี 2 ปัจจัย คือ การใช้จ่ายภาครัฐที่ยังคงมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณของทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และการส่งออกเริ่มขยายตัว อย่างไรก็ดี ยังเป็นการฟื้นตัวที่ช้าและไม่เพียงพอที่จะชดเชยให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ปัจจัยภายในประเทศที่ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจติดลบดังกล่าว ได้แก่
1. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง3.0 %จากการที่ค่าใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลง โดยเฉพาะปริมาณการจ าหน่ายรถยนต์นั่งที่ลดลงมากจากฐานการขยายตัวที่สูงมากในไตรมาสแรกของปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังมีการส่งมอบรถยนต์ตามมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก รวมทั้งเป็นผลจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงและระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่ายเนื่องจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของฐานรายได้และเศรษฐกิจโดยรวม
2. การลงทุนรวมลดลง9.8 %โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 7.3 เป็นการลดลงทั้งการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและหมวดการก่อสร้าง สอดคล้องกับการลดลงของมูลค่าการน าเข้าสินค้าทุนและการลดลงของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในช่วงก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐซึ่งลดลง19.3% ตามการลดลงของการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐ
3. การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น 2.9% เป็นผลจากการเบิกจ่ายงบประมาณในหมวดค่าตอบแทนบุคลากรที่เพิ่มขึ้นทั้งเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง ส่วนค่าใช้จ่ายหมวดสาธารณูปโภคลดลงเนื่องจากการหยุดทำการชั่วคราวของส่วนราชการในกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง โดยรวมแล้วอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจ าปี 2557 ในไตรมาสแรกอยู่ที่19.1% ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่24 %
ในด้านภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 55,573 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในอัตรา0.9% ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าส่งออกลดลง1.6 % และส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลง0.8 %สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ยางพารา สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรและ2 อุปกรณ์ มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นขยายตัวตามภาวการณ์ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในตลาดหลัก แต่มูลค่าการส่งออกไปยังจีนและอาเซียนลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อรวมกับการลดลงของจ านวนท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและมาตรการเพิ่มคุณภาพนักท่องเที่ยวของจีน ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการลดลง0.4%
ส่วนการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 49,054 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง14.8% โดยที่ปริมาณการนำเข้าลดลง13.8 %เนื่องจากอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศลดลงและปริมาณการส่งออกเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเพียงช้าๆ โดยรวมปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการหดตัว 8.5%การลดลงของมูลค่าการนำเข้าที่เร็วกว่ามูลค่าการส่งออกส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและการส่งออกสุทธิเริ่มปรับตัวในทิศทางที่เป็นบวก แต่ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการลดลงของอุปสงค์ในประเทศ
ในด้านการผลิตสินค้าและบริการ มีเพียงสาขาเกษตรและการเงินที่ยังคงขยายตัว ส่วนสาขาอื่นลดลงกล่าวคือ ภาคเกษตรกรรมโดยรวมขยายตัว0.8 %โดยเป็นการขยายตัวของหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์ ผลผลิตสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าว มันส าปะหลัง และปาล์มน้ามัน ในขณะที่ราคาพืชผลหลักยังคงลดลงต่อเนื่องภาคการเงินยังคงขยายตัวดีในอัตรา6.6 % แม้จะต่ ากว่า10.1% ในปี 2556 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่งผลให้ธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ ชะลอตัวตามไปด้วย สำหรับการผลิตที่ลดลง ประกอบด้วย สาขาอุตสาหกรรม ลดลง 2.7% ตามการลดลงของการบริโภค การลงทุน และการส่งออก อัตราการใช้กำลังการผลิตจึงยังคงอยู่ในระดับต่ า สาขาก่อสร้าง ลดลง12.4% โดยลดลงทั้งการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชน สาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 3.1 ตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสาขาการค้าส่งค้าปลีก หดตัว0.5% สอดคล้องกับการลดลงของการบริโภค ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ การผลิตในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และการท่องเที่ยว
และในช่วงที่เหลือของปีนี้ สภาพัฒน์ ระบุว่า ควรให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรายได้จากตลาดหลักและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นและการกระตุ้นตลาดให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน และเตรียมความพร้อมของกระบวนการงบประมาณประจำปี 2558
นอกจากนั้น ควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูบรรยากาศทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ พร้อมทั้งการเตรียมมาตรการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย