WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

NBCTฐากร ฒณฑสทธกสทช.เปิดแผน 5 ปีประมูลคลื่น 3 ย่านความถี่กว่า 10 ใบฯ, 1800MHz-850MHz เคาะเม.ย.61

   สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ 5 ปี (ปี 59-63)ประมูลคลื่นความถี่ 4 คลื่น โดยคลื่นแรกเป็นคลื่น 2600 MHz ที่คาดเปิดประมูลในปี 60 ได้ก่อน จำนวน 3-4 ใบอนุญาตใช้ขยายบรอดแบนด์ หลังร่าง พ.ร.บ.องค์กรประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมาคม ..(พ.ร.บ.กสทช.)ฉบับใหม่ เปิดทางให้อำนาจ กสทช.เยียวยาให้ บมจ.อสมท.(MCOT) ซึ่งเป็นผู้บริหารคลื่น 2600 MHz รายเดิม

     ขณะที่จะกำหนดเดือนเม.ย.61 เปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใช้ราคาสุดท้ายที่ประมูลคลื่น 1800 MHz รอบที่แล้วที่ราคา 4 หมื่นล้านบาท และย่านคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต ใช้ราคาประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งก่อนที่ราคา 7.56 เป็นเกณฑ์คิดราคาเริ่มต้น ก่อนที่ 2 คลื่นดังกล่าวจะหมดอายุสัมปทานในเดือน ก.ย. 61และในปี 63 เตรียมการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาตอิงราคาประมูลคลื่น 900 MHz ทั่คาดราคาเริ่มต้นจะสูงกว่าขึ้นคลื้น 900 MHz เพราะเป็นคลื่นที่มีประสิทธิภาพสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง

     ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปี สำนักงานกสทช.คาดจะสามารถนำเงินส่งรัฐได้มากกว่า 4 แสนล้านบาทจากการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 4 คลื่น ดังกล่าว

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงาน กสทช.ให้สัมภาษณ์กับ"อินโฟเควสท์"ว่า สำนักงาน กสทช.วางแผนจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วง 5 ปี (ปี 59-63) เพื่อจะบริหารคลื่นความถี่ได้ชัดเจน ก่อนที่แต่ละคลื่นจะหมดอายุสัญญาสัมปทาน และ สำนักงาน กสทช.ไม่ต้องการมีมาตรการเยียวยา

     ตามแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ คลื่นแรกที่จะเปิดประมูล คือคลื่น 2600 MHz ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ อสมท.มีการใช้งานอยู่จำนวน 190 MHz โดยเป็นการให้บริการแบบโทรทัศน์บอกรับสมาชิกที่ใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์ความเร็วสูงซึ่ง อสมท.ได้แสดงเจตจำนงกับสำนักงาน กสทช.แล้วว่า อสมท.จะคืนคลื่นความถี่มาให้ กสทช.จำนวนไม่น้อยกว่า 70 MHz แต่ กสทช.ต้องเยียวยาให้ อสมท.เพราะสัญญาสัมปทานยังไม่สิ้นสุดลง ซึ่งปัจจุบัน กสทช.ยังไม่มีอำนาจเยียวยา

     ดังนั้น อำนาจการเยียวยา ต้องรอ พ.ร.บ. กสทช.ฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการกำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งจะออกมาสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว คาดว่าจะบังคับใช้ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ในเดือน ธ.ค.59 จะทำให้สำนักงาน กสทช.ยังคงเป็นหน่วยงานอิสระ และ มีอำนาจเยียวยาให้กับ อสมท.

     หากกฎหมายดังกล่าวผ่านแล้ว สำนักงาน กสทช.ได้วางกำหนดเวลาจัดประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHzในปี 60 จำนวนใบอนุญาต 3-4 ใบอนุญาต เพื่อใช้สำหรับงานโครงข่ายให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์

*เม.ย.61 เปิดประมูล 1800 และ 850 MHz

   เลชาธิการ กสทช.กล่าวว่า คลื่นความถี่ที่จะเปิดประมูล ถัดมาคือ คลื่น 1800 MHz และ คลื่น 850 MHz  ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทานของ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) ในวันที่ 30 ก.ย.61 โดยคลื่นย่าน 1800 MHz มีจำนวน 45 MHz ที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) หรือ ดีแทคใช้งานอยู่ และ คลื่น 850 MHz จำนวน 10 MHz ซึ่ง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ใช้งานอยู่ โดยจะเปิดประมูลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนหมดอายุสัญญาฯ คาดว่าในเดือน เม.ย.61 และกระบวนการออกใบอนุญาตก็จะเสร็จสิ้นในเดือน ส.ค.61 ก่อนสัญญาสัมปทานจะหมดลง

   สำหรับคลื่นย่าน 1800 MHz จะเปิดประมูล 3 ใบอนุญาต ๆ ละ 15 MHz ส่วนคลื่น 850 MHz จะเปิดประมูล 1 ใบอนุญาต จำนวน 10 MHz ทั้งหมดราคาเริ่มต้นประมูลต้องไม่ต่ำกว่าราคาประมูลครั้งที่แล้ว รวมอัตราเงินเฟ้อ เป็นราคาเริ่มต้นในการประมูล ดังนั้น ราคาประมูลจะไม่ต่ำกว่าครั้งที่แล้ว

     ทั้งนี้ 850 MHz จะใช้ราคาประมูล 900 MHz เป็นราคาอ้างอิงที่กว่า 7 หมื่นล้านบาท ส่วนราคาประมูลคลื่น 1800 MHz ใช้อ้างอิงที่กว่า 4 หมื่นล้านบาท

     "เหตุผลที่ราคาประมูลใหม่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประมูลครั้งที่แล้ว เพราะจะเกิดการแข่งขันในตลาดไม่ได้ คนที่มีต้นทุนแตกต่างกันจะไม่เกิดความเป็นธรรม ที่สำคัญรายได้ของรัฐบาลจะเกิดความเสียหาย"เลขาธิการ กสทช.กล่าว

    อนึ่ง การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เมื่อเดือน ธ.ค.58 บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัทในกลุ่ม TRUE เคาะราคาสุดท้ายที่ 76,298 ล้านบาท ส่วนบมจ.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ประมูลได้ในราคา 75,654 ล้านบาท

     ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz เมื่อพ.ย.58 AWN ประมูลที่ราคา 40,986 ล้านบาท และ บริษัท ทรู มูฟ เอซ ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เสนอราคาสุดท้ายที่ 39,792 ล้านบาท

*ปี 63 เปิดคลื่น 700 MHz ราคาประมูลแพงสุด

      นายฐากร กล่าวว่า อีกคลื่นหนึ่งที่เตรียมการจะเปิดประมูล คือ ย่าน 700 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้รองรับธุรกิจทีวีดิจิตอลอยู่ 24 ช่อง คลื่นย่านนี้เป็นย่าน Broadcast แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เป็นคลื่นโทรคมนาคม แต่ไทยยังใช้คลื่น 700 MHz เพื่อธุรกิจทีวีอยู่ ดังนั้น เมื่อครบสัญญาสัมปทานในปี 63 กสทช.จะประกาศให้คลื่น 700 MHz เป็นคลื่นโทรคมนาคม และจะนำมาเปิดประมูล

    "เรากำลังอยู่ระหว่างเจรจา ไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 ช่อง 7 ถ้ามีการยุติออกอากาศในระบบอนาล็อกก่อนได้ จะทำให้คลื่นย่าน 700 MHz นำออกมาประมูลได้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมในปี 63 ที่จะเปิดประมูล ถ้า 2 ช่องยุติ และ  24 ช่อง ก็จะย้ายไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตอยู่แล้ว ย้ายได้ทันที "นายฐากร กล่าว

      ฉะนั้น กสทช.คาดว่าปี 63 หรือ หลังจากปี 63 เป็นอย่างช้า จะเปิดประมูลคลื่น 700 MHz จำนวน 45 MHz

    "เปิดประมูล 3 ใบอนุญาตคลื่น 700 MHz เป็นคลื่นที่มีมูลค่าสูงที่สุด มีมูลค่า มากกว่าคลื่นย่าน 900 MHz เหมาะนำไปใช้สำหรับ  5G เขาจะนำไปทำ 4G 5G ได้ ไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เราอย่าไปกำหนดว่าไปทำอะไร จะไปทำ 5G 6G ก็แล้วแต่ เพราะคลื่นย่านความถี่ต่ำเป็นคลื่นที่มีมูลค่าสูง เพราะลงทุนน้อยกว่า และการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วถึง"เลขาธิการ กสทช. กล่าว

    ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช.ให้ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปีต่อใบอนุญาต

   นายฐากร อธิบายว่า ราคาประมูลคลื่น 700 MHz สูงกว่าคลื่น 900 MHz เพราะเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนโครงข่ายมาก ดังนั้น กสทช.จะคำนวณจากพื้นฐานการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ 7 หมื่นกว่าล้านบาท บวกขึ้นไปในเชิงเศรษฐกดิจ

     “อย่าไปคิดว่าแพง คนชอบคิดว่าแพง เนื่องจากการลงทุนคุ้มค่าเพราะเขาเปิดให้บริการ ถ้าเฉลี่ยต่อเดือนได้ 1 พันกว่าล้านบาท เมื่อคิดเทียบเฉลี่ยเป็นปีก็จะไม่มาก"

    เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีนี้  กสทช.จะมีเงินจากการประมูลนำส่งรัฐได้ประมาณกว่า 4 แสนล้านบาท โดยเงินจากการเปิดประมูลคลื่น 700 MHz คาดว่าจะมีรายได้นำเข้ารัฐราว 2 แสนล้านบาท คลื่น 1800 MHz คาดไว้ที่ 1.2 แสนล้าบาท และคลื่น 850 MHz อีกเกือบ 1 แสนล้านบาท ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ราว 1.3 ล้านล้านบาทเหตุผลที่ กสทช.ต้องเตรียมการประมุลคลื่นความถี่ในช่วง 5 ปีนี้ เพราะทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแผลงเข้ายุค Internet of Thing

     "แม้ว่าบอร์ด กสทช.จะเปลี่ยนแปลง คนที่เข้ามาใหม่ หรือ มีเลขาธิการ กสทช.ไม่ใช่ชื่อนี้แล้ว ก็ยังต้องเดินหน้าตามแผนจัดสรรคลื่นความถี่ไปได้ต่อไป เป็น commitment ของสำนักงาน กสทช. มีภารกิจหน้าที่ทำงาน ไม่อย่างนั้นถือว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ"นายฐากร กล่าว

     ดังนั้น คณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่เข้ามาจะต้องเปิดประมูลคลื่นความถี่ตามแผนดังกล่าว การประมูลคลื่นความถี่ได้ทันทีเมื่อสัญญาสัมปทานหมดลงต้องออกประมูล ดังนั้น คณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่เข้ามาต้องสามารถทำงานได้ มีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ สำนักงาน กสทช.จะเสนอและให้บอร์ด กสทช.ทำงานได้เลย เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่ และออกใบอนุญาต คุ้มครองผู้บริโภคเรื่องอัตราค่าบริการ เป็นภารกิจหลักของกสทช.

      นอกจากนี้ กสทช.อยากให้มีโอเปอเรเตอร์รายใหม่เข้ามา แต่เนื่องจากการลงทุนธุรกิจนี้สูง ก็ต้องขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของเอกชน เราอยากให้มีรายใหม่ พยายามเปิดกว้างให้ทุกราย ถ้าไม่เปิดเอกชนจะอยู่ระบบ 3 ยักษ์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม จะมีจำนวนเท่าไร ขึ้นอยู่กับเอกชน

    ส่วนแนวโน้มตลาดโทรคมนาคมในช่วง 5 ปี มองว่าจะยังเติบโตต่อเนื่อง โดยล่าสุดโอเปอเรเตอร์ได้มีการขอเบอร์ใหม่ 7-8 ล้านเลขหมาย ปัจจุบันมีจำนวน 103-104 ล้านเลขหมายที่ใช้งานอยู่ และมองว่าประชาชนใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีแบนด์วิธรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นด้วย จากในปี 58 มีจำนวนผู้ใช้ 80-90 ล้านเลขหมาย ซึ่งปีนี้มีอัตราเติบโตยังสูง รวมทั้งอัตราการใช้บริการต่อเดือนสูงขึ้น ทั้งนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด หลังจากเปิดประมูล 3G และ 4G ปลายปี 58 และเริ่มให้บริการในปี 59

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!