WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTฐากร ตณฑสทธกสทช. เผยมีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลผ่านอนุมัติเงิน Must Carry แล้ว 15 ราย อยู่ระหว่างพิจารณาอีก 3 ราย ยังไม่ได้ยื่นอีก 5 ราย

        กสทช. เผยมีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลยื่นขอสนับสนุนค่า Must Carry ผ่านดาวเทียมและได้รับอนุมัติแล้ว 15 ราย อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติ 3 ราย ยังไม่ได้ยื่นอีก 5 ราย

  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 76/2559 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

  ขณะนี้มีผู้มายื่นขอสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ให้บริการเป็นการทั่วไปผ่านดาวเทียม (Must Carry) โดยนำใบเสร็จมายื่นเป็นหลักฐานและได้รับอนุมัติแล้ว 15 ราย ได้แก่ 1.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก วงเงิน 2.77 ล้านบาท  2.บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด วงเงิน 2.83 ล้านบาท 3.บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด วงเงิน 2.83 ล้านบาท 4.บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด วงเงิน 2.70 ล้านบาท 5.บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด วงเงิน 2.83 ล้านบาท 6.บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด วงเงิน 2.84 ล้านบาท 7.บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด วงเงิน 2.85 ล้านบาท 8.บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด วงเงิน 2.85 ล้านบาท 9.บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด วงเงิน 2.85 ล้านบาท 10.บริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด วงเงิน 2.84 ล้านบาท 11.บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด วงเงิน 2.60 ล้านบาท 12.บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จำกัด วงเงิน 2.84 ล้านบาท 13.บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด วงเงิน 2.85 ล้านบาท 14.บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด วงเงิน 2.57 ล้านบาท และ15.บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด วงเงิน 2.85 ล้านบาท

  ในขณะที่อีก 3 ราย คือ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาสาธารณะแห่งประเทศไทย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และ บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ

 ทั้งนี้ ยังมีผู้ประกอบการอีก 5 รายที่ยังไม่ได้มายื่นขอรับการสนับสนุน ได้แก่ 1.กรมประชาสัมพันธ์  2.สภาผู้แทนราษฎร 3.บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (3ช่อง) 4.บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (2 ช่อง) ขอให้รีบยื่นขอรับการสนับสนุนเข้ามา

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

11 ช่องพร้อมใจยืดจ่ายไลเซนส์เร่งขอมัสต์แครี่

     ไทยโพสต์ : พหลโยธิน 8 * ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 11 ราย พร้อมใจยื่นขอขยายเวลาจ่ายไลเซนส์ ตาม ม.44 ขณะที่ 9 ช่องขอสนับสนุนมัสต์แครี่

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิ การคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจ การโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ตอนนี้มีผู้มายื่นขอขยาย ระยะเวลาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จำนวน 11 ช่องรายการแล้ว ตามที่คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 76/2559 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทร ทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

       ทั้งนี้ 11 ช่องรายการ ประ กอบด้วย 1.ช่อง NEW TV ของบริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด 2.ช่อง Nation ของบริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด 3.ช่อง NOW ของบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอด แคสติ้ง จำกัด 4.ช่อง Bright TV ของบริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด 5.ช่อง MCOT HD และ 6.ช่อง MCOT Family ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 7.ช่อง MONO 29 ของบริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด 8.ช่อง VOICE TV ของบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 9.ช่องไทยรัฐ TV ของบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาส์ท จำกัด 10.ช่อง PPTV HD ของบริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด และ 11.ช่อง 8 ของบริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จำกัด

      ส่วนเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่ให้บริการเป็นการทั่วไปผ่านดาวเทียม หรือมัสต์แครี่ (Must Carry) ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลมาขอยื่นรับการสนับสนุน โดยนำใบเสร็จมายื่นแล้วจำนวน 9 ช่องรายการ ซึ่งจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.2559 ถึง ก.พ.2560.

กสทช. เผยมีผู้ประกอบการขอขยายระยะเวลาจ่ายค่าไลเซ่นส์ทีวีดิจิตอล ตาม ม.44 แล้ว 11 ช่อง

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 76/2559 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ขณะนี้มีผู้มายื่นขอขยายระยะเวลาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ ออกไปแล้ว 11 ช่อง ได้แก่ 1.ช่อง NEW TV ของบริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด 2.ช่อง Nation ของบริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด 3.ช่อง NOW ของบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด 4.ช่อง Bright TV ของบริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด 5.ช่อง MCOT HD และ 6.ช่อง MCOT Family ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

     7.ช่อง MONO 29 ของบริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด 8.ช่อง VOICE TV ของบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 9.ช่องไทยรัฐ TV ของบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาส์ท จำกัด 10.ช่อง PPTV HD ของบริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด และ 11.ช่อง 8 ของบริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จำกัด

     ทางสำนักงาน กสทช. ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว และมีผู้มาขอยื่นเพิ่มอีก 1 ช่อง อยู่ระหว่างการพิจารณา

     ส่วนเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่ให้บริการเป็นการทั่วไปผ่านดาวเทียม (Must Carry) ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลมาขอยื่นรับการสนับสนุน นำใบเสร็จมายื่นแล้ว 9 ช่อง ซึ่งจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.2559 ถึงเดือน ก.พ.2560

     โดยช่องที่มายื่นได้แก่ 1.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก วงเงิน 2,777,706.70 บาท 2.บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด วงเงิน 2,702,380.96 บาท 3.บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด วงเงิน 2,844,611.80 บาท 4.บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด วงเงิน 2,856,901.69 บาท 5.บริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด วงเงิน 2,847,615.93 บาท 6.บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด วงเงิน 2,604,608.34 บาท 7.บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จำกัด วงเงิน 2,844,655.36 บาท 8.บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาส์ท จำกัด วงเงิน 2,856,901.69 บาท และ 9.บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด วงเงิน 2,571,211.80 บาท

   "สำหรับ ช่องที่เหลือที่ยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 23 พ.ค.60 ยังสามารถยื่นหนังสือแจ้งความจำนงมาที่สำนักงาน กสทช. ได้จนถึงวันที่ 22 พ.ค.60 ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวตาม ม.44 ได้ ส่วนกรณีของผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนค่า Must Carry ก็ให้รีบยื่นขอรับการสนับสนุนเข้ามา เพื่อที่ท่านจะได้นำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาเนื้อหารายการให้ดียิ่งขึ้น" นายฐากร กล่าว

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!